บทคัดย่อ
จากการดำเนินกิจกรรมการทำเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดพิจิตร ที่มีการเริ่มดำเนินการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยบริษัทอัคราไมน์นิ่ง จำกัด ได้รับการร้องเรียนจากชุมชนถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ อย่างไรก็ ตามผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว ยังเป็นข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการเหมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นนั้น ยังไม่สามารถที่จะชี้ชัดถึงสาเหตุของผลกระทบได้ ทั้งนี้น่าจะเกิดจากการเฝ้าระวังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการติดตามตรวจสอบในการที่เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพอย่างถูกต้องและเป็นระบบ โดยการเฝ้าระวังทางสุขภาพที่ใช้กับพื้นที่ทั่วไปในปัจจุบันอาจไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสุขภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษและสิ่งคุกคามทางสุขภาพ การศึกษานี้จึงได้ดำเนินการเพื่อประเมินผลของสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเป็นปัจจัยต่อสาเหตุของผลกระทบต่อสุขภาพจากข้อมูลของการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยงและนำไปใช้ประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพและเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลกฎหมายระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมืองแร่ รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการและเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสุขภาพ ให้เป็นกระบวนการที่ได้มาของข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง โปร่งใสและน่าเชื่อถือ การรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากแหล่งต่างๆ ซึ่งเริ่มมีการจัดเก็บตั้งแต่ปี 2544 ถึงเดือนมกราคม 2555 พบว่าคุณภาพน้ำ การตรวจสอบคุณภาพน้ำจากบ่อสังเกตการณ์ และบ่อน้าใต้ดินบริเวณโดยรอบโครงการ ปรากฏว่าปริมาณไซยาไนด์ไม่เกินค่ามาตรฐานกำหนดและส่วนใหญ่ปริมาณโลหะหนักมีค่าเป็นไปตามมาตรฐาน เว้น แต่บางพารามิเตอร์และบางบ่อที่มีปริมาณโลหะหนัก ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส Mn) นิกเกิล (Ni) และสารหนู (As) ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ระดับเสียง มีค่าระดับเสียงสูงสุดเกินกว่าค่ามาตรฐาน ซึ่งการศึกษานี้ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการช่วยประเมินสถานการณ์ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ผลการวิจัยนี้พบว่าประชาชนมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมเหมืองแร่ทองคำเป็นอย่างมากโดยประเด็นเหล่านี้ ได้แก่ คุณภาพน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงคุณภาพน้ำประปา ซึ่งมีความต้องการให้เกิดกระบวนการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องทุก 3 เดือน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการเก็บตัวอย่างน้ำของหน่วยงานต่างๆ ที่มาเก็บตัวอย่างในพื้นที่ พร้อมทั้งรับทราบผลของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ การศึกษานี้ได้มีการสร้างเครือข่ายเพื่อการร่วมสร้างกิจกรรมเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำโดยตัวแทนประชาชน โดยการส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในรูปของคณะกรรมการที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาคเอกชน (ผู้แทนของผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำ ภาคราชการที่เกี่ยวข้อง และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัย การดำเนินการสร้างเครือข่ายความรู้ให้กับชุมชน ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายความรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน เพื่อร่วมกันจัดทำโครงการการพัฒนาเครือข่ายความรู้ชุมชนท้องถิ่นเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพขึ้น และสามารถติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของประชาชนในท้องถิ่นของตนได้ รวมทั้งยังเป็นการพัฒนากระบวนการและเครือข่ายในการเฝ้าระวังและตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อผลกระทบทางสุขภาพของประชาชน ให้เป็นกระบวนการที่ได้มาของข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง โปร่งใสและน่าเชื่อถือ จากปัญหาในพื้นที่ศึกษาที่การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาโครงการนั้น ส่งผลทำให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั้นอาจเป็นสาเหตุของผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนที่อาศัยในชุมชนรอบๆ เหมืองแร่ทองคำ รวมทั้งได้นำไปสู่ประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนและบริษัท อัคราไมนิ่ง จำกัด จนเกิดการฟ้องร้องเพื่อให้หยุดการสัมปทานกิจกรรมเหมืองแร่ในพื้นที่ด้วย ซึ่งผลจากการศึกษานี้ได้นำไปสู่ข้อค้นพบหลายๆ ประการ และสามารถที่จะสรุปเป็นประเด็นที่เป็นข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขในเชิงระบบที่สำคัญ ได้แก่ การจัดการด้านการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ยังขาดประสิทธิภาพทั้งในระดับพื้นที่และระดับประเทศ โดยการขาดการประเมินศักยภาพของพื้นที่ในรายละเอียดว่า พื้นที่แต่ละพื้นที่มีศักยภาพและแนวทางในการที่จะใช้พัฒนาศักยภาพการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ซึ่งเมื่อพิจาราณาถึงการเป็นพื้นที่การเกษตรกรรม พื้นที่ดังกล่าวสามารถทำให้ประชาชนใช้พื้นที่เป็นแหล่งงานของตนเองในการสร้างรายได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด รวมทั้งการเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในเชิงธรรมชาติควบคู่ไปกับการใช้พื้นที่ในเชิงเกษตรกรรมได้อย่างไม่กระทบที่รุนแรงต่อพื้นที่และชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ชุมชนสามารถอยู่ร่วมได้ และยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชนและท้องถิ่นในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การผลิตอาหารในราคาที่สูงขึ้น การจ้างงานภาคบริการ และการมีอาชีพเสริมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น นอกจากนี้การดำเนินโครงการของเหมืองแร่ทองคำในพื้นที่ศึกษา ยังขาดการคำนึงถึงพื้นที่ที่จะเป็นพื้นที่กันชน (buffer zone) ในการที่จะสามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องเหตุรำคาญ ทั้งฝุ่นและเสียงดัง ที่เป็นประเด็นที่สำคัญของผลกระทบที่เห็นได้ชัดในพื้นที่ ในกรณีของสาเหตุของผลกระทบทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่เป็นประเด็นของข้อขัดแย้ง คณะนักวิจัยเสนอแนะว่ากระบวนการทั้ง EIA และ EHIA ควรจะได้รับการทบทวนกระบวนการให้ชัดเจนและเหมาะสมขึ้น เพื่อให้สามารถเป็นเครื่องมือหรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประเทศร่วมกันได้ รวมถึง การคำนึงถึงความไม่แน่นอน (uncertainty) ของผลการประเมินและการตรวจติดตามที่ต้องนำมาร่วมในการประเมินด้วย นอกจากนี้ยังควรจัดให้มีการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกขั้นตอน เพื่อสามารถทำให้กระบวนการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและได้รับการยอมรับจากชุมชนด้วย จากการที่โรคที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการได้รับสารพิษหรือสิ่งคุกคาม ที่มีลักษณะของการสัมผัสในระดับต่ำ (low dose exposure) และระยะเวลานาน (long term exposure) จากการดำเนินชีวิตประจำวันของชุมชน ทำให้กว่าที่ร่างกายจะแสดงความเป็นพิษนั้นต้องใช้เวลานาน ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปี หรือเป็นสิบปี เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น ขณะที่อาการของโรคที่เกิดขึ้นก็อาจไม่สามารถระบุได้อย่างเด่นชัด การศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่าการเฝ้าระวังทางสุขภาพที่ใช้กับพื้นที่ศึกษานั้น ยังเป็นระบบการดำเนินการที่ใช้ในพื้นที่ทั่วไป ซึ่งอาจไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาทางสุขภาพที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีปัญหาจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษและสิ่งคุกคามทางสุขภาพ การเฝ้าระวังทางอนามัยสิ่งแวดล้อมนั้น จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจากการวิเคราะห์สถานการณ์ของข้อมูลทั้งข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังไม่เพียงพอที่จะสามารถสรุปถึงความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ปัจจัยที่สำคัญของกรณีปัญหานี้คือ การขาดฐานข้อมูล (database) ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ที่เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งข้อมูลทางสิ่งแวดล้อม ข้อมูลทางสถานการณ์ทางสุขภาพ ข้อมูลประชากร และจัดทำระบบและรูปแบบของการเฝ้าระวังจาเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความจำเพาะ (specificity) ของการเฝ้าระวังให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ให้เป็นระบบฐานข้อมูลเดียวกัน รวมถึงการจัดให้มีการประกันและการควบคุมคุณภาพ (QA/QC) ในทุกขั้นตอนของการดำเนินการเฝ้าระวัง และจัดทำข้อมูล เพื่อที่จะให้ฐานข้อมูลที่ได้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของระบบเฝ้าระวังทางอนามัยสิ่งแวดล้อม การศึกษา นี้แสดงให้เห็นถึงรูปแบบของการเฝ้าระวังในลักษณะของเครือข่ายการทำงาน โดยการผลักดันในเชิงนโยบายสามารถ เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนในระดับจังหวัดและศูนย์เขตที่รับผิดชอบ ในการที่จะสามารถกำหนดเป็นนโยบายในเชิงรุกได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
บทคัดย่อ
According to the survey for gold deposits by the Ministry of Industry of Thailand, it has
attracted a private investment for further exploration and development of gold mines. In 1987,
several gold mining sites were opened for investment from the private sector including Chatree
Gold Mine located in Phichit Province. Mining is a large-scale enterprise that can potentially create
a number of negative health impacts. The health effects were concerned after the mine started
the operation, the villagers found they suffered from the increased incidents of illness. Therefore,
conflicts between the community and mining operation over environmental and health impacts
have become increasingly aggressive. The compiled evidence of contamination and filed
numerous complaints with authorities and the water quality was tested and found traces of
cyanide used in gold extraction, and heavy metals such as arsenic, iron, and manganese in the
underground water and tap water. People living near the mine site have suspected to have health
effects since the signs and symptoms of acute and chronic illnesses, especially skin rashes were
commonly found in children, and dust and noise nuisance. This study focused on the processes
undertaken to establish the community participation framework coordinated with environmental
and health agencies that could be implemented locally to the identification, collection and
analysis of environmental hazard, environmental exposure and health data.
The review of environmental and biological monitoring data was performed for computer
mapping and revealed that the key point of a cause of conflict is environmental and health data
have been collected and analyzed separately with little integration between governmental
agencies and community participation. Using the existing environmental data indicates the analysis
and mapping difficulties due to the validity and reliability of monitoring data. Biological monitoring
for the exposure of toxic contaminants has been carried out a few times only when the
complaints and concerns were addressed by the community through the government. The
appropriate health surveillance program was not provided to the community affected by mining.
Thus, the environmental health surveillance program has been established by the community
participating with local and regional government sectors response to environmental, health and
industry for the appropriate environmental health surveillance program and long-term financial
support. The networking of environmental health surveillance could initiate the community to
develop the environmental health surveillance program that could empower the community for
health impact assessment.
The environmental exposure related to health effects is difficult to identify for the
symptoms or diseases, especially chronic diseases due to limitations of biomarker specificity and
the various factors involved in symptom or disease endpoints. The linkage of environmental and
biological monitoring information such as environmental contaminations, exposure data, and
disease reports are needed to support environmental health statuses. In Thailand, very few
integration among responsible organizations was found for environment and health working group.
In this case, the difficulty of data interpretation for health consequences relating to environmental
contaminants resulted from the lack of environmental and health information as well as the data
quality used for database entry.The database of environmental and health is an effective tool and the quality of data is
required for a good surveillance system. Laboratory quality assurance and quality control (QA/QC)
in sampling and analysis are required for the accuracy of the results. The community participation
should be involved in all monitoring processes for conflict resolution. This case study indicated
that the resources of environmental data for the initiation of a database were mainly from EIA
process. The sampling and analysis had been done and sent to laboratory by mining company.
Therefore, it should be reconsidered that the monitoring process has to be reorganized and
community participation is required in all steps for a clear process.
Data on health had been retrieved from the conventional surveillance system used the
same database as other areas. Data collected by the number of morbidity and mortality which
can be obtained by health information flows from the registry of local health care. It
demonstrated that the system is not enough and suitable for the specific area having
environmental hazards. It is suggested that a special medical surveillance program is required for
to identify the environmental hazard exposure and health status, especially the early stage of the
diseases.
The appropriate environmental health surveillance is required with well-defined of the
parameters for both environmental and biological monitoring program. Indicators for the
assessment of environmental quality and contamination must be considered for the specificity
including the validation of the methodology. In this case the monitoring of cyanide for
environmental monitoring and exposure assessment is also considered for the uncertainty.
The networking of environmental health surveillance has been established based on a
concept of community participation. The concern issues of environmental health impacts were
discussed by community. Due to the limitations of budget and resource, the priority setting was
used for the investigation of environmental hazards and exposures. The community was trained
for parameter selections, environmental sampling and preservations. The quality laboratory was
also introduced for the selection of sample analysis to get the quality data. The outcomes of the
surveillance program consist of two sets of mapping, computer database and manual maps, that
are used to link the environmental and exposure data. The key persons were trained to input and
analyze the information from computer database and it shows an effective tool for the
assessment of environmental health status to the community. The manual map is also a
surveillance tool that has an advantage over the computer database in the number of people to
assess the data because of the limitation of computer skill in most population in the community.
The local health organizations and academic intuitions take action in supporting the knowledge,
specific skills and budget. The community could have a potential to be as its own environmental
health surveillance data center. However, the long-term financial funding is needed to be
resolved for the sustainable surveillance.