แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาการดูแลคนพิการในชุมชนโดยใช้ข้อมูลสมรรถนะคนพิการ

dc.contributor.authorนริสา วงศ์พนารักษ์en_US
dc.contributor.authorNarisa Wongpanaraken_US
dc.contributor.authorศิรินาถ ตงศิริen_US
dc.contributor.authorSirinart Tongsirien_US
dc.contributor.authorบังอร กุมพลen_US
dc.contributor.authorBungon Kumphonen_US
dc.date.accessioned2014-04-01T03:26:14Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T16:21:35Z
dc.date.available2014-04-01T03:26:14Zen_US
dc.date.available2557-04-16T16:21:35Z
dc.date.issued2557-03en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,1 (ม.ค.-มี.ค. 2557) : 60-73en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4001en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผ่านแนวคิดฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนในการขับเคลื่อนงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดูแลคนพิการในชุมชน โดยใช้ข้อมูลสมรรถนะคนพิการร่วมกับการศึกษาความรู้และทัศนคติต่อการดูแลคนพิการ การดำเนินการมี ๓ ระยะ คือ ๑) ศึกษาสถานการณ์ปัญหา/ความต้องการ/การวางแผน ๒) พัฒนากระบวนการดูแลคนพิการในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ๓) ประเมินและสรุปผลการศึกษา ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยจำนวน ๕๒ คนเป็นบุคลากรที่ดูแลคนพิการจาก ๔จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากแบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจดบันทึกภาคสนาม การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัยได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการศึกษา จนได้กระบวนการดูแลคนพิการในชุมชนแบบมีส่วนร่วม ดังนี้ ๑) คัดกรองเบื้องต้น ๒) เลือกกลุ่มเป้าหมาย ๓) ประเมินระดับความพิการและความต้องการโดยสหสาขาวิชาชีพด้วยแบบสอบถามข้อมูลสมรรถนะคนพิการที่พัฒนาจากแนวคิด ICF และนำข้อมูลมาใช้กำหนดปัญหาและค้นหาความต้องการของคนพิการในชุมชน ๔) ให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมตามความต้องการ ๕) ประสานความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าความรู้และทัศนคติต่อการดูแลคนพิการ ความคิดเห็นต่อกระบวนการดูแลคนพิการในชุมชนแบบมีส่วนร่วม และความพึงพอใจของผู้ร่วมดำเนินการวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการสร้างความเข้าใจในการใช้ข้อมูลสมรรถนะคนพิการ เพื่อประโยชน์ในการหากระบวนการดูแลคนพิการในชุมชนที่เหมาะสม ความสำเร็จของกระบวนการขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานทั้ง ๕ขั้นตอน และการมีส่วนร่วมในการสร้างข้อตกลงในการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย อีกทั้งเสนอให้มีการขยายเครือข่ายผู้ดูแลคนพิการ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ คนพิการและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent281740 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.titleการพัฒนาการดูแลคนพิการในชุมชนโดยใช้ข้อมูลสมรรถนะคนพิการen_US
dc.title.alternativeThe Development of Participatory Community-based Rehabilitation Program for Persons with Disabilities in the Communityen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis is a participatory action research using a community-based rehabilitation model as a conceptual framework. The research aims to develop caretaking programs for persons with disabilities (PWDs) in the community through the use of the International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF) data and explore the participants’ basic knowledge and attitudes towards PWDs. The study comprised of three phases: 1) situation and health needs analysis and planning; 2) development of participatory program for PWDs; and 3) evaluation. Fifty-two participants working with PWDs from four provinces (Roiet, Khonkaen, Mahasarakham and Kalasin) were involved. Quantitative and qualitative data were collected through questionnaire, seminar workshops, observations, field notes and informal interviews. All participants were involved in all three phases. The participatory rehabilitation program comprised of five steps: 1) initial screening; 2) target group selection; 3) function and need assessment; 4) provision of care; and 5) engagement across different organizations. Knowledge, attitude and satisfaction toward participatory rehabilitation programs for PWDs were improved after the workshops. Comprehension of the PWD functioning data should be encouraged among participants. An appropriate program should be developed from the multidisciplinary teamwork across different organizations following the five steps as mentioned. Care network should also be expanded to improve the quality of life of the PWDs and families.en_US
dc.subject.keywordสมรรถนะคนพิการen_US
dc.subject.keywordผู้พิการen_US
dc.subject.keywordการดูแลคนพิการen_US
dc.subject.keywordDisability and Health (ICF)en_US
.custom.citationนริสา วงศ์พนารักษ์, Narisa Wongpanarak, ศิรินาถ ตงศิริ, Sirinart Tongsiri, บังอร กุมพล and Bungon Kumphon. "การพัฒนาการดูแลคนพิการในชุมชนโดยใช้ข้อมูลสมรรถนะคนพิการ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4001">http://hdl.handle.net/11228/4001</a>.
.custom.total_download1514
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month10
.custom.downloaded_this_year124
.custom.downloaded_fiscal_year24

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v8n1 ...
ขนาด: 275.1Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย