แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาการอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย

dc.contributor.authorบวรศม ลีระพันธ์th_TH
dc.contributor.authorภัททา เกิดเรืองth_TH
dc.contributor.authorอุทุมพร วงษ์ศิลป์th_TH
dc.contributor.authorBorwornsom Leerapanen_US
dc.contributor.authorPhatta Kirdruangen_US
dc.contributor.authorUtoomporn Wongsinen_US
dc.date.accessioned2014-05-27T03:59:57Z
dc.date.available2014-05-27T03:59:57Z
dc.date.issued2556-09
dc.identifier.otherhs2105
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4016
dc.description.abstractการจัดการด้านการคลังสุขภาพเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญของระบบสุขภาพ โดยเฉพาะระบบสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งมีการจัดการด้านการคลังสุขภาพผ่านกองทุนสุขภาพจำนวนหลายกองทุน ดังนั้น ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการของโรงพยาบาลต่อนโยบายของกองทุนสุขภาพเหล่านี้ จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนานโยบายการคลังสุขภาพในระดับมหภาค ในปัจจุบันกองทุนสุขภาพของภาครัฐทั้งหมด 3 ระบบหลัก ครอบคลุมสิทธิด้านการบริการสุขภาพของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทย ได้แก่ ประชากรประมาณร้อยละ 75 อยู่ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประมาณร้อยละ 13 อยู่ในระบบประกันสังคม และประมาณร้อยละ 10 เป็นผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ (HSRI & WHO, 2006) และยังคงมีกลุ่มประชากรที่สละสิทธิ์ดังกล่าวและตัดสินใจจ่ายเงินค่าบริการสุขภาพด้วยตนเองเมื่อไปรับบริการจากสถานบริการสุขภาพของทั้งภาครัฐและเอกชน ในอดีตที่ผ่านมา ผู้ทำการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายด้านคลังสุขภาพมักจำกัดการศึกษาวิจัยอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงภายในกองทุนสุขภาพแต่ละระบบหรือแต่ละกองทุน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้จำกัดการบริการเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลหรือการสร้างแรงจูงใจทางการเงินของกองทุนสุขภาพหนึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อการตอบสนองการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ด้วย การวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการตอบสนองของโรงพยาบาลรัฐต่อแรงจูงใจทางการเงินที่เกิดจากความแตกต่างของนโยบายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของกองทุนสุขภาพเหล่านั้น โดยมุ่งเน้นการทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาล ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพชี้ให้เห็นถึงประเด็นหลักที่พบ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเข้าใจและทัศนคติที่หลากหลายเกี่ยวกับแนวคิดการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพ 2) อุปสรรคในการบริหารโรงพยาบาลซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการจ่ายเงินของกองทุนสุขภาพ 3) อุปสรรคในการบริหารโรงพยาบาลซึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดภายในของโรงพยาบาล และ 4) การตอบสนองของโรงพยาบาลต่อนโยบายการจ่ายเงินของกองทุนสุขภาพ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแสดงให้เห็นถึง 1) ความแตกต่างของต้นทุนในการจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยของทุนสุขภาพต่างๆ โดยยังพบว่าความแตกต่างยังคงมีอยู่แม้ได้ควบคุมตัวแปรอื่นๆ แล้ว 2) โรงพยาบาลมีกำไร/ขาดทุนจากการให้บริการผู้ป่วยของกองทุนต่างๆ แตกต่างกันอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะการได้กำไรจากการให้บริการผู้ป่วยสิทธิข้าราชการ และการขาดทุนจากการให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและผู้ป่วยต่างชาติ แต่ยังไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงได้ว่าโรงพยาบาลตั้งใจทำกำไรจากกลุ่มผู้ป่วยสิทธิข้าราชการเพื่อชดเชยการขาดทุนดังกล่าว 3) มีหลักฐานที่แสดงถึงการอุดหนุนข้ามกองทุนแบบไม่จงใจ ซึ่งอาจเรียกว่า “passive cross-subsidization” ซึ่งเกิดจากการได้รับการจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไม่เพียงพอสำหรับการจัดบริการให้กับคนไข้บางกลุ่ม และ 4) ไม่พบหลักฐานว่าโรงพยาบาลโยกย้ายต้นทุนโดยตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลให้สูงขึ้นสำหรับกลุ่มผู้ป่วยจ่ายเงินเองเพื่อชดเชยการขาดทุนจากการให้บริการผู้ป่วยสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.)th_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.titleการศึกษาการอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeCross-subsidization of healthcare financing at the hospital level : Case studies of selected public hospitals in Thailanden_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeHealthcare financing is one of the building blocks of health systems. Understanding how hospitals deal with various payment schemes and finance their health care services would be crucial in improving health financing policies at the macro level, particularly in the health systems with multiple heath-financing schemes. In Thailand, there are currently three public healthcare financing schemes: the Universal Coverage Scheme (UC) which covers approximately 75 percent of the population, the Social Security Scheme (SSS) which covers approximately 13 percent of the population, and the Civil Servants Medical Benefits Scheme (CSMBS) which covers approximately 10 percent of the population (HSRI & WHO, 2006). It is crucial to note that, there still remains a group of patients who choose to give up their health benefits from the above three schemes and decide to pay out-of-pocket to receive health care services from both public and private health care providers. In the past, health systems researchers have focused only on the financing mechanisms within particular health schemes, without addressing possible side effects on other schemes. Given that the reimbursement policies for the three schemes are quite different both in terms of reimbursement rates and payment methods, hospitals are likely to have different financial incentives in treating patients from different health schemes. Thus, this research attempts to address hospitals’ financial incentives in responding to the difference in reimbursement policies. In particular, it seeks to identify and analyze possible cross-subsidization across health schemes within the public hospitals in Thailand. Based on the qualitative content analysis, 13 sub-themes related to the concept of cross-subsidization emerged. They can be categorized into four major themes. First, the concept of cross-subsidization is perceived and understood very differently among hospital administrators. Second, payment policies of health schemes create obstacles to hospitals’ financial management. Third, organizational factors of hospitals also create obstacles to hospitals’ financial management. Lastly, hospitals respond to payment policies of health schemes by various measures. The quantitative data analysis revealed that unit-costs are different across schemes even if other characteristics are controlled for, and the differences between reimbursement and cost vary across different schemes in a systematic pattern. In particular, there is a gain from providing healthcare to CSMBS patients, while there is a loss from providing care to other groups of patients, such as UC and foreign patients. Nonetheless, these quantitative results do not indicate that the hospitals intentionally make a profit from providing care to CSMBS patients in order to subsidize its loss. In fact, this could be an evidence of “passive cross-subsidization,” where the cross-subsidy results from insufficient reimbursement from particular groups of patients. Lastly, there is no evidence that the hospital “cost-shifts” by increasing the price charged to OPP patients to compensate for the UC loss.en_US
dc.identifier.callnoW160 บ189ก 2556
dc.identifier.contactnoT56-04en_US
dc.subject.keywordCross-subsidizationen_US
dc.subject.keywordhealthcare financingth_TH
dc.subject.keywordกองทุนสุขภาพth_TH
.custom.citationบวรศม ลีระพันธ์, ภัททา เกิดเรือง, อุทุมพร วงษ์ศิลป์, Borwornsom Leerapan, Phatta Kirdruang and Utoomporn Wongsin. "การศึกษาการอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในโรงพยาบาล : กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4016">http://hdl.handle.net/11228/4016</a>.
.custom.total_download185
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year5
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2105.pdf
ขนาด: 1.462Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย