แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลของหน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลก : ด้วยวิธีต้นทุนจุลภาพ

dc.contributor.authorอรทัย เขียวเจริญth_TH
dc.contributor.authorศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัยth_TH
dc.contributor.authorบุญเติม ตันสุรัตน์th_TH
dc.contributor.authorชัยโรจน์ ซึงสนธิพรth_TH
dc.date.accessioned2013-01-25T08:45:30Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:29:15Z
dc.date.available2013-01-25T08:45:30Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:29:15Z
dc.date.issued2555-07en_US
dc.identifier.otherhs1994en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3742en_US
dc.description.abstractวิธีการจ่ายเงินให้กับหน่วยบริการเป็นเครื่องมือสําคัญในการปฏิรูประบบสาธารณสุขที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกนํามาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการจ่ายเงินไม่ว่าในรูปแบบใดหากออกแบบให้เหมาะสมย่อมนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ ความเท่าเทียมของระบบบริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ เพราะรูปแบบการจ่ายเงินที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดพฤติกรรมของสถานบริการแตกต่างกันออกไป วิธีการจ่ายเงินที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานของการเปรียบเทียบระหว่างทรัพยากรที่จ่ายไปกับสิ่งที่ได้มา ในด้านสุขภาพสิ่งที่ได้มาคือการที่ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นในขณะที่สิ่งที่จ่ายไปคือจํานวนเงินและเวลา ซึ่งอาจแสดงออกมาให้เห็นในรูปของต้นทุน หากงบประมาณที่จ่ายให้กับหน่วยบริการน้อยกว่าต้นทุนของการให้บริการสุขภาพ หน่วยบริการก็ไม่สามารถจัดบริการสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการและจําเป็นได้อย่างพอเพียงและทั่วถึง การศึกษาต้นทุนบริการสุขภาพของประเทศไทย มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง แต่ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนแบบค่าเฉลี่ย เช่น ต้นทุนต่อวันนอน ต้นทุนต่อการนอนโรงพยาบาล ต้นทุนต่อการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก 1 ครั้งฯลฯ ซึ่งไม่สามารถบอกความแตกต่างตามความรุนแรงของโรค และรายสิทธิการรักษาตามหลักประกันสุขภาพได้ อย่างไรก็ตามการคํานวณต้นทุนบริการเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะนอกจากความหลากหลายของโครงสร้างของหน่วยบริการ ความหลากหลายและความซับซ้อนของโรค และคุณลักษณะของผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนบริการโดยตรงแล้ว การคํานวณต้นทุนต้องการข้อมูลที่มีรายละเอียดถึงต้นทุนบริการที่ผู้ป่วยแต่ละคนได้รับ นอกจากนี้ต้นทุนเป็นตัวแปรตามที่สําคัญของการจัดกลุ่มผู้ป่วยเช่นกลุ่มโรควินิจฉัยโรคร่วมที่ต้องจัดกลุ่มผู้ป่วยให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกและใช้ทรัพยากรในการรักษาใกล้เคียงกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จากข้อมูลของผู้ป่วยรายบุคคลจํานวนมาก ฉะนั้นการเลือกวิธีการคํานวณต้นทุนที่เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะการใช้ประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่สําคัญ จังหวัดพิษณุโลก มีหน่วยบริการสุขภาพ ในสังกัดประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย1 แห่ง โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม 2 แห่ง โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่งโรงพยาบาลชุมชน รวม 8 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลจํานวน 143 แห่ง สถานีอนามัย 2 แห่ง ปัจจุบันระบบข้อมูลสุขภาพของหน่วยบริการของประเทศไทยรวมทั้งหน่วยบริการของจังหวัดพิษณุโลกมีการพัฒนาไปอย่างมาก อาทิ ฐานข้อมูลการออกบัตร ฐานข้อมูลผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกรายบุคคล ที่ทุกสถานพยาบาลต้องรายงานเพื่อเรียกเก็บค่าบริการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม ข้อมูลการเงินในระบบเกณฑ์คงค้าง แต่ข้อมูลต้นทุนรายบุคคลยังไม่มีระบบที่ดีพอ ขาดการนําข้อมูลมาวิเคราะห์ อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่นความจํากัดเรื่องเวลา บุคลากร และงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งคล้ายกับการจัดการข้อมูลต้นทุนระดับ ผู้ป่วยในระยะแรกของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งระยะแรกมีการทําข้อมูลบัญชีต้นทุนเพื่อรายงานสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือตามคําสั่งกระทรวง ต่อมาค่อยๆ พัฒนามาใช้ในการคํานวณสถานการณ์การเงิน จนเป็นข้อมูลต้นทุนรายบุคคลที่นํามาหาต้นทุนต่อ RWa ได้อย่างเป็นระบบ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อให้ได้ต้นทุนบริการที่แท้จริงในระดับผู้ป่วยแต่ละรายสําหรับบริการสุขภาพของหน่วยบริการในจังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานวิจัยหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3350830 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนen_US
dc.rightsสำนักงานวิจัยหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectสาธารณสุขมูลฐานen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลของหน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลก : ด้วยวิธีต้นทุนจุลภาพth_TH
dc.title.alternativePatient-Level Cost of Health Care Service in Phitsanulok: Micro-Costing Methoden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW84.5 ส691ต 2555en_US
dc.identifier.contactnoT55-11en_US
.custom.citationอรทัย เขียวเจริญ, ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย, บุญเติม ตันสุรัตน์ and ชัยโรจน์ ซึงสนธิพร. "ต้นทุนผู้ป่วยรายบุคคลของหน่วยบริการสุขภาพในจังหวัดพิษณุโลก : ด้วยวิธีต้นทุนจุลภาพ." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3742">http://hdl.handle.net/11228/3742</a>.
.custom.total_download162
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1994.pdf
ขนาด: 4.231Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย