dc.contributor.author | ภริตา บุญรักษา | en_US |
dc.contributor.author | Pharita Boonraksa | en_US |
dc.contributor.author | คมกฤษณ์ ปัญญวัฒนกิจ | en_US |
dc.contributor.author | Komkrit Punyawattanakit | en_US |
dc.contributor.author | ทอม กำภู ณ อยุธยา | en_US |
dc.contributor.author | Tom Kambhu Na Ayudhya | en_US |
dc.contributor.author | วีรวรรณ แก้วทอง | en_US |
dc.contributor.author | Veerawan Kaewthong | en_US |
dc.contributor.author | กชกร พงศ์พิศาล | en_US |
dc.contributor.author | Kotchakorn Pongpisarl | en_US |
dc.contributor.author | วิน เตชะเคหะกิจ | en_US |
dc.contributor.author | Win Techakehakij | en_US |
dc.coverage.spatial | สุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-11-15T08:39:35Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:19:11Z | |
dc.date.available | 2013-11-15T08:39:35Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:19:11Z | |
dc.date.issued | 2556-06 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 7,2 (เม.ย.-มิ.ย.2556) : 296-301 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3907 | en_US |
dc.description.abstract | โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลเป็นหนึ่งในปัญหาการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลที่พบบ่อยที่สุด มีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่รักษาตัวที่โรงพยาบาล งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบในโรงพยาบาล และอัตราการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อก่อโรคในผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
ผู้วิจัยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยใน อายุ 15 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 - ธันวาคม พ.ศ. 2555 ลักษณะของผู้ป่วยและผลการเพาะเชื้อจากเสมหะ เพื่อหาเชื้อสาเหตุและการดื้อต่อยาปฏิชีวนะ
ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลมีจำนวน 540 คน อายุเฉลี่ย 65 ปี ร้อยละ 54 เป็นเพศชาย ค่ามัธยฐานของระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาลคือ 21 วัน ผลเพาะเชื้อจากเสมหะพบเชื้อสาเหตุสูงสุด 4 ชนิด คือ K.pneumoniae (31.2%), A.baumannii (21.9%), P.aeruginosa (14.8%), และ S.aureus (4.3%) อัตราการดื้อยา Ceftriaxone ต่อเชื้อ A.baumannii, K.pneumoniae, K.pneumoniae ESBL และ P.aeruginosa เท่ากับ 83.1%, 1.3%, 85.7% และ 37.5% ตามลำดับ อัตราการดื้อยา Imipenem ต่อเชื้อ A.baumannii, K.pneumoniae, K.pneumoniae ESBL และ P.aeruginosa เท่ากับ 71.2%, 0%, 6.3% และ 23.8% ตามลำดับ อัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลของผู้ป่วยคือ 29.4%
ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีมีอัตราการเสียชีวิตและอัตราการดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่สูง ข้อมูลความชุกของเชื้อสาเหตุ ตลอดจนอัตราการดื้อยาอาจเป็นประโยชน์ต่อการเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมในการรักษาเบื้องต้น เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี ลดระยะเวลาของโรค ลดระยะเวลาการนอนในโรงพยาบาล ลดอัตราการดื้อยา และลดอัตราการเสียชีวิต | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 152745 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | ยาปฏิชีวนะ | en_US |
dc.subject | Antibiotic | en_US |
dc.title | โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ใหญ่ สาเหตุและความชุกของการดื้อต่อยาปฏิชีวนะช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.title.alternative | Hospital-acquired pneumonia in adults Etiology and prevalence of antibiotic resistance in 2012-2013 at Suratthani Hospital | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Hospital-acquired pneumonia (HAP), one of the most common nosocomial infections, is associated
with a high mortality rate in hospitalized adults. The study aims to determine the prevalence of HAP
pathogens and antibiotic resistance rate at Suratthani Hospital.
We conducted a retrospective study of hospitalized patients aged 15 and over who were diagnosed
with HAP at Suratthani Hospital from January 2011 to December 2012. Data from medical records, including
patient characteristics and results from a sputum culture test, were used to demonstrate etiology and
antibiotic resistance rates.
A total number of 540 HAP cases were identified. The mean age of the sample population was 65
years old, with 54% being male. The median length of the hospital stay was 21 days. The four most common
pathogens were K.pneumoniae (31.2%), A.baumannii (21.9%), P.aeruginosa (14.8%) and S.aureus (4.3%).
Ceftriaxone resistance rates for A.baumannii, K.pneumoniae, K.pneumoniae ESBL and P.aeruginosa were 83.1%,
1.3%, 85.7% and 37.5%, respectively. Imipenem resistance rates for A.baumannii, K.pneumoniae, K.pneumoniae
ESBL and P.aeruginosa were 71.2%, 0%, 6.3% and 23.8%, respectively. All-cause hospital mortality rate was
29.4%.
High mortality and antibiotic resistance rates were observed among adult patients with HAP at
Suratthani Hospital. Information about the etiology and prevalence of antibiotic resistance of HAP in a
local setting may be helpful in the selection of appropriate antibiotics for initial treatment of HAP to
shorten the course of disease and length of hospital stay and reduce antibiotic resistance and mortality
rates. | en_US |
dc.subject.keyword | โรคปอดอักเสบ | en_US |
dc.subject.keyword | การติดเชื้อ | en_US |
dc.subject.keyword | Antibiotic | en_US |
dc.subject.keyword | การดื้อยา | en_US |
.custom.citation | ภริตา บุญรักษา, Pharita Boonraksa, คมกฤษณ์ ปัญญวัฒนกิจ, Komkrit Punyawattanakit, ทอม กำภู ณ อยุธยา, Tom Kambhu Na Ayudhya, วีรวรรณ แก้วทอง, Veerawan Kaewthong, กชกร พงศ์พิศาล, Kotchakorn Pongpisarl, วิน เตชะเคหะกิจ and Win Techakehakij. "โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลในผู้ใหญ่ สาเหตุและความชุกของการดื้อต่อยาปฏิชีวนะช่วงปี พ.ศ. 2554-2555 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3907">http://hdl.handle.net/11228/3907</a>. | |
.custom.total_download | 4718 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 24 | |
.custom.downloaded_this_year | 441 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 62 | |