การกระจายและการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา
dc.contributor.author | นิธิมา สุ่มประดิษฐ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nithima Sumpradit | en_US |
dc.contributor.author | เสาวลักษณ์ ฮุนนางกูร | th_TH |
dc.contributor.author | Saowalak Hunnangkul | en_US |
dc.contributor.author | ภูษิต ประคองสาย | th_TH |
dc.contributor.author | Phusit Prakongsai | en_US |
dc.contributor.author | วิษณุ ธรรมลิขิตกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Visanu Thamlikitkul | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-11-15T07:54:22Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:20:40Z | |
dc.date.available | 2013-11-15T07:54:22Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:20:40Z | |
dc.date.issued | 2556-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7,2 (เม.ย.-มิ.ย.2556) : 268-280 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3905 | en_US |
dc.description.abstract | ความไม่สอดคล้องระหว่างรายการยาปฏิชีวนะที่มีใช้ในหน่วยบริการ กับศักยภาพการให้บริการของหน่วยบริการ อาจทำให้เกิดการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผล อันจะส่งผลต่อการเกิดเชื้อดื้อยา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระจายและการใช้ยาปฏิชีวนะในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) คลินิก และร้านยา ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการการควบคุมยาปฏิชีวนะ รวมทั้งคำศัพท์ที่ใช้สื่อสารเรื่องยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วย โดยการสำรวจด้วยแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง และเก็บข้อมูลจาก รพ.สต. คลินิก และร้านยาจาก 27 อำเภอใน 9 จังหวัด ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2555 มีแบบสอบถามที่ตอบกลับและใช้ได้จำนวน 601 ชุด (คิดเป็นร้อยละ 53) จาก รพ.สต. 276 แห่ง คลินิก 107 แห่ง และร้านยา 218 แห่ง จากรายการยาทั้งสิ้น 47 ชนิด รพ.สต. คลินิก และร้านยา มีจำนวนยาปฏิชีวนะ 25, 35 และ 36 ชนิด ตามลำดับ ยาปฏิชีวนะที่พบมากสุด 3 อันดับแรก คือ amoxicillin (ร้อยละ 98–100) norfloxacin (ร้อยละ 93–99) และ dicloxacillin (ร้อยละ 85–99) คลินิกและร้านยามีอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคที่ส่วนมากไม่จำเป็นต้องได้ยาปฏิชีวนะใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 40-60 ซึ่งสูงกว่าใน รพ.สต. ที่มีการใช้ที่ร้อยละ 20-30 คลินิกส่วนใหญ่ (ร้อยละ 77) เห็นด้วยกับมาตรการให้ยาปฏิชีวนะทุกชนิดเป็นยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ขณะที่ รพ.สต.และร้านยาส่วนน้อย (ร้อยละ 24 และ 5 ตามลำดับ) เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว หน่วยบริการนิยมใช้คำว่า “ยาฆ่าเชื้อ” ในการสื่อสารเรื่องยาปฏิชีวนะ (ร้อยละ 36-55) รองลงมาคือคำว่า “ยาแก้อักเสบ” (ร้อยละ 19-25) ส่วนคำว่า “ยาปฏิชีวนะ” อยู่อันดับสาม (ร้อยละ 11-28) ผลการศึกษานี้แสดงถึงความจำเป็นของมาตรการการควบคุมการกระจายยาปฏิชีวนะที่เข้มงวดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยบริการภาคเอกชน และควรมีมาตรการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลควบคู่กันด้วย | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 209712 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ยาปฏิชีวนะ | en_US |
dc.subject | Antibiotic | en_US |
dc.title | การกระจายและการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา | th_TH |
dc.title.alternative | Distribution and utilization of antibiotics in health promoting hospitals, private medical clinics and pharmacies in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | A mismatch between available antibiotics in the healthcare outlets and limited medical and microbiological capacities of these outlets can lead to irrational use of antibiotics and subsequently worsens bacterial resistance situations. The study aims to investigate (a) patterns of antibiotic distribution and utilization among health promoting hospitals, private medical clinics, and pharmacies; (b) opinions on regulation regarding antibiotic distribution and use; and (c) terminology used by health professionals to explain to patients about antibiotics. A cross-sectional survey using self-administered questionnaires was conducted in 27 districts of 9 purposely sampled provinces during April-May 2012. The response rate was 53% (601 questionnaires); 276 of them were from health promoting hospitals, 107 from private medical clinics and 218 from pharmacies. The results showed that,of the 47 antibiotics surveyed; 25, 35 and 37 items were available at health promoting hospitals, medical clinics and pharmacies, respectively. The most commonly found antibiotics were amoxicillin (98-100%), norfloxacin (93-99%) and dicloxacillin (85- 99%). Private medical clinics and pharmacies had higher rates of antibiotic utilization for potentially selflimited diseases than those in health promoting hospitals (40-60% vs. 20-30%, correspondingly). Most physicians in private medical clinics (77%) agreed with the prescription-only measure for all antibiotics. Fewer nurses and other health professionals in health promoting hospitals and pharmacists in pharmacies (24% and 5%, respectively) agreed with such measure. The terms “antimicrobial agents” (36-55%) and “anti-inflammatory agents” (19-25%) are used more often than the term “antibiotics” (11-28%). The observations from this study indicate that the regulation of antibiotic distribution should be more restrictive and such regulatory measures, together with measures to promote rational use of antibiotics, should be implemented simultaneously. | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล | en_US |
dc.subject.keyword | Health Promoting Hospital | en_US |
.custom.citation | นิธิมา สุ่มประดิษฐ์, Nithima Sumpradit, เสาวลักษณ์ ฮุนนางกูร, Saowalak Hunnangkul, ภูษิต ประคองสาย, Phusit Prakongsai, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล and Visanu Thamlikitkul. "การกระจายและการใช้ยาปฏิชีวนะของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิก และร้านยา." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3905">http://hdl.handle.net/11228/3905</a>. | |
.custom.total_download | 4893 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 29 | |
.custom.downloaded_this_year | 514 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 61 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ