HSRI-FORUM ปีที่ 2 ฉบับที่ 2: 1 ปี รักษาฉุกเฉิน มาตรฐานเดียว
dc.contributor.editor | พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข | th_TH |
dc.contributor.editor | Pongpisut Jongudomsuk | en_US |
dc.date.accessioned | 2013-12-18T09:30:34Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:20:25Z | |
dc.date.available | 2013-12-18T09:30:34Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:20:25Z | |
dc.date.issued | 2556-05 | en_US |
dc.identifier.citation | HSRI Forum ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พ.ค. 2556 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3926 | en_US |
dc.description.abstract | HSRI FORUM ฉบับนี้ มีสาระความรู้ในแวดวงระบบสุขภาพ มาฝากเช่นเคย โดยฉบับนี้ได้ถือเอาวาระครบรอบ 1 ปีของการประกาศนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหน ไปที่นั่น” มาเป็นประเด็นของการนำเสนอนโยบายนี้นับเป็นการนำร่องบูรณาการการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพ ให้มีชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานและระบบมาตรฐานเดียวกันใน “ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน” ที่ต้องการสร้างความเป็นเอกภาพและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างระบบประกันสุขภาพของ 3 กองทุน การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวมีรูปธรรม ความสำเร็จเป็นไปดั่งที่คาดหวังไว้หรือไม่ อย่างไร ติดตามได้จากรายงานพิเศษที่ได้ประมวลผลการศึกษาโครงการประเมินการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินร่วมสามกองทุน ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ทั้ง สาระสำคัญในแง่ของการเข้าถึงบริการ คุณภาพการบริการ และข้อเสนอแนะที่น่าติดตาม นอกจากนั้น ยังเข้มข้นด้วยเนื้อหา ซึ่งเป็นควันหลงจากงานประชุมวิชาการการวิจัยระบบสาธารณสุข ประจำปี 2556 ที่ สวรส. ได้จัดไป ในช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เรื่อง "กลไกอภิบาลระบบหลักประกัน เส้นทาง สู่การลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ” องค์ความรู้จากงานวิจัยของ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งได้ช่วยแนะเส้นทางลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความยั่งยืนให้กับระบบประกันสุขภาพ ตามด้วยผลงานวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ไฟแรง นิกร ฮะเจริญจาก รพ.สต.คลองมะเดื่อ จ.สมุทรสาคร ที่หยิบปัญหาท้าทายในเรื่อง “ทุนนิยม แรงงาน ข้ามชาติ และวัณโรค” มานำเสนอในแกะกล่องงานวิจัย พร้อมกับการแนะนำต้นแบบการดูแลสุขภาพ ผลผลิตต่อยอดจากผลงานวิจัย R2R ดีเด่นจาก สวรส. เมื่อปี 2555 ของ รพ.สต.บางไผ่ จ.พิจิตร ที่ปัจจุบันกลายเป็นพี่เลี้ยงเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนให้กับหน่วยงานสาธารณสุขหลายแห่ง ที่เดินทางมาเรียนรู้ดูงานกันอย่าง มากมาย ซึ่งได้นำองค์ความรู้ไปพัฒนาและปฏิบัติจริง ก่อนส่งท้ายเล่มด้วยการเปิดห้องรับแขกโดย เชิญนักวิจัยสาวรุ่นใหม่ที่มีหัวใจรักงานวิจัยเต็ม ร้อย “ผศ.ดร.ภญ.นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์” มาเล่าเรื่องราวความคิดมุมมองในการทำงานและการใช้ชีวิตในมุมเบาๆ สุดท้าย สำหรับฉบับนี้ผมได้เสนอมุมมอง เกี่ยวกับ “ระบบวิจัยสุขภาพในทศวรรษหน้า” ไว้ ใน “ไฮไลท์ระบบสุขภาพ” ที่ต้องการให้เห็นถึง ความสำคัญของ “ระบบวิจัย” ที่เปรียบเสมือน “สมอง” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศ เนื้อหาจะเป็นอย่างไรนั้น พลิกอ่านกันได้ในฉบับนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.format.extent | 4290352 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | การพยาบาลฉุกเฉิน | th_TH |
dc.title | HSRI-FORUM ปีที่ 2 ฉบับที่ 2: 1 ปี รักษาฉุกเฉิน มาตรฐานเดียว | th_TH |
dc.title.alternative | ระบบวิจัยสุขภาพในทศวรรษหน้า | th_TH |
dc.title.alternative | 1 ปี รักษาฉุกเฉิน มาตรฐานเดียว | th_TH |
dc.title.alternative | กลไกอภิบาลระบบ : เส้นทางลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.title.alternative | ทุนนิยม แรงงานข้ามชาติ และวัณโรค | th_TH |
dc.title.alternative | จากวิจัย R2R รพ.สต.บางไผ่ : สู่ต้นแบบการดูแล (กันเอง) ในผู้ป่วยเบาหวาน | th_TH |
dc.title.alternative | วิจัย อย่างน้อยช่วยตีฆ้องร้องเป่า ว่ามีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว | th_TH |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | ความเหลื่อมล้ำ | th_TH |
dc.subject.keyword | ความเป็นธรรม | th_TH |
dc.subject.keyword | ผู้ป่วยฉุกเฉิน | th_TH |
.custom.citation | "HSRI-FORUM ปีที่ 2 ฉบับที่ 2: 1 ปี รักษาฉุกเฉิน มาตรฐานเดียว." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3926">http://hdl.handle.net/11228/3926</a>. | |
.custom.total_download | 574 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 5 | |
.custom.downloaded_this_year | 75 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 12 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ