Impact of Elective Surgery in Private Hospitals under the Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) on the Health System
dc.contributor.author | พัฒนาวิไล อินใหม | th_TH |
dc.contributor.author | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Phatthanawilai Inmai | en_EN |
dc.contributor.author | Samrit Srithamrongsawat | en_EN |
dc.date.accessioned | 2013-06-18T07:46:35Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:19:27Z | |
dc.date.available | 2013-06-18T07:46:35Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:19:27Z | |
dc.date.issued | 2556-03 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7,1 (ม.ค.- มี.ค. 2556) : 67-79 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3846 | en_US |
dc.description.abstract | ผู้มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการสามารถไปรับบริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้าตามรายการที่กำหนดในโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกและยอมรับเงื่อนไขการจ่ายตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 โดยโรงพยาบาลเอกชนได้รับการชดเชยตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) และสามารถเรียกเก็บค่าบริการส่วนเกิน ค่าห้อง ค่าอาหารและค่าแพทย์จากผู้ป่วยได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินแนวโน้มการใช้บริการผ่าตัดนัดหมายล่วงหน้าในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐของผู้ป่วยระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการช่วงก่อนและหลังมีนโยบายฯ ตลอดจนศึกษาผลกระทบของนโยบายต่อการเข้าถึงบริการสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประสิทธิภาพการจัดบริการ และภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ โดยอาศัยการวิเคราะห์ฐานข้อมูลการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า หัตถการที่มีการใช้บริการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาในผู้ป่วยต้อกระจก (ร้อยละ 80) การคลอด (ร้อยละ 5) และการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า (ร้อยละ 3) การรับบริการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตากรณีต้อกระจกของผู้ป่วยระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากการชดเชยเงินให้โรงพยาบาลกรณีผ่าตัดต้อกระจกมีอัตราที่นับว่าสูง ผนวกกับมาตรการเชิงรุกในการตรวจคัดกรองในชุมชนรวมถึงการงดเก็บส่วนร่วมจ่ายจากผู้ป่วยและจัดบริการรถรับส่งฟรีของเครือโรงพยาบาลศุภมิตรซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่ภายใต้นโยบายฯ นี้ (ร้อยละ 74) ขณะเดียวกันเมื่อมีการโยกไปใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้นทำให้โรงพยาบาลรัฐมีเตียงและเวลาของแพทย์ว่างให้ผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่พบผลกระทบต่อโรงพยาบาลรัฐในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยไปใช้บริการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลเอกชนมากนัก ในขณะที่การคลอดและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ามีการใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนค่อนข้างน้อย เนื่องจากขาดมาตรการทางการตลาดเชิงรุก ประกอบกับผู้ป่วยต้องแบกรับส่วนร่วมจ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า โรงพยาบาลเอกชนสามารถบริหารทรัพยากรได้มีประสิทธิภาพมากกว่าโรงพยาบาลรัฐภายใต้ระบบการจ่ายแบบตกลงราคาล่วงหน้า (Prospective payment system) ขณะเดียวกันพบว่าโรงพยาบาลเอกชนมีพฤติกรรมการเลือกให้บริการที่มีอัตราชดเชยสูง และมีความแปรปรวนของอัตราการจัดเก็บส่วนร่วมจ่ายของโรงพยาบาลเอกชนแต่และแห่ง ทั้งนี้นโยบายฯ นี้มีผลให้รายจ่ายค่าบริการผู้ป่วยในที่จ่ายไปยังโรงพยาบาลเอกชนของระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายผู้ป่วยในโดยรวม โดยสรุปนโยบายฯนี้เอื้อต่อการเข้าถึงบริการผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ อย่างไรก็ดีก่อนการขยายโครงการควรพัฒนาให้มีระบบการติดตามประเมินที่เข้มแข็ง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | ผลกระทบของนโยบายการใช้บริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้าภายใต้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต่อระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | Impact of Elective Surgery in Private Hospitals under the Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) on the Health System | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Since May 2011, CSMBS patients have been allowed to get certain elective surgeries in accredited private hospitals. The scheme pays private hospitals by case-based payment, Diagnosis Related Group (DRG), and the hospitals can charge extra for bed and board and doctor fee. This study aims to assess utilization trend of CSMBS patients for certain elective surgeries in both public and private hospitals prior to and after policy implementation, and its impacts on service utilization of UCS members, efficiency of service provision, and burden of expenditure on patients and the scheme. Claim administrative databases of the CSMBS and UCS were employed in the analysis. Results reveal that Intraocular Lens (IOL) Replacement for cataract was major procedure used in private hospitals, 80%, followed by childbirth (5%) and knee replacement (3%). the number of patients receiving IOL has been prominently increased following the policy. This was due to relatively high payment rate for IOL, active screening for patients with cataract in communities together with no co-payment policy and free transportation provided by one private hospital chain who was major provider under this policy (74% of cases). Shifting of CSMBS patients to private hospitals let public hospitals having more available beds and doctor’s time for UCS patients. The numbers of childbirth and knee replacement in private hospitals under the policy were low due to lack of active marketing, relatively high copayment especially for knee replacement. Negative impact on public hospitals located in provinces where many patients got care from private hospitals was not found. Under prospective payment system, private hospitals were more efficient in managing resources. Private hospitals selected better paid procedures in the provision; moreover, there was huge variation in the level of copayments for same procedure of different private hospitals. The policy increased expenditure on private inpatient care; however, it did not affect overall expenditure of the scheme. In conclusion, the policy increased access to IOL replacement for cataract patients among CSMBS members; however, monitoring and evaluation system should be strengthened before scaling up the program. | en_US |
dc.subject.keyword | การผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้า | en_US |
dc.subject.keyword | สิทธิข้าราชการ | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.subject.keyword | Elective Surgery | en_US |
dc.subject.keyword | Civil Servant Medical Benefit Scheme | en_US |
dc.subject.keyword | Private Hospital | en_US |
.custom.citation | พัฒนาวิไล อินใหม, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Phatthanawilai Inmai and Samrit Srithamrongsawat. "ผลกระทบของนโยบายการใช้บริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้าภายใต้ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต่อระบบสุขภาพ." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3846">http://hdl.handle.net/11228/3846</a>. | |
.custom.total_download | 1398 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 296 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 48 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ