dc.contributor.author | สุรพงษ์ ชาวงษ์ | en_US |
dc.contributor.author | Suraphong Chawong | en_US |
dc.contributor.author | สงัด เชื้อลิ้นฟ้า | en_US |
dc.contributor.author | Sangud Chualinfa | en_US |
dc.contributor.author | ระเบียบ วัฒนดตรีภพ | en_US |
dc.contributor.author | Rabeab Wattanatripob | en_US |
dc.contributor.author | จริยา แวงวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | Jareeya Wangwan | en_US |
dc.contributor.author | สุภาพ บุญสา | en_US |
dc.contributor.author | Supap Bunsa | en_US |
dc.contributor.author | ทิพวรรณ มุ่งหมาย | en_US |
dc.contributor.author | Tipavan Mungmay | en_US |
dc.coverage.spatial | มหาสารคาม | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T07:51:18Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:56:18Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T07:51:18Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:56:18Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) (ฉบับเสริม1) : 99-112 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/371 | en_US |
dc.description.abstract | โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไปตลอดชีวิต การรักษาเบาหวานที่จะได้ผลดีต้องมีการปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยการผสมผสานการดูแลของทีมสุขภาพและศาสตร์ของบริการ การทำงานครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผสมผสาน และพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มประชากรตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจากผู้ป่วยเบาหวานทุกประเภทในพื้นที่บริการของหน่วยปฐมภูมิ โรงพยาบาลบรบือในพื้นที่ 2 ตำบล จำนวน 204 คน รูปแบบการทำงานเป็นการวิจัยและพัฒนาก่อนการสร้างระบบเก็บข้อมูลเพื่อประเมินปัญหาประกอบการวางแผนการพัฒนาแบ่งเป็น 2 รอบๆละ 6 เดือน รอบที่ 1 โดยประเมินผลเปรียบเทียบกับก่อนการพัฒนาแล้วปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสม เพื่อนำไปดำเนินงานในรอบต่อไป รอบที่ 2 ประเมินผลการดำเนินงานตามรูปแบบที่พัฒนาและปรับปรุงมาจากรอบที่ 1 เปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับรอบที่ 1 พัฒนารูปแบบเพิ่มเติมให้เหมาะสมมากขึ้น แล้วสรุปผลการวิจัย เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1.ทะเบียนผู้ป่วย 2. แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย ประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว ดัชนีมวลกาย โรคแทรกซ้อน ค่าระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbA1c;3 แบบสัมภาษณ์ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน แบบสอบถามความเครียดผู้ป่วยโดยใช้แบบสอบถาม GHQ-28;4 แนวทางการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลโดย paired t-test, independent t-test, 95% CI และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการพัฒนารอบที่ 1 พบว่า รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผสมผสานครอบคลุมมิติของการจัดบริการในโรงพยาบาลและระดับครอบครัว/ชุมชน มิติของทีมปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพของการบริการในโรงพยาบาลและระดับครอบครัว/ชุมชน และมิติของการบริการด้วยศาสตร์ของแพทย์แผนปัจจุบันและศาสตร์ของการแพทย์ทางเลือก 5 ด้าน คือ ด้านร่างกาย, ด้านจิตใจ และอารมณ์ ด้านปัญญา ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม ผลการประเมินหลังการพัฒนารอบที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทัศนคติต่อโรคเบาหวานและพฤติกรรมควบคุมโรคเบาหวานสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี <0.05) มีค่าเฉลี่ยความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี <0.001) ดัชนีมวลกายของผู้ป่วยเบาหวานลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่าพี = 0.002) ค่าน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งเพศหญิงและเพศชายลดลงอย่างมีนัยสำคัญสถิติ (ค่าพี = 0.05) ค่า HbA1c เฉลี่ยหลังการพัฒนารอบที่ 1 เท่ากับ 7.84 (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.49) การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ป่วยกลุ่มที่ควบคุมเบาหวานได้ดีกับไม่ดี พบว่ามีความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาที่ถูกต้องและการปรับตัวให้มีความสุขกับการป่วยเป็นเบาหวานแตกต่างกัน การพัฒนาในรอบต่อไปต้องสร้างความเชื่อมั่นในการรักษา และการดูแลตนเองของผู้ป่วยด้วยพฤติกรรมที่ถูกต้องตามวิถีชีวิตปรกติ โดยทีมสหวิชาชีพในการบริการที่คลินิก และบริการเชิงรุกที่ระดับครอบครัว/ชุมชน ควบคู่กับการเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของทีมสหวิชาชีพ | en_US |
dc.format.extent | 644036 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผสมผสานของ CUP บรบือ จังหวัดมหาสารคาม | en_US |
dc.title.alternative | Developing an Integrated Care Model for Diabetic Patients of Borabue CUP in Mahasarakham Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Diabetes is a lifelong chronic illness. Effective diabetes treatment has to adjust patients’ behaviors by integrating the care techniques of the health team and service science.
This study is aimed at developing an integrated care model for diabetes patients and developing diabetes patients’ potential. The study population consisted of 204 diabetes patients
of all kinds, selected by using the purposive sampling technique, in the two tambon service
area of the primary care unit of Borabue Hospital. The study was a research and development model. Before developing it, data were collected for assessing problem conditions as
a supplement to planning. Development was divided into two rounds of six months each.
Round 1 assessed the period before development, and then the model was improved so
that it would be appropriate for operating in the next round. Round 2 assessed operations
based on the developed and improved model from Round 1, compared the operational
outcomes with Round 1, and further developed the model for more appropriateness. Then
the study results were concluded. The instruments used for collecting data were: 1) patient
records, 2) a patient data-recording form comprising personal data, body mass index, complications (diseases), and values of sugar in the blood, HbA1c, 3) an interview form on
knowledge, attitude, and self-behavior to control diabetes, and a questionnaire on patient
stress using the GHQ-28 questionnaire; and 4) a guideline for an in-depth interview. Data
were comparatively analyzed using paired t-test, independent t-test, 95% confidence interval, and content analysis. For development outcomes in Round 1, the following were found.
The developed integrated care model for diabetic patients covered the dimension of service
provision at the hospital and at family/community levels, the dimension of the interdisciplinary team of service provision practitioners at the hospital and at the family/community levels, and the dimension of the services provided using the science of modern medicine and the science of alternative medicine in these five aspects: physical, mental and emotional, intellectual, social, and environmental. The assessment outcomes after development
in Round 1 were as follows. The diabetic patients had statistically significant higher knowledge of diabetes, attitudes toward diabetes, and diabetes control behaviors (p < 0.05); the
mean of stress decreased statistically and significantly (p = 0.002); sugar in the blood of
both the female and male diabetic patients statistically and significantly decreased (p <
0.05); and the HbA1c mean after development in Round 1 was 7.84 per cent (SD=1.49).
From in-depth interviews with patients in a group with well-controllable diabetes and in a
group with not-well-controlled diabetes, it was found that their beliefs were different with
regard to correct healing and self-adjustment so that they would still have joy despite their
diabetic ailment. Development in the next round had to create confidence in healing and
self-care of the patients. The interdisciplinary team, in providing services at the clinic and
at the family/community levels, had to foster correct behaviors according to the normal
way of life, together with increasing the potential for caring for diabetic patients by the
interdisciplinary team. | en_US |
dc.subject.keyword | การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน | en_US |
dc.subject.keyword | Borabue CUP | en_US |
.custom.citation | สุรพงษ์ ชาวงษ์, Suraphong Chawong, สงัด เชื้อลิ้นฟ้า, Sangud Chualinfa, ระเบียบ วัฒนดตรีภพ, Rabeab Wattanatripob, จริยา แวงวรรณ, Jareeya Wangwan, สุภาพ บุญสา, Supap Bunsa, ทิพวรรณ มุ่งหมาย and Tipavan Mungmay. "การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบผสมผสานของ CUP บรบือ จังหวัดมหาสารคาม." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/371">http://hdl.handle.net/11228/371</a>. | |
.custom.total_download | 1849 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 13 | |
.custom.downloaded_this_year | 155 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 28 | |