dc.contributor.author | สุธีรดา ฉิมน้อย | th_TH |
dc.contributor.author | พัฒนาวิไล อินใหม | th_TH |
dc.contributor.author | สิรินาฏ นิภาพร | th_TH |
dc.contributor.author | สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sutheerada Chimnoi | en_EN |
dc.contributor.author | Phatthanawilai Inmai | en_EN |
dc.contributor.author | Sirinard Nipaporn | en_EN |
dc.contributor.author | Samrit Srithamrongsawat | en_EN |
dc.date.accessioned | 2013-06-18T07:59:33Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:19:34Z | |
dc.date.available | 2013-06-18T07:59:33Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:19:34Z | |
dc.date.issued | 2556-03 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 7,1 (ม.ค.- มี.ค. 2556) : 56-66 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3847 | en_US |
dc.description.abstract | ผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการสามารถรับบริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้า 77 รายการได้ที่โรงพยาบาลเอกชนที่สมัครเข้าร่วมโครงการและผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 32 แห่งโดยต้องมีการร่วมจ่ายค่าบริการส่วนเพิ่มที่เบิกไม่ได้ ซึ่งหัตถการหลักที่มีการใช้บริการครอบคลุมถึงร้อยละ 88 ของการใช้บริการประกอบด้วย บริการผ่าตัดต้อกระจก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า และผ่าตัดคลอด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินช่องทางการรับรู้สิทธิและการเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลเอกชน ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมทั้งความพึงพอใจต่อการได้รับบริการที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้น การศึกษาใช้การสำรวจแบบไปข้างหน้าโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยหรือญาติทางโทรศัพท์ด้วยแบบสอบถามหลังจำหน่ายไม่เกินหนึ่งสัปดาห์ ระหว่างเดือนมิถุนายน – สิงหาคม 2555 โดยกลุ่มประชากรที่ศึกษาคือกรณีผู้ป่วยผ่าตัดสามหัตถการหลักที่ใช้สิทธิในการรับบริการในโรงพยาบาลเอกชนในช่วงเวลาของการสำรวจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้รับบริการส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไปและใช้สิทธิของบุตรในการเบิก ซึ่งช่องทางหลักที่ผู้ป่วยและญาติรับทราบสิทธิในเรื่องนี้ คือ คำบอกกล่าวจากแพทย์เจ้าของไข้ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยเดิมและผู้ป่วยรายใหม่ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รองลงมาคือ การบอกเล่าของญาติหรือคนรู้จักในพื้นที่ และการประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลเอกชน หากไม่นับรวมกลุ่มผู้ป่วยที่มาด้วยการตรวจคัดกรองในชุมชน เหตุผลหลักที่เลือกมารับบริการที่โรงพยาบาลคือ การไม่ต้องรอคิวการรักษาที่ยาวนาน ความสะดวก และแพทย์ที่รักษาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้น ผู้รับบริการส่วนใหญ่รับทราบภาระค่าใช้จ่ายก่อนตัดสินใจรับบริการแต่ไม่ทราบว่าสามารถตรวจสอบระดับราคาเทียบกับโรงพยาบาลแห่งอื่น พบว่ามีความแปรปรวนของค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเป็นสิบเท่าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าของแต่ละโรงพยาบาล ทำให้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่รายงานว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นภาระแก่ครอบครัวแม้ไม่สามารถบอกได้ว่าถึงขั้นทำให้ครัวเรือนเป็นหนี้สินหรือล้มละลายหรือไม่ แต่ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยรายใหม่ส่วนหนึ่งไม่แนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนแห่งนั้นๆ อีก อย่างไรก็ดีแม้จะยังคงมีประเด็นเรื่องของภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อบริการที่ได้รับในระดับสูงและส่วนใหญ่ยังยินดีที่จะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | ประสบการณ์ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในการรับบริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้าในโรงพยาบาลเอกชน | th_TH |
dc.title.alternative | Patients’ experience in using private hospitals for elective surgery under the Civil Servant Medical Benefit Scheme | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The Civil Servant Medical Benefit Scheme has extended its’ benefit by allowing beneficiaries to get
elective surgery in accredited private hospitals with some cost sharing since May 2011. Three are 77 avail-able procedures in 32 private hospitals for this matter; however, three main procedures, intraocular lens
replacement for cataract, knee replacement surgery, and cesarean section, accounted for 88 percent of all
procedures. This study aimed to assess patients’ experiences in getting elective surgery from private hospitals
in terms of channels of receiving information and access to private hospital, burden of expenditure,
and their satisfaction. The study employed a telephone interview with patients or care givers, who received
any of the three main procedures, within a week after being discharged from private hospital.
Results reveal that majority of users were those with age60 and above and were parents of civil servants.
Main channels of information about this benefit gotten by the patients included physician who provided
care for them, message from friends or relatives, and public relation of private hospital. Apart from community
screening for cataract, physician who works in both public and private hospitals was key actor
bringing the patient to private hospital. Main reasons for getting care from private hospital include shorter
queue, convenience in transportation, and following their preferred physician. Majority of them were
informed about the payments prior to admission; however, most of them did not know that they could
compare the price with that of other hospitals prior to making decision. It was found that the level of cost
sharing for knee replacement surgery varied greatly, ten times, among private hospitals. This let some of
them reporting incurred financial burden even though it was unclear whether it was catastrophic for
them. However, this made some of them would not recommend the others to use private hospital. Despite
the cost sharing, majority of them had high level of satisfaction in using private hospital and would recommend
the others to use private hospital for elective surgery. | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลเอกชน | en_US |
dc.subject.keyword | สิทธิข้าราชการ | en_US |
dc.subject.keyword | การผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้า | en_US |
dc.subject.keyword | Private Hospital | en_US |
dc.subject.keyword | Civil Servant Medical Benefit Scheme | en_US |
dc.subject.keyword | Elective Surgery | en_US |
.custom.citation | สุธีรดา ฉิมน้อย, พัฒนาวิไล อินใหม, สิรินาฏ นิภาพร, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Sutheerada Chimnoi, Phatthanawilai Inmai, Sirinard Nipaporn and Samrit Srithamrongsawat. "ประสบการณ์ผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการในการรับบริการผ่าตัดแบบนัดหมายล่วงหน้าในโรงพยาบาลเอกชน." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3847">http://hdl.handle.net/11228/3847</a>. | |
.custom.total_download | 834 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 10 | |
.custom.downloaded_this_year | 117 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 19 | |