• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาศักยภาพของเภสัชกรในการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งใช้ยาจากฐานข้อมูล OP 18 แฟ้มมาตรฐาน

โครงการพัฒนาสารสนเทศด้านยาของผู้ป่วยนอกรายบุคคลในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า;
วันที่: 2556
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของเภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในระบบยาของโรงพยาบาลในการวิเคราะห์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ OP 18 แฟ้ม เพื่อใช้ในการประเมินการเข้าถึงยาภายใต้ระบบประกันสุขภาพ และคุณภาพการสั่งใช้ยา 2. เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการอบรม ที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ผลสรุปและข้อค้นพบที่สำคัญ (Key message) 1. ในปัจจุบันยังไม่มีการนำฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์การให้บริการของโรงพยาบาลมาวิเคราะห์ประมวลผล เภสัชกรยังไม่คุ้นเคยเกี่ยวกับตัวชี้วัดเพื่อประเมินการเข้าถึงยาและคุณภาพการสั่งใช้ยา 2. โครงการนี้อบรมการวิเคราะห์ข้อมูลการสั่งใช้ยา 7 ประเด็นที่สำคัญได้แก่ (1) การสั่งใช้ยาบัญชี ง และบัญชี จ(2) (2) การสั่งใช้ยาจิตเวช (3) การสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ (4) การสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล (5) การสั่งใช้ยากลุ่ม benzodiazepine (6) การสั่งใช้ยา inhaled corticosteroid ในผู้ป่วย asthma และ (7) การสั่งใช้ยากลุ่ม ACEIs หรือ ARBs และ Statins ในผู้ป่วยเบาหวาน ผลการวิเคราะห์พบความแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลค่อนข้างมาก โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 134 แห่ง จำนวน 195 คน สามารถนำเข้าข้อมูลปีงบประมาณ 2554 เพื่อการวิเคราะห์ได้ 120 แห่ง (ร้อยละ 90) และสามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้ 88 แห่ง (ร้อยละ 66) เภสัชกรที่เข้ารับการอบรมสามารถทำการวิเคราะห์ด้วยตนเองได้โดยอาศัยชุดคำสั่งที่จัดเตรียมไว้ และสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปพัฒนาคุณภาพการสั่งใช้ยาในโรงพยาบาลของตนได้ ทั้งนี้สามารถนำแนวคิดการวิเคราะห์ และชุดคำสั่งไปปรับประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์ตัวชี้วัดอื่นได้ ผลการติดตามพบว่า 33% ของโรงพยาบาลที่เข้ารับการอบรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของ 2 ปีงบประมาณ (2553-2554) ได้ด้วยตนเอง ข้อจำกัดของโครงการนี้ คือยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ต้องอาศัยราคายาได้ เนื่องจากฐานข้อมูล OP 18 แฟ้มของโรงพยาบาลต่างๆ ขาดข้อมูลราคายาที่ถูกต้อง และยังมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ 3. การอบรมใช้คำสั่งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เขียนด้วย SQL เนื่องจากเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย โครงสร้างคำสั่งไม่ซับซ้อน และเป็นภาษาที่สนับสนุนต่อการประมวลผลฐานข้อมูลบริการสุขภาพของโรงพยาบาลในประเทศไทยในปัจจุบัน การประชุมครั้งที่ 1 ทดสอบว่าโปรแกรม SQL เข้าใจง่าย สร้างทีมวิทยากร ตัวแทนที่มีความเข้าใจดีจำนวน 9 คนได้ร่วมกันจัดทำคู่มือพัฒนาชุดคำสั่ง SQL ใช้เวลาจัดทำ 2 สัปดาห์ การประชุมครั้งที่ 2 เน้นการฝึกการถ่ายทอดและทดสอบการทำงานทีมวิทยากร การประชุมครั้งที่ 3-5 เน้นการนำฐานข้อมูลของโรงพยาบาลตนเองมาวิเคราะห์ และการสร้างเครือข่าย รวมทั้งมีการติดตามผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบของ 2 ปีงบประมาณ (2553 และ 2554) การประชุมครั้งที่ 6 เป็นการทดสอบการขยายผลโดยทีมวิทยากรไม่มีผู้เชี่ยวชาญหลักช่วยในการฝึกอบรม 4. ควรนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นในด้าน 1.) การประเมินตัวชี้วัดคุณภาพการใช้ยา และการเงินการคลัง การเข้าถึงยาจำเป็น ปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านยา การควบคุมค่าใช้จ่ายด้านยาที่มีค่าใช้จ่ายสูง 2.) การพัฒนาระบบงานบริการเภสัชกรรม ได้แก่ โปรแกรมพัฒนางาน ADR center, Medication reconciliation การค้นหาผู้ป่วยเป้าหมาย เช่น การเข้ารับบริการบ่อยครั้งของ IP, OP visit, การมาผิดนัด การติดตามการใช้ยาที่ควรเฝ้าระวัง ทั้งนี้เสนอให้ทีมนักวิจัย ดำเนินการโดยให้กลุ่มสารสนเทศของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาต่อไป 5. ปัญหาที่พบในการนำเข้าข้อมูล พบว่าแฟ้ม PERSON.txt เป็นแฟ้มสะสม หากไม่ตรวจสอบว่ามีข้อมูลเดิมอยู่แล้วจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนได้ ส่วนแฟ้ม DRUG.txt โดยเฉพาะฟิลด์ DNAME ซึ่งเป็นชื่อยาภาษาไทย มีการกำหนดรหัสภาษาที่แตกต่างกัน ส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลพบปัญหาว่าแฟ้ม SERVICE.txt มีรหัสสิทธิการรักษาไม่เป็นไปตามที่ สปสช. กำหนด แฟ้ม DRUG.txt พบปัญหาการบันทึกรหัสยามาตรฐาน แฟ้ม PERSON.txt พบการบันทึกข้อมูลวันเกิดคลาดเคลื่อน แฟ้ม DIAG.txt พบว่า รพ.แต่ละแห่งบันทึกรหัสการวินิจฉัยโรคแตกต่างกัน มาตรฐานข้อมูลที่แตกต่างกันของแต่ละหน่วยบริการ เป็นสิ่งที่จะส่งผลให้การวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมระดับประเทศเกิดความคลาดเคลื่อนได้สูง
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2032.pdf
ขนาด: 1.418Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 4
ปีพุทธศักราชนี้: 2
รวมทั้งหมด: 236
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV