ผลกระทบของข้อตกลงยอมรับร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้กรอบอาเซียน ต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย: การวิเคราะห์ประสบการณ์จากสหภาพยุโรป
dc.contributor.author | ชาญณรงค์ สังข์อยุทธ | en_US |
dc.contributor.author | Channarong Sungayuth | en_US |
dc.contributor.author | ชะเอม พัชนี | en_US |
dc.contributor.author | Cha-aim Pachanee | en_US |
dc.contributor.other | แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ,สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข | en_US |
dc.contributor.other | แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ,สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-04-01T02:09:32Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T16:22:10Z | |
dc.date.available | 2014-04-01T02:09:32Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T16:22:10Z | |
dc.date.issued | 2557-03 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,1 (ม.ค.-มี.ค. 2557) : 15-26 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3997 | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงยอมรับร่วมของวิชาชีพพยาบาล เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๔๙ และลงนามในข้อตกลงยอมรับร่วมของวิชาชีพแพทย์ และวิชาชีพทันตแพทย์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ อันถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อระบบสุขภาพในภูมิภาค การศึกษานี้เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากข้อตกลงยอมรับร่วม โดยวิเคราะห์ผลกระทบจากการทำข้อตกลงยอมรับร่วมในสหภาพยุโรป ซึ่งมีความซับซ้อนและใช้เวลาถึง ๓๐ ปี ( ๒๕๑๘ – ๒๕๔๘) สหภาพยุโรปมีรัฐสมาชิกมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจไม่แตกต่างกันมากเหมือนอาเซียน รวมทั้งมีความคล้ายคลึงของระบอบการปกครองและวัฒนธรรม การเคลื่อนย้ายของบุคลากรโดยรวมจะเป็นการเคลื่อนย้ายจากประเทศที่มีระดับการพัฒนาน้อยกว่าไปสู่ประเทศที่มีระดับการพัฒนามากกว่า แต่ละประเทศมีมาตรการรองรับการเคลื่อนย้ายบุคลากรแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความต้องการ ประเทศที่มีความต้องการบุคลากรจะเปิดรับการเคลื่อนย้ายทันที แต่ประเทศที่ยังไม่ต้องการจะชะลอการเปิดรับ การเคลื่อนย้ายบุคลากรในยุโรปมีผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดีขึ้นในประเทศผู้รับ ทั้งยังเป็นโอกาสการทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้ ผลด้านลบเกิดกับคุณภาพของการให้บริการสุขภาพอันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางภาษา ระดับการศึกษา และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของบุคลากรจากประเทศอื่น นอกจากนี้ยังเกิดการขาดแคลนบุคลาการในประเทศผู้ส่ง มาตรการที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้ในการธำรงบุคลากร คือมาตรการทางการเงิน ข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยคือ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศควรกำหนดจุดยืนร่วมและในทิศทางเดียวกันของแต่ละวิชาชีพ ในระยะสั้นซึ่งยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ควรใช้กลไกของสภาวิชาชีพเป็นตัวกำหนดจุดยืน ในระยะยาวควรกำหนดหยุดยืนที่ได้จากการวิเคราะห์ฉากทัศน์สถานการณ์ของประเทศไทยในอนาคตร่วมกับบริบทของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เป็นสำคัญ | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 206873 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | กำลังคนด้านสุขภาพ | en_US |
dc.title | ผลกระทบของข้อตกลงยอมรับร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้กรอบอาเซียน ต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย: การวิเคราะห์ประสบการณ์จากสหภาพยุโรป | en_US |
dc.title.alternative | Impacts of ASEAN Mutual Recognition Arrangements (MRAs) for Health Professionals on the Health System in Thailand: The Analysis of the Experience from the European Union | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | In 2006, ASEAN Member States signed the Mutual Recognition Arrangement (MRA) for Nursing Services and in 2009 signed the MRAs for Medical Practitioners and Dental Services. In view of the operationalization of the MRAs, review of the impacts in the European Union context was conducted to anticipate potential positive and negative impacts of the movement of health professionals within ASEAN under these MRAs. We found that MRAs in the EU were complex and took 30 years (1975-2005) for the detailed requirements in each directive to be completed. Unlike ASEAN, members of the EU have similar levels of economic development, administrative system and culture. Movement of the health professionals flowed from member countries with lower level of development to countries with higher level of development. Each EU country has different responding measure to the health professional movements; countries in need of health professionals accepted foreign professionals immediately, while those not in need of health professionals delayed their acceptance. The movement created both positive and negative impacts. Positive impacts are job opportunities and knowledge exchange. Negative impacts are quality of services caused by language limitation, different levels of education and culture and insufficient number of health professionals in countries of origin. As an ASEAN member state, Thailand may be affected by the MRAs. Over the short term, health professionals should take a leading role in developing their country positions with regard to the movement of health professionals. Longer-term preparation involves an analysis of probable scenarios for further improvement of the said positions. | en_US |
dc.subject.keyword | บุคลากรสาธารณสุข | en_US |
dc.subject.keyword | อาเซียน | en_US |
dc.subject.keyword | สหภาพยุโรป | en_US |
dc.subject.keyword | Mutual Recognition Arrangement | en_US |
dc.subject.keyword | ASEAN | en_US |
dc.subject.keyword | European Union | en_US |
dc.subject.keyword | Health Professionals | en_US |
.custom.citation | ชาญณรงค์ สังข์อยุทธ, Channarong Sungayuth, ชะเอม พัชนี and Cha-aim Pachanee. "ผลกระทบของข้อตกลงยอมรับร่วมของบุคลากรสาธารณสุขภายใต้กรอบอาเซียน ต่อระบบสุขภาพของประเทศไทย: การวิเคราะห์ประสบการณ์จากสหภาพยุโรป." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3997">http://hdl.handle.net/11228/3997</a>. | |
.custom.total_download | 1095 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 11 | |
.custom.downloaded_this_year | 89 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 24 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ