Adherence to Treatment and Clinical Outcomes in Hypertensive Patients Attending Nangrong Hospital
dc.contributor.author | สุรภี ปิ่นอำพล | en_US |
dc.contributor.author | Surapee Pinumphol | en_US |
dc.coverage.spatial | บุรีรัมย์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T07:47:29Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:56:35Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T07:47:29Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:56:35Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) (ฉบับเสริม1) : 222-228 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/364 | en_US |
dc.description.abstract | ภูมิหลังและเหตุผล ในการใช้ยารักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การเกาะติดการรักษา หรือการเกาะติดยาของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลการรักษา ผู้ป่วยที่มีเกาะติดการรักษาต่ำ คือใช้ยาไม่สม่ำเสมอ ไม่ครบตามแพทย์สั่ง จะก่อผลร้ายต่อผู้ป่วย การควบคุมรักษาอย่างเคร่งครัดจะทำให้เกิดภาวะเกาะติดการรักษาดีขึ้นในระยะยาว โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ให้การรักษาจำเป็นต้องแจ้งผู้ป่วยและหรือญาติให้ทราบข้อมูลรายละเอียดของยาที่จะใช้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการเกาะติดยา และที่สำคัญต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวผู้ป่วยด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการเกาะติดยาและผลทางเวชกรรมในกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน ที่รักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลนางรอง ระเบียบวิธีวิจัย เป็นการศึกษาย้อนหลังผู้ป่วยที่รับการรักษาในช่วงเดือนมิถุนายน 2549-มิถุนายน 2550 โดยคัดเลือกจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีแรงดันเลือด >140/90 มม.ปรอท และกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวาน มีแรงดันเลือด >130/80 มม.ปรอท ทุกรายได้รับการรักษาด้วยยาต้านแรงดันเลือดสูง กรณีผู้ป่วยที่ไม่ได้นำมาศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ หรือมีแรงดันเลือด >200/120 มม.ปรอท หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้ หรือมีโรคเรื้อรังร้ายแรง เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย ไตล้มเหลว โรคตับร้ายแรง หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหัวใจขาดเลือดที่ควบคุมไม่ได้ ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่นำมาศึกษา 54 คน, 30 คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งมีแรงดันเลือดโดยเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงร่วมกับเบาหวานจำนวน 24 คน อายุเฉลี่ยของกลุ่มแรก 60.56 ±8.97 ปี ทั้ง 2 กลุ่มมีผู้สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเกาะติดการรักษาต่ำเกิดจากความซับซ้อนของการรักษา (ร้อยละ 66.66 และ 75) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้การรักษาและผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (ร้อยละ 66.66 และ 75) ปัจจัยการเกาะติดการรักษาสูงขึ้นทำให้การรักษาดีขึ้น ได้แก่ การทราบถึงคุณค่าของยา (ร้อยละ 93.33 และ 96.66) และการได้รับการดูแลสนับสนุนจากครอบครัว (ร้อยละ 93.33 และ 91.66) กรณีปัจเจกบุคคลที่พบอุปสรรคของการเกาะติดยาคือการกินยาผิดเวลา (ร้อยละ 36.66 และ 37.50) และการกินยาเกินขนาดเพื่อชดเชยมื้อที่ลืมกิน (ร้อยละ 20.00 และ 20.83) แต่ไม่แตกต่างกันระหว่าง 2 กลุ่ม | en_US |
dc.format.extent | 155293 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การเกาะติดการรักษาและผลทางเวชกรรมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง | en_US |
dc.title.alternative | Adherence to Treatment and Clinical Outcomes in Hypertensive Patients Attending Nangrong Hospital | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Background & rationale Poor adherence to medication is a common problem in handling patients with chronic disease. Induction of patient adherence to a long-term regimen requires impressive information about the regimen being given and the importance for the patient of following strictly the treatment, together with the full support of their families. Objectives To evaluate the adherence to medication and clinical outcomes in hypertensive patients with or without diabetes mellitus. Methodology A retrospective study of hypertensive patients was conducted by reviewing outpatient medical records from June 2006 to June 2007 at Nangrong Hospital. Two groups of subjects included men and women aged over 18 years old: the group of primary hypertensive patients had blood pressure above 140/90mmHg and the group of hypertensive patients with diabetes mellitus had blood pressure above 130/80 mmHg. Patients with other causes of hypertension, or blood pressure over 200/120 mmHg, or who had serious complicating illnesses, such as terminal stage of cancer, chronic renal failure, chronic liver disease, congestive heart failure, stroke, and uncontrolled angina, were not included. Results Among the total of 54 patients, the hypertensive patient group (n=30) had higher blood pressure than the group with hypertension and diabetes (n=24). The average ages of patients in the hypertensive group and the group with hypertension and diabetes group were 60.56±8.97 years and 57.75±7.87 years, respectively. The risk factors, i.e., cigarette smoking and alcohol consumption, showed no difference in the two groups. The study disclosed that the major factors for poor adherence were the complexity of treatment (66.66%, 83.33%) and a poor provider-patient relationship (66.66%, 75%); the major factors for improving adherence were emphasized value of the regimen (93.33%, 95.83%) and family support (93.33%, 96.66%). Impediments to successful adherence to medication in individual cases, namely taking drugs at the wrong time (36.66%, 37.50%) and taking extra doses to make up for missed doses (20.00%, 20.83%), showed no difference in the two groups. Conclusions Poor adherence to a medication regimen is common, contributing to substantial worsening of disease, death, and increased health-care costs. Improving adherence requires emphasizing to the patients the value of the regimen, making the regimen simple, medication-taking behavior and family support. | en_US |
dc.subject.keyword | การเกาะติดการรักษา | en_US |
dc.subject.keyword | การเกาะติดยา | en_US |
dc.subject.keyword | โรคความดันโลหิตสูง | en_US |
dc.subject.keyword | Adherence to Medication | en_US |
dc.subject.keyword | Clinical Outcomes | en_US |
dc.subject.keyword | Hypertension | en_US |
.custom.citation | สุรภี ปิ่นอำพล and Surapee Pinumphol. "การเกาะติดการรักษาและผลทางเวชกรรมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรักษาที่โรงพยาบาลนางรอง." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/364">http://hdl.handle.net/11228/364</a>. | |
.custom.total_download | 945 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 13 | |
.custom.downloaded_this_year | 110 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 22 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ