dc.contributor.author | จอมขวัญ โยธาสมุทร | en_US |
dc.contributor.author | พิศพรรณ วีระยิ่งยง | en_US |
dc.contributor.author | นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร | en_US |
dc.contributor.author | สุทธิษา สมนา | en_US |
dc.contributor.author | ศรีเพ็ญ ตันติเวสส | en_US |
dc.contributor.author | ลัดดา เหมาะสุวรรณ | en_US |
dc.contributor.author | นิพรรณพร วรมงคล | en_US |
dc.contributor.author | กนิษฐา บุญธรรมเจริญ | en_US |
dc.contributor.author | สุชัญญา อังกุลานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | ยศ ตีระวัฒนานนท์ | en_US |
dc.contributor.author | Jomkwan Yothasamut | en_EN |
dc.contributor.author | Pitsaphun Weerayingyong | en_EN |
dc.contributor.author | Naiyana Praditsitthikorn | en_EN |
dc.contributor.author | Sutthisa Sommana | en_EN |
dc.contributor.author | Sripen Tantivess | en_EN |
dc.contributor.author | Ladda Mo-suwan | en_EN |
dc.contributor.author | Nipunporn Voramongkol | en_EN |
dc.contributor.author | Kanittha Boonthamcharoen | en_EN |
dc.contributor.author | Suchunya Aungkulanon | en_EN |
dc.contributor.author | Yot Teerawattananon | en_EN |
dc.date.accessioned | 2013-03-20T03:28:33Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:18:50Z | |
dc.date.available | 2013-03-20T03:28:33Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:18:50Z | |
dc.date.issued | 2555-12 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 6,4(ต.ค.-ธ.ค.2555) : 543-556 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3787 | en_US |
dc.description.abstract | ระบบสุขภาพของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมาเป็นระยะเวลานาน แต่ยังเป็นการดำเนินการแบบแยกส่วน ส่งผลให้ขาดความร่วมมือ ทิศทาง และเป้าหมายของการดำเนินงานที่ชัดเจน หากดำเนินการแบบองค์รวมโดยยึดที่กลุ่มของประชากรเป้าหมาย และจัดบริการให้เป็นองค์รวม จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานในภาพรวมได้ คณะนักวิจัยจึงจัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนานโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย โดยเลือกศึกษานโยบายฯในกลุ่มเด็กอายุ 0-5 ปี ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมและจัดลำดับความสำคัญปัญหาสุขภาวะของเด็กอายุ 0-5 ปี โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนานโยบายสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประชากรกลุ่มนี้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอประสบการณ์ และผลการทบทวนวรรณกรรมและการจัดลำดับความสำคัญ
ประเทศไทยมีกฎหมายและนโยบาย ตลอดจนการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของเด็กอายุ 0-5 ปี อยู่ทุกด้าน ซึ่งกฎหมาย/นโยบายเหล่านั้นอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่หลากหลาย แต่ไม่พบการประสานการดำเนินงานในระดับประเทศที่เป็นระบบ สำหรับผลการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาวะ พบว่าปัญหาที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่ามีความสำคัญควรได้รับการพิจารณาแก้ไขเป็นลำดับต้น 3 เรื่องแรก ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความไม่พร้อมของการดูแลเด็ก พัฒนาการเด็ก และการฝากครรภ์และคลอด ทั้งนี้ยังได้จัดกลุ่มปัญหาตามหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรนำไปพิจารณา โดยแบ่งเป็น ปัญหาสุขภาวะทางการแพทย์ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในความดูแลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และปัญหาสุขภาวะที่เป็นเชิงสังคมซึ่งมีหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นผู้ดูแล
การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของการจัดลำดับความสำคัญต่อการพัฒนานโยบาย กระบวนการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้ที่อยู่ในสาขาสุขภาพ แต่ปัญหาที่ได้จากการจัดลำดับความสำคัญก็มิได้มีแต่มิติด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญทางด้านมิติทางสังคมด้วย และยังให้ความสำคัญกับปัจจัยแวดล้อมที่อาจเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาสุขภาพ เช่น การตั้งครรภ์ไม่พร้อม โดยเฉพาะในวัยรุ่น คุณภาพของศูนย์เด็กเล็ก การขาดความรู้ของผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก มากกว่าเรื่องโรค นอกจากนั้นยังตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาด้านพัฒนาการของเด็กเพราะเชื่อว่าจะส่งผลถึงการเป็นประชากรที่มีคุณภาพและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเป็นผู้ใหญ่ จะเห็นได้ว่าประเด็นดังกล่าวไม่เคยได้รับการระบุในชุดสิทธิประโยชน์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของ สปสช. มาก่อน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายในการค้นหามาตรการในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ สปสช. และหน่วยงานอื่นๆ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.title | ปัญหาสุขภาวะเด็ก กฎหมาย/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการจัดลำดับความสำคัญปัญหาสุขภาวะเด็ก 0 - 5 ปี ในประเทศไทย | en_US |
dc.title.alternative | Health promotion and disease prevention policies and priority setting on health problems for children aged 0-5 years in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Health promotion and disease prevention (PP) policy has played a critical role in the Thai health care
system for a period of time. However, the implementations of such policies were still fragmented without
a clear strategic plan and goals. The development of PP policy focusing on certain age group in a systematic
manner was expected to help tackle those barriers. Children aged 0-5 group was selected as a pilot
group for the development of PP policy recommendations for relevant PP agencies in Thailand. Extensive
document reviews and deliberative process which involved the participation of stakeholders was employed
in the health problems prioritisation process. This article aimed to share experiences and findings
from the review and prioritisation process.
Child health related policy and law were completely available in Thailand and covered almost all
aspects of health determinants. Those policy and law were under responsible of varied agencies; however,
a well-coordinate initiative at a national level was not observed. According to the prioritisation process,
three health related problems that stakeholders expressed as high priority were problems related to carers,
child development, and antenatal care. The identified problems were also categorised according to
type of problems and responsible agencies. Problems related to physical and mental health were mostly
taken care by the National Health Security Office (NHSO), meanwhile problems concerning health and
well-beings were under other agencies, i.e. the Ministry of Social Development and Human Security and
the Thai Health Promotion Foundation.
Experiences from this study affirmed the importance of priority setting for policy development process.
Although most of the stakeholders of the priority setting process were from health sector, prioritised
problems were not solely focused on physical health. Proposed problems also included other societal
aspects as well as environmental factors that might affect well-beings, e.g. teenage pregnancy, quality of
child development centres, lack of parental knowledge of carers. In addition, the stakeholders also aware
of an importance of child development as this would affect quality of the population and their quality of
life in the future. Obviously, these social and well-being concerns have never been included in the benefit
package for health promotion and disease prevention under the NHSO. Challenges included identification
of effective interventions to tackle those prioritised problems in order to develop decent policy recommendations
for the NHSO and other responsible agencies. | en_US |
dc.subject.keyword | สุขภาวะเด็ก | en_US |
dc.subject.keyword | การป้องกันโรค | en_US |
dc.subject.keyword | Health Promotion | en_US |
dc.subject.keyword | Disease Prevention | en_US |
.custom.citation | จอมขวัญ โยธาสมุทร, พิศพรรณ วีระยิ่งยง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, สุทธิษา สมนา, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, นิพรรณพร วรมงคล, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, สุชัญญา อังกุลานนท์, ยศ ตีระวัฒนานนท์, Jomkwan Yothasamut, Pitsaphun Weerayingyong, Naiyana Praditsitthikorn, Sutthisa Sommana, Sripen Tantivess, Ladda Mo-suwan, Nipunporn Voramongkol, Kanittha Boonthamcharoen, Suchunya Aungkulanon and Yot Teerawattananon. "ปัญหาสุขภาวะเด็ก กฎหมาย/นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและการจัดลำดับความสำคัญปัญหาสุขภาวะเด็ก 0 - 5 ปี ในประเทศไทย." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3787">http://hdl.handle.net/11228/3787</a>. | |
.custom.total_download | 1315 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 141 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 13 | |