Show simple item record

การศึกษาขนาดและผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย

dc.contributor.authorณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์en_US
dc.contributor.authorปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์en_US
dc.contributor.authorนภวรรณ เจียรพีรพงศ์en_US
dc.contributor.authorปิยะเมธ ดิลกธรสกุลen_US
dc.date.accessioned2012-08-01T08:05:55Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:19:59Z
dc.date.available2012-08-01T08:05:55Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:19:59Z
dc.date.issued2555-05en_US
dc.identifier.otherhs1957en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3641en_US
dc.description.abstractปัญหาค่าใช้จ่ายด้านยาที่สูงขึ้นเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอันหนึ่งของประเทศไทย การครอบครองยาเกินจำเป็นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษานี้ขึ้นเพื่อ 1. ศึกษาขนาดและผลกระทบทางการคลังของการมียาครอบครองเกินจำเป็นในระดับประเทศ 2. ค้นหาสาเหตุของการที่ผู้ป่วยมียาครอบครองเกินจำเป็น 3. ค้นหาวิธีการทางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การวิจัยออกเป็น 3 ระยะได้แก่ 1. ศึกษาขนาด ผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและปัจจัยที่ส่งผลต่อการครอบครองยาเกินจำเป็นโดยการวิเคราะห์ฐานข้อมูลยาในโรงพยาบาล 2. ศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ 3. จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยการประชุมระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพ จากการวิเคราะห์ข้อมูลยาในโรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยนอกมากกว่าครึ่งหนึ่งมีการครอบครองยาเกินจำเป็น (ปริมาณยา >100% ของปริมาณที่จำเป็น) ความชุกของปัญหาการครอบครองยาเกินจำเป็นเกิดขึ้นมากในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการข้าราชการและยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ แต่มูลค่าความสูญเสียฯ เฉลี่ยต่อรายการในยานอกบัญชีฯ มีมูลค่าสูงกว่ารายการยาในบัญชีฯ ถึง 3 เท่า มีเพียงส่วนน้อยที่ปัญหาการครอบครองยาเกินจำเป็นเกิดจากผู้ป่วยรับยาตัวเดียวกันข้าม สถานพยาบาลจากการประมาณการณ์ในภาพรวม พบว่าประเทศสูญเสียทางการคลังโดยไม่จำเป็นจากการครอบครองยาเกินจำเป็นประมาณ 2,350ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.75% ของมูลค่าการบริโภคยาในประเทศ ไทย (National drug account) จากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 35 คนพร้อมทั้งทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหาฯ สาเหตุของการครอบครองยาเกินจำเป็น ได้แก่ ระบบบริการของโรงพยาบาลที่ไม่คำนึงถึงการครอบครองยาเกินจำเป็น สิทธิการรับยาฟรี และรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสำหรับการจ่ายยาให้ตรงจำนวนวัน เป็นต้น ส่วนแนวทางในการแก้ปัญหาฯ เช่น พัฒนาระบบบริการและระบบข้อมูล เป็นต้น ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถูกไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพ จากการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านระบบสุขภาพจำนวน 2 ครั้งและการจัดลำดับความสำคัญของนโยบายทางเลือก ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ควรได้รับการพิจารณาสำหรับการแก้ปัญหาการครอบครองยาเกินจำเป็น ดังนี้ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. พัฒนาระบบในโรงพยาบาล a. พัฒนาระบบบริการ i. สร้างระบบตรวจสอบปริมาณยาก่อน/หลังพบแพทย์ ii. สร้างระบบบริการเติมยา b. พัฒนาระบบข้อมูล i. สร้างระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบและเตือน 2. รณรงค์เพื่อเพิ่มความตระหนักด้านการครอบครองยาเกินจำเป็นแก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย การประยุกต์ใช้นโยบายมีข้อแนะนำดังนี้ - เนื่องด้วยปัญหาการครอบครองยาเกินจำเป็นส่วนใหญ่เกิดในรพ.ขนาดใหญ่ อาจเริ่มนโยบายที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ก่อน - อาจพิจารณาเริ่มนโยบายในกลุ่มสิทธิสวัสดิการข้าราชการก่อน หน่วยงานที่ควรพิจารณานำข้อเสนอแนะนี้ไปประยุกต์ใช้ได้แก่ - หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลควรพิจารณานำข้อเสนอแนะในการพัฒนาระบบบริการและการพัฒนาระบบข้อมูลไปปรับใช้ - กองทุนที่เป็นผู้จ่ายในระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะสวัสดิการข้าราชการควรพิจารณานำข้อเสนอแนะไปส่งเสริมให้หน่วยบริการระดับโรงพยาบาลและองค์กรวิชาชีพนำข้อเสนอแนะไปปรับใช้ - องค์กรวิชาชีพ ควรพิจารณานำข้อเสนอแนะการสร้างโครงการรณรงค์ฯ ไปปรับใช้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1073142 bytesen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบยาen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการศึกษาขนาดและผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและการแก้ปัญหาเชิงนโยบายen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV55 ณ121ก 2555en_US
dc.identifier.contactno52-067en_US
dc.subject.keywordนโยบายด้านยาen_US
dc.subject.keywordยาen_US
dc.subject.keywordการครอบครองยาen_US
.custom.citationณธร ชัยญาคุณาพฤกษ์, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, นภวรรณ เจียรพีรพงศ์ and ปิยะเมธ ดิลกธรสกุล. "การศึกษาขนาดและผลกระทบทางการคลังของการครอบครองยาเกินจำเป็นและการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3641">http://hdl.handle.net/11228/3641</a>.
.custom.total_download530
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year36
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1957.pdf
Size: 1.162Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record