Temporary Bilateral Hypogastric Artery Occlusion for Minimizing Blood Loss during Abdominal Hysterectomy
dc.contributor.author | ชาลี สโมสร | en_US |
dc.contributor.author | Chalee Samosorn | en_US |
dc.coverage.spatial | ปราจีนบุรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-10-03T08:09:58Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-16T15:55:54Z | |
dc.date.available | 2008-10-03T08:09:58Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-16T15:55:54Z | |
dc.date.issued | 2550 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,3-4 (ต.ค.-ธ.ค. 2550), 2(ต.ค.-ธ.ค. 2550) : 394-402 | en_US |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/401 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเป็นแบบเปรียบเทียบประเมินผลลดการเสียเลือดระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคและไม่ได้ปิดกั้นก่อนทำการผ่าตัดมดลูกทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการผ่าตัดมดลูกทางช่องท้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการผ่าตัดมดลูกทางช่องท้องเพื่อบำบัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกที่โรงพยาบาลกบินทร์บุรี ในช่วงวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2543 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และได้รับการแบ่งกลุ่มโดยวิธีสุ่มแบบง่ายเป็นกลุ่มศึกษา 33 ราย และกลุ่มควบคุม 32 ราย หลังการผ่าตัดมดลูก กลุ่มตัวอย่างถูกคัดออก 5 ราย เนื่องจากพบว่าไม่ใช่เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก เหลือกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการเตรียมผ่าตัด ดูแลขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดด้วยมาตรฐานเดียวกัน กลุ่มศึกษาได้รับการผ่าตัดปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคทั้งคู่ก่อนการผ่าตัดมดลูก และคลายการปิดกั้นหลังตัดมดลูกออกและห้ามเลือดบริเวณผ่าตัดเสร็จ ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความยากง่ายของการผ่าตัดกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาเสียเลือดในขณะผ่าตัด 350.67 ± 140.38 มล. และกลุ่มควบคุมเสียเลือด 572.83 ± 207.82 มล. ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ: ปริมาณเลือดที่ผู้ป่วยกลุ่มศึกษาได้รับก็น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0.13 ± 0.346 กับ 0.63 ± 0.765 หน่วย) ระยะเวลาในการผ่าตัดมดลูกผู้ป่วยกลุ่มศึกษาน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (85.23 ± 17.17 กับ 104.53 ± 16.06 นาที) ค่าฮีมาโทคริต จำนานผ้าอนามัยที่ใช้หลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก, ไข้หลังผ่าตัด, การติดเชื้อ, ภาวะบาดเจ็บต่ออวัยวะอื่น และจำนวนวันนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังผ่าตัด ไม่แตกต่างกันทางสถิติระหว่างกลุ่มผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการผ่าตัดปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคชั่วคราวก่อนการผ่าตัดมดลูก ช่วยลดปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัดโดยไม่มีผลเสียเพิ่มจากการผ่าตัด | th_TH |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.title | การปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคชั่วคราวมีประสิทธิผลลดการเสียเลือดจากการผ่าตัดมดลูก | en_US |
dc.title.alternative | Temporary Bilateral Hypogastric Artery Occlusion for Minimizing Blood Loss during Abdominal Hysterectomy | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The study was undertaken to determine the effectiveness of bilateral hypogastric artery occlusion in minimizing blood loss from abdominal hysterectomy. The subjects under study were patients with myoma uteri who attended the Kabinburi Hospital for surgical intervention in the period August 1, 2000 to July 31, 2007. The patients were divided by simple random sampling into two groups; the initial numbers were 33 in the study group undergoing bilateral hypogastric artery occlusion right before hysterectomy and 32 in the control group with no artery occlusion. After the abdominal hysterectomy, Five patients were excluded after hysterectomy but not the cases of myoma, thus making the patients numbers 30 each in both groups. With the same provision of preoperative, operative and postoperative care for all patients, the procedure of bilateral hypogastric artery occlusion was performed on the study group by the present author just before the uterus removal operation and occlusion release after the hysterectomy was completed and all the bleeders were checked. The results of this study showed no statistically significant differences between the two groups regarding their personal data and the operative outcomes. The average blood loss in the study group was 350.67 ± 140.38 ml, whereas in the control group it was 572.83 ± 207.82 ml; the difference was statistically significant (p < 0.05). The study group received 0.13 ± 0.346 units of blood transfusion during the operation, whereas the control group received 0.63 ± 0.765 units; the difference was statistically significant (p < 0.05). The operative time taken in the study group was 85.23 ± 17.17 minutes compared with 104.53 ± 16.06 minutes in the control group; the difference was statistically significant (p < 0.05). There were no significant differences between the two groups regarding preoperative and the 24-hour postoperative hematocrit levels, the numbers of pads used in the first post- operative days, incidence of postoperative fever or infection, other organ injuries, and the average length of hospital stay post operation. The study was conducted to support the practice of temporary bilateral hypogastric artery occlusion in order to minimize blood loss during abdominal hysterectomy. | en_EN |
dc.subject.keyword | การปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคชั่วคราว | en_US |
dc.subject.keyword | การผ่าตัดมดลูก | en_US |
dc.subject.keyword | Temporary Hypogastric Artery Occlusion | en_US |
dc.subject.keyword | Abdominal Hysterectomy | en_US |
.custom.citation | ชาลี สโมสร and Chalee Samosorn. "การปิดกั้นหลอดเลือดแดงฮัยโปแกสตริคชั่วคราวมีประสิทธิผลลดการเสียเลือดจากการผ่าตัดมดลูก." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/401">http://hdl.handle.net/11228/401</a>. | |
.custom.total_download | 612 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 8 | |
.custom.downloaded_this_year | 85 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 13 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ