• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

ความชอบและความเต็มใจจ่ายค่ายาของผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ : กรณีศึกษายากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitors (Statins)

ภัสสรานิจ พรรณรังษี; ธนเทพ วิชญากร; สุรฉัตร ง้อสุรเชษฐ์;
วันที่: 2556
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชอบและความเต็มใจจ่ายค่ายาของผู้ใช้สิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการโดยใช้ยากลุ่ม statin เป็นกรณีศึกษา การศึกษานี้แบ่งเป็น 2 ตอนหลักๆ โดยที่ในตอนแรกได้มีการหาคุณลักษณะที่สำคัญของยากลุ่ม statin โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะและระดับของแต่ละคุณลักษณะของยากลุ่มนี้ หลังจากนั้นจะอาศัยการทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ และการสัมภาษณ์แบบเป็นกลุ่มกับผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์การใช้ยากลุ่ม statin มาก่อน โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งสองจะอาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและทำการสัมภาษณ์เพิ่มไปเรื่อยๆจนกว่าข้อมูลที่ได้รับจะเกิดการอิ่มตัวหรือไม่มีข้อมูลใหม่ในการอภิปราย จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ไปรวมกับข้อมูลที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมเพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างตัวเลือกในแบบสอบถามโดยอาศัย orthogonal design เพื่อลดจำนวนตัวเลือกลงโดยที่ยังคงคุณสมบัติในการเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่ รูปแบบของชุดตัวเลือกประกอบด้วยตัวเลือก 3 ตัวเลือกโดยที่แต่ละตัวเลือกจะประกอบด้วยคุณลักษณะและระดับของแต่ละคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไปแล้วกำหนดให้ผู้ตอบแบบสอบถามให้เลือกได้เฉพาะตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งในแต่ละชุดตัวเลือกเท่านั้น ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีรายละเอียดของคุณลักษณะย่อยของแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกันไป นอกจากนี้แบบสอบถามยังมีตอนที่เกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเช่นข้อมูลพื้นฐานได้แก่อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา รายได้ต่อเดือน หน่วยงานที่สังกัด และข้อมูลทางด้านสุขภาพได้แก่การประเมินภาวะสุขภาพของตนเอง ความรุนแรงของโรคของกลุ่มตัวอย่างเป็นต้น จากนั้นแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจะถูกนำไปตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาแล้วทำการปรับปรุงแบบสอบถามก่อนที่จะนำไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนแล้วทำการปรับปรุงแบบสอบถามอีกครั้ง ในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญจากผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการที่ใช้ยาในการลดระดับไขมันในเลือดในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคใต้จำนวน 233 คน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการคำนวณสถิติเชิงพรรณนาเช่นการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทำการวิเคราะห์โดยการสร้างแบบจำลองด้วยวิธี multinomial logit model ซึ่งทำให้สามารถคำนวณความชอบที่มีต่อคุณลักษณะของยาของผู้ป่วยแต่ละคนและคำนวณความเต็มใจที่จะจ่ายต่อการได้รับยาแต่ละชนิด ส่วนในตอนที่ 2 ของการศึกษานี้ได้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของความสัมพันธ์ระหว่างความชอบกับแต่ละคุณลักษณะที่คำนวณได้จากการศึกษาตอนแรกมาใช้ในการออกแบบชุดตัวเลือกด้วยวิธี Bayesian efficient design เพื่อให้ได้ชุดตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพ และออกแบบให้เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเดียวกันกับตอนแรก จากนั้นได้ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญจากผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการที่ใช้ยาในการลดระดับไขมันในเลือดในโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในภาคใต้จำนวน 65 คน แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการคำนวณสถิติเชิงพรรณนาเช่นการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทำการสร้างแบบจำลองด้วยวิธี mixed multinomial logit model รวมถึงทำการคำนวณความเต็มใจที่จะจ่ายต่อการได้ยาแต่ละชนิดอีกครั้ง จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะของยากลุ่มนี้ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญของยากลุ่ม statin และการสัมภาษณ์แบบเป็นกลุ่มกับผู้ป่วยที่เคยมีประสบการณ์การใช้ยากลุ่ม statin มาก่อน พบว่าคุณลักษณะของยากลุ่มนี้ที่นำไปใช้ออกแบบสอบถามประกอบด้วยผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ผลการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ ผลการเกิดพิษต่อตับ และราคายาต่อเดือนที่ผู้ป่วยต้องจ่าย หลังจากการเก็บข้อมูลในตอนที่ 1 และ 2 พบว่ามีจำนวนแบบสอบถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้ 207 และ 57 ชุดตามลำดับ พบว่าข้อมูลลักษณะประชากรไม่แตกต่างกันยกเว้นในส่วนของรายได้ เมื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของความชอบกับคุณลักษณะต่างๆของยาจากทั้ง 2 ตอนพบผลความสัมพันธ์ที่เหมือนกันกล่าวคือพบว่าค่าสัมประสิทธิของคุณลักษณะที่เป็นการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน และการลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันมีค่าบวก ส่วนค่าสัมประสิทธิของคุณลักษณะที่เป็นการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ การเกิดพิษต่อตับและค่ายาที่ต้องจ่ายมีค่าเป็นลบ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์เพราะผู้ใช้ยาย่อมพึงพอใจมากขึ้นเมื่อได้ใช้ยา statin ที่มีผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน และการลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มขึ้น และพึงพอใจลดลงเมื่อต้องใช้ยา statin ที่ก่อให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ การเกิดพิษต่อตับและต้องจ่ายค่ายาสูงขึ้น หลังจากที่คำนวณหาค่าความเต็มใจที่จะจ่ายที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแต่ละระดับของแต่ละคุณลักษณะของยา statin พบค่าความเต็มใจที่จะจ่ายของการศึกษาทั้ง 2 ตอนมีความแตกต่างกันกล่าวคือในตอนที่ 1 พบว่าค่ามัธยฐานของค่าความเต็มใจจ่ายต่อเดือนให้กับผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันและผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มขึ้นทุก 1% เป็น 44.2 และ 54.4 บาทตามลำดับ ส่วนค่ามัธยฐานของค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อให้ได้รับยาที่มีผลการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและผลการเกิดพิษต่อตับที่ลดลง 1 เท่าจะเป็น 356.4 และ 881.8 บาทตามลำดับ ในขณะที่ผลการศึกษาตอนที่ 2 พบว่าว่าค่ามัธยฐานของค่าความเต็มใจจ่ายต่อเดือนให้ได้ยาที่มีผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันและผลการลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มขึ้นทุก 1% เป็น 23.7 และ 29.0 บาทตามลำดับ ส่วนที่ค่ามัธยฐานของค่าความเต็มใจจ่ายเพื่อให้ได้ยาที่มีโอกาสเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและผลการเกิดพิษต่อตับที่ลดลง 1 เท่าจะเป็น 145.2 และ 532.1 บาทตามลำดับ ทำให้เมื่อทำการคำนวณหาราคาต่อวันจากความเต็มใจที่จะจ่ายมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามเมื่อคำนวณเป็นผลของค่าความเต็มใจที่จะจ่ายเมื่อผู้ป่วยต้องการเปลี่ยนแปลงชนิดหรือรายการยาที่มีในบัญชียาหลักแห่งชาติเช่นผู้ป่วยที่เคยใช้ยา simvastatin เป็นยาชนิดอื่นๆ พบว่าความเต็มใจในการจ่ายให้กับยาชนิดอื่นเมื่อผู้ป่วยใช้ยา simvastatin อยู่นั้นจะมีเพียงยา rosuvastatin เท่านั้นที่กลุ่มตัวอย่างยินดีร่วมจ่ายแต่จะจ่ายจำนวนไม่เกินประมาณ 10 บาทต่อวัน ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ในการวางนโยบายในอนาคตหากรัฐมีแนวคิดในการนำการมีส่วนร่วมจ่ายหรือการกำหนดราคาอ้างอิงในการจ่ายเงินคืนให้กับสถานพยาบาลมาใช้เพราะหากผู้ป่วยต้องมีการร่วมจ่ายในจำนวนที่สูงเกินกว่าความเต็มใจที่จะจ่ายก็จะส่งผลต่อการถึงยาของผู้ป่วยและในทางตรงกันข้ามหากรัฐนำการมีส่วนร่วมจ่ายมาใช้และกำหนดค่าของการร่วมจ่ายต่ำกว่าที่ผู้ป่วยมีความเต็มใจจ่ายก็จะทำให้รัฐควบคุมการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติไม่ได้ผล
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2031.zip
ขนาด: 1.091Mb
รูปแบบ: Unknown
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 5
ปีพุทธศักราชนี้: 4
รวมทั้งหมด: 179
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV