• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ : กรณีศึกษาพื้นที่นำร่อง อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

พัฒนา ราชวงศ์; นรินทร์ทิพย์ ฟองมูล; อัมพวัลย์ คำเชียงเงิน;
วันที่: 2555
บทคัดย่อ
งานวิจัย เรื่อง “การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายเชิงพื้นที่เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคนพิการ: กรณีศึกษาพื้นที่นำร่องอำเภอบางระกำ จังหวัด พิษณุโลก” เป็นการสำรวจลักษณะและสภาวะคนพิการ การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย และ เตรียมการขับเคลื่อนนโยบายให้สอดรับกับความต้องการของคนพิการ ให้สามารถ ปฏิบัติการได้ตามศักยภาพและความต้องการสนับสนุนขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า จากกลุ่มตัวอย่างคนพิการ 450 คน จำนวนนี้จดทะเบียนกับ พมจ.พิษณุโลก ร้อยละ 69.55 ไม่ได้จดทะเบียน ร้อยละ 29.78 และไม่ประสงค์จดทะเบียน ร้อยละ 0.67 ลักษณะความพิการที่พบความบกพร่องระดับมาก - มากที่สุด ทางด้านการ มองเห็น ร้อยละ 8.5 การได้ยิน ร้อยละ 19.2 การพูด ร้อยละ 13.3 และการเดิน ร้อยละ 24.9 การดูแลตัวเองของคนพิการ พบว่า มีความบกพร่องด้านการทำความสะอาดร่างกาย การแต่งตัว การรับประทานอาหาร การจัดการการขับถ่ายปัสสาวะ การจัดการการขับถ่าย อุจจาระ และการดูแลเรื่องประจำเดือน ในระดับมาก - มากที่สุด ร้อยละ 20.9 20.7 16.5 18.6 19.2 และ 12.0 ตามลำดับ และการเคลื่อนที่ในและนอกบ้านของคนพิการ ที่สำรวจ การเคลื่อนที่ในบ้าน นอกบ้าน การลุกขึ้นจากท่านั่งบนเก้าอี้/เตียง และการเดินขึ้นลงบันได พบว่า มีความบกพร่องระดับมาก - มากที่สุด ร้อยละ 22.9 27.1 24.7 และ 27.8 ตามลำดับ สถานบริการทางการแพทย์ที่มีสิ่งบริการตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฯ ทั้ง 26 รายการ พบว่า สิ่งบริการรายการที่ (2) การแนะแนว การให้คำปรึกษา และการ จัดบริการเป็นรายกรณี และ (23) การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชนการเยี่ยมบ้าน การให้บริการเชิงรุก มีสถานบริการทางการแพทย์ที่มีการบริการตามรายการ การบริการตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฯ มากที่สุด จำนวน 22 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 รายการที่ (21) การบริการข้อมูลข่าวสารสุขภาพผ่านสื่อที่เหมาะสมกับความพิการ และ (26) การให้บริการเกี่ยวกับกายอุปกรณ์เทียม กายอุปกรณ์เสริม เครื่องช่วยความ พิการ สถานบริการทางการแพทย์ที่มีการบริการตามรายการการบริการตามประกาศ กระทรวงสาธารณะสุขฯ จำนวน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 90.91 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียเพื่อขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคน พิการ ตามระดับภาวะผู้นำ/อำนาจ 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง และน้อย ทำให้แบ่งผู้มี ส่วนได้เสียเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้สนับสนุนที่มีระดับภาวะผู้นำมากและปานกลาง โดย เน้นองค์กรหน่วยงานราชการ 3 แห่ง องค์กรคนพิการ 4 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง 2) กลุ่มผู้เป็นกลางที่มีระดับภาวะผู้นำมากและปานกลาง องค์กรหน่วยงาน ราชการ 8 แห่ง และ 3) กลุ่มผู้ต่อต้านที่มีระดับภาวะผู้นำมาก องค์กรหน่วยงานราชการ 1 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 แห่ง 4 กลุ่มผู้เป็นกลางที่มีระดับภาวะผู้นำน้อย องค์กร หน่วยงานราชการ 2 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง สุดท้าย อาศัยหลักการพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดลำ ดับ ความสำคัญของกิจกรรมโครงการด้วยการระดมสมองกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย สมาคมคนพิการ เครือข่ายคนพิการ และตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้กำหนด เงื่อนไขของลำดับความสำคัญไว้ 3 เงื่อนไข คือ ความต้องการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคนพิการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสอดคล้องกับผลลัพธ์ 4 ประการ ของ KIPA Framework และประเด็นสำคัญเกี่ยวกับคนพิการ 6 ประเด็น และเพื่อให้เกิด ความหลากหลายและมีโอกาสบรรลุเป้าหมายของนโยบายส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพคน พิการ จึงได้ประสานงานเพื่อเพิ่มรูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ 3 รูปแบบ คือ 1) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการเป็นโครงการผ่านผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 7 กิจกรรม 2) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการผ่านกิจกรรมเสริมของ สสพ. จำนวน 1 กิจกรรม และ 3) รูปแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการโดยพัฒนาโครงการวิจัยต่อเนื่อง จำนวน 4 กิจกรรม
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2008.pdf
ขนาด: 4.208Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 134
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2471]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [159]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1283]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV