Show simple item record

Health Care Service Used of Laos Patient in Thailand

dc.contributor.authorจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์en_US
dc.date.accessioned2013-05-30T08:51:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:20:06Z
dc.date.available2013-05-30T08:51:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:20:06Z
dc.date.issued2554-09en_US
dc.identifier.otherhs1924en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3836en_US
dc.description.abstractการใช้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาวในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย เป็นสถานการณ์ที่ยังไม่มีรายงานการศึกษาทั้งข้อมูลสถานการณ์และผลกระทบต่อโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย จึงเป็นที่มาและวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ที่จะต้องการศึกษาสถานการณ์การใช้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาวในโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทย โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงพรรณนา(Cross-sectional descriptive study) ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลทั้งวิธีการเชิงคุณภาพ(Qualitative method) และวิธีการเชิงปริมาณ(Quantitative method) ผลการศึกษาพบว่า บริบทด้านพื้นที่ของผู้ป่วยส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายค่าบริการ โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีพื้นที่ติดกับชายแดนในเขตพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจหรือเมืองใหญ่ อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองของประเทศลาว เดินทางได้ลำบากเมื่อเทียบกับเดินทางข้ามพรมแดนเข้ามาในประเทศไทย จะได้รับผลกระทบด้านภาระการเงินค่อนข้างมาก เพราะไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ป่วยได้ มีการแก้ปัญหาโดยใช้เงินบำรุงของโรงพยาบาลในการรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนบริบทด้านการบริหารจัดการจะส่งผลต่อการเรียกเก็บค่าบริการ โดยโรงพยาบาลขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ติดกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจของประเทศลาว ต้องแข่งขันกับสถานบริการสุขภาพเอกชนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน ผู้ป่วยที่มีความสามารถในการจ่ายสูงจะไปใช้บริการที่สถานบริการสุขภาพเอกชน หรือใช้บริการที่สถานบริการเอกชนจนถึงขีดความสามารถจะจ่ายได้จึงจะกลับมาใช้บริการของรัฐ ส่วนผู้ที่มีความสามารถในการจ่ายต่ำกว่าจะเลือกใช้บริการของรัฐอยู่แล้ว ทำให้โรงพยาบาลของรัฐที่มีขนาดเล็กกลุ่มนี้พบกับปัญหาไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ส่วนโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ไม่ได้ติดพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ผู้มาใช้บริการส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ ซึ่งส่งผลให้โรงพยาบาลขนาดเล็กมีภาระค่าใช้จ่ายต่อการให้สังคมสงเคราะห์ต่อผู้ป่วยชาวลาวเป็นจำนวนสูงกว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ในขณะที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่มีการใช้ทรัพยากรในการรักษามากกว่า เนื่องจากผู้ป่วยที่มาใช้บริการมักมีอาการซับซ้อนหรือรุนแรงกว่า ผลกระทบที่ตามมาคือผู้ป่วยไม่สามารถจ่ายค่าบริการได้เนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามจากการศึกษาจะสะท้อนให้เห็นว่า การบริหารจัดการในระดับโรงพยาบาลสามารถลดความรุนแรงผลกระทบด้านสถานการณ์การเงินจากการใช้บริการของผู้ป่วยชาวลาวได้ นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมาใช้บริการในประเทศไทยของผู้ป่วยชาวลาว คือความเชื่อมั่นและความศรัทธาต่อคุณภาพของบริการทางการแพทย์ในประเทศไทย เนื่องจากการใช้ บริการไม่สอดคล้องกับลักษณะความรุนแรงของโรคหรือความซับซ้อนทางด้านการรักษา รายงานการศึกษานี้จะสะท้อนสถานการณ์การใช้บริการและการให้บริการสุขภาพข้ามพรมแดนของผู้ป่วยชาวลาว พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการสถานการณ์ในบริบทต่างๆ และเสนอแนะแนวทางสำหรับการจัดการเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent15154 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย เครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectบริการทางการแพทย์en_US
dc.subjectบริการสุขภาพen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยชาวลาวในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeHealth Care Service Used of Laos Patient in Thailanden_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoW74 จ542ว 2554en_US
dc.identifier.contactnoT54-07en_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยชาวลาวen_US
.custom.citationจิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์. "การใช้บริการสุขภาพของผู้ป่วยชาวลาวในประเทศไทย." 2554. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3836">http://hdl.handle.net/11228/3836</a>.
.custom.total_download357
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year7
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1924.pdf
Size: 5.145Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record