แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสร้างเสริมสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวโน้มในอนาคต

dc.contributor.authorศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์en_US
dc.contributor.authorกุมภการ สมมิตรen_US
dc.date.accessioned2013-10-03T02:44:36Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:31:03Z
dc.date.available2013-10-03T02:44:36Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:31:03Z
dc.date.issued2556-09en_US
dc.identifier.otherhs2073en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3891en_US
dc.description.abstractการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสร้างเสริมสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีข้อค้นพบดังนี้ 1. นิยามการสร้างเสริมสุขภาพ/การส่งเสริมสุขภาพของประเทศไทยขยายขอบเขตและสอดคล้องกับสากล 2. การสร้างเสริมสุขภาพมีมิติที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนาระบบสุขภาพและเป็นระบบย่อยของระบบสุขภาพด้วย 3. สถานการณ์ปัจจุบันของบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบการสร้างเสริมสุขภาพพบว่าเสริมหนุนกันไปทิศทางเดียวกันแต่ระบบอภิบาลแยกส่วน กระทรวงสาธารณสุขกำหนดบทบาทตนเองใหม่ให้มีหน้าที่หลักในการอภิบาลระบบเพิ่มจากเดิมที่เน้นเป็นผู้ให้บริการ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพกำหนดบทบาท คือการร่วมมือกับภาคีและการเสริมศักยภาพภาคีในการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงานหลักประกันสุขภาพมีบทบาทเป็นผู้จัดสรรงบประมาณให้กับบริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ,และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีบทบาทในด้านการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมแต่ทุกองค์กรมีความเป็นอิสระ มีกรรมการนโยบายหรือกรรมการบริหารที่มาจากหลายภาคส่วนแต่แยกคณะกัน อาศัยอำนาจกฎหมายคนละฉบับในภาพรวมพบว่าเริ่มมีกลไกไม่ถาวรเชื่อมประสานหน่วยงานระดับนโยบาย 4 หน่วยงาน สสส. กสธ. สปสช. และ สช. แต่ไม่พบกลไกการเชื่อมงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับจังหวัด ไม่มีแผนพัฒนากำลังคนด้านการสร้างเสริมสุขภาพระดับประเทศและการประเมินผลการสร้างเสริมสุขภาพไม่ครอบคลุมทั้งระบบเนื่องจากงานสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่มีความหลากหลายสูงและมีนวัตกรรมที่หลากหลาย 4. สถานการณ์ผลลัพธ์การสร้างเสริมสุขภาพและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลักๆ พบว่า การเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคลและการลดการตายจากอุบัติเหตุจราจรมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ แต่มาตรการที่ใช้ควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลักอื่นๆ เริ่มชะลอประสิทธิภาพบ้างแล้ว ทำได้แค่เพียงควบคุม 2 สถานการณ์ให้ทรงตัวเช่น อัตราการสูบบุหรี่ เป็นต้น ในขณะที่ปัจจัยคุกคามใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 5. บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปจากสถานการณ์ ณ พ.ศ. 2552 คือ การปฏิรูปบทบาทภายในระบบราชการสาธารณสุขระหว่าง พ.ศ. 2554-2556 และการเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึงใน พ.ศ. 2558 นี้en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectการสร้างเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสร้างเสริมสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวโน้มในอนาคตen_US
dc.title.alternativeSituation Analysis of Thailand’s Health Promotion System According to the Statute on National Health System B.E. 2552 (2009)en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.contactno55-034en_US
dc.subject.keywordธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติen_US
.custom.citationศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ and กุมภการ สมมิตร. "การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของระบบสร้างเสริมสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวโน้มในอนาคต." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3891">http://hdl.handle.net/11228/3891</a>.
.custom.total_download188
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2073.pdf
ขนาด: 1.612Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย