Show simple item record

Adaptation to Illness of Tuberculosis Patients and Recommendations for Family and Social Support of Patients

dc.contributor.authorสมชาย เทเวลาen_US
dc.contributor.authorSomchai Tewelaen_US
dc.contributor.authorศรัณรัตน์ ระหาen_US
dc.contributor.authorSarunrat Rahaen_US
dc.coverage.spatialมหาสารคามen_US
dc.date.accessioned2008-10-03T07:48:37Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:56:34Z
dc.date.available2008-10-03T07:48:37Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:56:34Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) (ฉบับเสริม1) : 236-245en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/366en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวต่อการเจ็บป่วยของผู้ป่วยวัณโรค และแนวทางการส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยวัณโรคโดยครอบครัวและชุมชนของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงคือผู้ป่วยวัณโรคปิดเสมหะมีเชื้อ ที่ขึ้นทะเบียนคนรับการรักษาที่โรงพยาบาลเชียงยืน และอาศัยอยู่ในเขตตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธี Snowball sampling เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มประชากรตัวอย่าง 31 ราย ได้แก่ ผู้ป่วยวัณโรคจำนวน 9 ราย ครอบครัวผู้ป่วยจำนวน 12 ราย อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 7 ราย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 ราย และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 1 ราย ใช้วิธีการศึกษาโดยการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ในกลุ่มเพื่อนบ้าน ญาติผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วยจำนวน 3 กลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในผู้ป่วยและครอบครัวจำนวน 4 ราย ผลการศึกษาแสดงว่า ผู้ป่วยวัณโรคต้องปรับตัวทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยด้านอัตมโนทัศน์ ในกลุ่มที่รักษาใน 2 เดือนแรก รู้สึกวิตกกังวลกับภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไป ความรู้สึกมีคุณค่าลดลง ในกลุ่มที่รักษามากกว่า 2 เดือน ได้ปรับลดยาผู้ป่วยจึงรู้สึกว่าสุขภาพของตนดีขึ้น ทำกิจกรรมได้ตามปรกติ รู้สึกมีคุณค่าและมีความคาดหวังที่ดีในผลการรักษา ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดยังปรับตัวได้ไม่ดีในด้านบทบาทหน้าที่ แต่ผู้ป่วยก็ยังสามารถพึ่งพาตนเองและขอรับความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ ผู้ป่วย 1 ใน 3 มีการแสวงหาการรักษาที่มีคุณภาพ โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย แต่เมื่อพบว่าไม่ได้ผลดีจึงหยุด สำหรับแรงสนับสนุนทางสังคมนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับความรักและการดูแลเอาใจใส่ที่ดีทั้งด้านการเงิน งานและสิ่งของ รวมทั้งข้อมูลข่าวสารจากครอบครัวและชุมชน ทำให้มีความรู้ที่ถูกต้อง มีกำลังใจที่ดีและให้ความร่วมมือในการรักษา แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานภาครัฐในชุมชนเลย ผู้ป่วยมีความพึงพอใจในระบบการรักษาและระบบบริการ แม้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดตามเยี่ยมบ้านได้ตามเกณฑ์ก็ตาม จากระบบการรักษาที่ประกอบด้วยยาหลายชนิดและปริมาณมาก รวมทั้งระยะเวลารักษาที่ยาวนานและอาการข้างเคียงจากยา ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้และไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา จากประสบการณ์การศึกษาครั้งนี้ได้ข้อเสนอแนะว่า 1. ควรกำหนดนโยบายให้ชัดเจนเรื่องการเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2. กำหนดมาตรฐานในการให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแก่ครอบครัว 3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวด้านการเงิน งาน และสวัสดิการต่างๆen_US
dc.format.extent192587 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการปรับตัวต่อปัญหาการเจ็บป่วยและแนวทางส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยครอบครัวและชุมชน ต.เชียงยืน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคามen_US
dc.title.alternativeAdaptation to Illness of Tuberculosis Patients and Recommendations for Family and Social Support of Patientsen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this qualitative study was to study the adaptation to illness of tuberculosis patients and develop recommendations for family and social support of the patients. Purposive sampling was carried out by in-depth interviews of registered AFBpositive pulmonary tuberculosis patients who were treated in Chaingyuen Hospital and lived in Chaingyuen district. It also included in-depth interviews of the families, neighbors, and health volunteers, as well as the local governor, and health officer. Focus group discussion was conducted among three groups of neighbors, families and cousins of tuberculosis patients; there were four cases of non-participatory observers in the patients’ families. The results of this study show that, in the first two months of treatment, the patients required physical and psychological adaptation because of worring disease progression and drug side effects, which made them reduce their activities. They also needed support from others, which lowered their self esteem. After the first two months the patients felt better owing to their improving health, and the normal activity which gave them confidence in the treatment and boosted their self esteem. Although most of the patients could adapt to the role-functioning aspects, they still helped themselves and sought the support of others appropriately. One-third of the patients sought alternative treatment, especially with Thai herbs, without addressing financial problems. For social support most patients were given good care and love by their families and the community with regard to finance, work, using utensils and providing information on the disease, all of which helped the patients. The patients were satisfied with the treatment service received from the national health insurance system despite the lower number of homevisits allowed under related guidelines. The health officer therefore followed up by telephone instead of making homevisits, which showed that local government authorities can play a role in homevisits. Based on this study, we recommend that the authorities involved should consider develping community networks and creating a referral system for patient support, providing knowledge about tuberculosis to the community through appropriate channels, for example, community radio, and developing a home visit system to meet establihed standards, and make continuous evaluation.en_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยวัณโรคen_US
dc.subject.keywordปัญหาการเจ็บป่วยen_US
dc.subject.keywordการดูแลโดยครอบครัวen_US
dc.subject.keywordการดูแลโดยชุมชนen_US
dc.subject.keywordAdaptation to Illnessen_US
dc.subject.keywordTuberculosis--Patientsen_US
dc.subject.keywordFamily Support of Patienten_US
dc.subject.keywordSocial Support of Patienten_US
.custom.citationสมชาย เทเวลา, Somchai Tewela, ศรัณรัตน์ ระหา and Sarunrat Raha. "การปรับตัวต่อปัญหาการเจ็บป่วยและแนวทางส่งเสริมการดูแลผู้ป่วยวัณโรค โดยครอบครัวและชุมชน ต.เชียงยืน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/366">http://hdl.handle.net/11228/366</a>.
.custom.total_download803
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year122
.custom.downloaded_fiscal_year19

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v1n2 ...
Size: 192.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record