• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการจัดทำบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติ

นุศราพร เกษสมบูรณ์; รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์; อินทิรา กาญจนพิบูลย์; ศิริพา อุดมอักษร; อัญชลี จิตรักนที;
วันที่: 2555-06
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการจัดทำบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติปี 2553 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและวางระบบการจัดการข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติ โดยมีแนวคิดสำคัญคือ มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากข้อมูลและสารสนเทศ การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ระยะหลักๆ คือ การ พัฒนาโครงสร้างหลักบัญชีรายจ่ายด้านยาแห่งชาติ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำบัญชีรายจ่ายด้านยาแห่งชาติ และการทดลองระบบ รวมระยะเวลา3 ปี (มีนาคม 2552 – กุมภาพันธ์ 2555) สรุปผลการศึกษา 1. จากระบบรายงานแบบกระดาษสู่ระบบรายงานอิเลคโทรนิกส์ ความก้าวหน้าสำคัญจากงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การเปลี่ยนผ่านจากระบบรายงานมูลค่าการผลิต และนำเข้ายาเป็นกระดาษ เป็นการรายงานโดยระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ และผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นได้ถูกนำไปใช้จริง สอดประสานเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงานระบบการรายงานโดยระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นอย่างมีแบบแผน มีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ช่วยลดความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการนำเข้าข้อมูล จากรายงานกระดาษ เพื่อจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ระบบสารสนเทศยังนำข้อมูลจากการรายงานมาเตรียมเป็นสารสนเทศป้อนกลับให้กับผู้ประกอบการที่ส่งข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการตลาดเป็นกลไกสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการรายงานข้อมูล 2. การจัดทำบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติปี 2553 จากการวางระบบการรายงานข้อมูลมูลค่าการผลิต และนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาใหม่ พบว่าในปี 2553 ประเทศไทยมีการผลิตยาภายในประเทศ (ไม่รวมแบ่งบรรจุ) คิดเป็นมูลค่า 46,895,753,527 บาท; มูลค่านำเข้า 99,663,791,613 บาท;ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 12,077,467,549 บาท และมูลค่าการบริโภคยาในประเทศ ในราคาผู้โภค เท่ากับ 144,570,906,916 บาท โดยเป็นการบริโภคยาผ่านสถานพยาบาลที่มีเตียง ร้านยา สถานพยาบาลที่ไม่มีเตียง คิดเป็นร้อยละ 62.52, 26.28และ 6.50 ตามลำดับ (ดังภาพสรุปรายงานบัญชีรายจ่ายยาแห่งชาติ) และกลุ่มยาที่มีมูลค่าการบริโภคสูงที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ANTIINFECTIVES FOR SYSTEMICUSE, CARDIOVASCULAR SYSTEM และ ALIMENTARY TRACT ANDMETABOLISM ตามลำดับ การศึกษานี้ได้ปรับปรุงระบบการรายงานการผลิต และนำเข้ายา ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในปี 2553 โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการรายงานสัดส่วนมูลค่าการกระจายยาผ่านช่องทางต่างๆ ด้วย แต่วิธีการกรอกข้อมูลมีความซับซ้อน ประกอบกับไม่มีการกำหนดให้รายงานโดยกฎหมาย ทำให้ได้รับ ข้อมูลกลับมาน้อย และขาดความสมบูรณ์ ดังนั้น ข้อมูลสัดส่วนการกระจายมูลค่า ยาผ่านช่องทางหลัก 4 ช่องทาง ในการศึกษาครั้งนี้จึงได้มาจากการสำรวจสัดส่วนการกระจายยาโดยรวมของบริษัท ทำให้ยังไม่สามารถวิเคราะห์สัดส่วนการกระจายมูลค่ายาผ่านช่องทางหลักของยาแต่ละรายการได้ สำหรับข้อมูลสัดส่วนปรับราคาผู้บริโภค (consumer price factor:CPF) คือ อัตราความแตกต่างระหว่างราคาประกาศของโรงงาน (price list) เทียบกับราคาขายผู้บริโภค โดยมีการคำนวณ CPF สำหรับทุกๆ ช่องทางการกระจายยา เพื่อใช้ปรับมูลค่าการบริโภคยา ณ ราคาประกาศของโรงงาน (price list) ที่กระจายผ่านช่องทางต่างๆ เป็นมูลค่าการบริโภคยา ณ ราคาผู้บริโภค ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระบบการจัดการสำหรับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรมีการปรับปรุงข้อบังคับการจัดทำรายงานประจำปี ให้ผู้ประกอบการรายงานปริมาณและมูลค่าแยกตามช่องทางการจำหน่าย โดยมีหลักประกันความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การเพิ่มข้อบังคับเข้าไปในการปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ.2556 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดมาตรฐานการนำเข้าและกระจายยาที่ดี (Good Distribution Practice) พ.ศ.2556 เป็นต้น 2. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรจัดการให้เกิดระบบการปรับปรุงมาตรฐานข้อมูลต่างให้ทันสมัย เชื่อมโยงข้อมูลโดยอัตโนมัติ ทั้งในกลุ่มยาวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติด และยาที่นำเข้าส่งออกโดยในกลุ่มยาวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดที่ผลิตโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และดำเนินการผนวกรายงานการผลิต และ กระจายยาเสพติดเข้าสู่ระบบการรายงานประจำปีของสำนักยา สำหรับข้อมูลยาที่นำเข้าส่งออก ณ สำนักด่านอาหารและยาควรจะดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับสำนักยา เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพการรายงานประจำส่วนนำเข้าและส่งออก 3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาควรพัฒนาระบบการประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยา ให้มีมาตรฐานข้อมูลและเพิ่มรายละเอียดของรหัสที่สามารถระบุได้ว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์ยาและผู้ผลิตคือหน่วยงานใดบ้าง 4. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (โดยสำนักด่านอาหารและยา)เสนอรูปแบบรหัสสถิติ (3 หลัก) โดยอ้างอิงการแบ่งกลุ่มยาตามระบบ ATCของ WHO/CC ต่อกรมศุลกากร เพื่อปรับปรุงพิกัดศุลกากร 8 หลักให้มีความละเอียดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลมูลค่าการนำเข้า และส่งออก ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินโครงการในอนาคต 1. คำนวณมูลค่าการบริโภคยาแห่งชาติ ประจำปี 2555 2. พัฒนาการจัดทำบัญชีรายชื่อร้านยาและโรงพยาบาลทั่วประเทศ และระบบการเข้าถึงฐานข้อมูลบัญชีรายชื่อโดยอัตโนมัติ และพัฒนาวิธีการเก็บข้อมูลสัดส่วนการกระจายยาผ่านช่องทางต่างๆ และการคำนวณค่าMark-up ที่ฝังอยู่ในระบบโดยไม่ต้องดำเนินการสำรวจเป็นครั้งคราว 3. พัฒนาดัชนีที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของตลาดยา และ การบริโภคยาเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของตลาดยา และ การบริโภคยา

บทคัดย่อ
This study was aimed to develop the annual report of national drug account with the built-in information management system. The system was designed to maximize benefits from data utilization for every stakeholder. The 36-month study period (March 2009 to February 2012) was divided into three phases: the configuration of the core structure of the national drug account, the information management system design and development, and finally, the system testing. Finding Summary 1. From paper-based report to electronics report A major change resulted from this study was switching from the traditional paper based to electronic submission of the annual report of manufacturing and importing values by pharmaceutical companies. With an intensive participatory research process from all crucial stakeholders especially policy makers and key FDA officers, the developed information management system was naturally integrated into the routine work. All transcribed errors occurred from the paper-based system were eliminated by this deliberate designed system. Other errors were minimized through the standardization of all related variables. This research had initiated a feedback report on market oriented information to manufacturers and importers submitting data to FDA as a recognition of mutual benefits. 2. 2010 National drug account By the operation of this newly developed system, it was found that for the year 2010, the value of the domestically manufactured drugs (excluded repacking) was ฿ 46,895,753,521, the import value was ฿ 99,663,791,612 and the export value was accounted for ฿ 12,077,467,549. The overall drug value of domestic consumption (at consumer price) was ฿ 144,570,906,916. ANTIINFECTIVES FOR SYSTEMIC USE, CARDIOVASCULAR SYSTEM, and ALIMENTARY TRACT AND METABOLISM were the three ATC groups with the highest consumption respectively. New input data, the proportion of drug distributed via main distribution channels, has been added into the 2010 annual report. However, the data received did not adequately represent the market value, since these data were never formally required and the platform of electronic data entry process was quite complicated, causing pharmaceutical companies had difficulty to comply. The distribution channel survey was then conducted requesting overall distribution percentage via 4 major channels from manufacturers and importers. The itemized analysis on drug distribution could not be achieved. The consumer price factor, price difference between net sale price and listed price, for each channel of distribution was calculated and used to adjust the overall domestic drug consumption at listed price to derive national drug consumption at consumer price. Policy Recommendations FDA should amend the regulation on the additional required input data, specifically the proportion of drug distribution via main distribution channels. FDA should set up a task force to maintain and update data standard appended to the developed system. FDA should develop a coordination network to ensure the consistency in using the standardized data sets across all involved departments and stakeholders. FDA should develop and adhere 3-digits statistic coding system for pharmaceuticals based on ATC system by WHO/ CC to the 8-digits Harmonized System code of tariff. This would facilitate data collection and verification of the report on importing and exporting values. Future Studies Recommendations Calculate national drug consumption 2012. Develop a comprehensive list of drugstores and hospitals to be built-in as a supporting system for drug distribution and mark-up variables. Elaborate industry feedback information for example, sets of indices monitoring drug market and consumption patterns.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs1984.pdf
ขนาด: 7.991Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 430
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV