Show simple item record

Situation analysis of health-threatening factor, disease control and prevention system according to the state of national health system B.E. 2552 (2009)

dc.contributor.authorฐิติกร โตโพธิ์ไทยth_TH
dc.contributor.authorชมพูนุท ไทยจินดาth_TH
dc.contributor.authorจิราพร ขีดดีth_TH
dc.contributor.authorดารินทร์ อารีย์โชคชัยth_TH
dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลth_TH
dc.contributor.authorทักษพล ธรรมรังสีth_TH
dc.date.accessioned2014-06-04T09:41:02Z
dc.date.available2014-06-04T09:41:02Z
dc.date.issued2556-05-14
dc.identifier.otherhs2067
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4020
dc.description.abstractการทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 หมวดที่ 5 ฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมสถานการณ์โรคและระบบควบคุมป้องกันโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ มีข้อค้นพบ ดังนี้ ข้อค้นพบจาการศึกษาในประเด็นเรื่องสถานการณ์โรคและระบบควบคุมป้องกันโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ คือ โครงสร้างอายุประชากรไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดต่อปี โดยสาเหตุการตายและการเกิดภาระโรคที่พบมากที่สุดคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต โรคติดต่อซึ่งเคยเป็นปัญหาสำคัญในอดีตมีบทบาทลดลงเมื่อเทียบกับโรคไม่ติดต่อ แต่ความซับซ้อนและความรุนแรงกลับเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนเฉพาะหรือตามพื้นที่ เช่น โรคเอดส์ รวมทั้งการกลับมาระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นระยะ การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในปัจจุบัน แม้ภาครัฐจะมีประสบการณ์และมีโครงสร้างรองรับอย่างเป็นระบบ แต่ยังพบข้อจำกัดเรืองของการให้ความรู้ประชาชน ความไม่ชัดเจนในนโยบายและแนวทางของผู้บริหาร ข้อค้นพบในประเด็นเรื่องความท้าทาย โอกาส ภัยคุกคามในระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ โดยอ้างอิงจากสาระในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 พบว่าประเทศไทยมีโอกาสหลายด้านในการรับมือกับปัญหาที่มากขึ้น เริ่มจากการมีแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติทั้งแบบบูรณาการและแบบเฉพาะประเด็นรองรับการขับเคลื่อนเรื่องการควบคุมและปัองกันโรค ซึ่งมีความสอดคล้องกับเอกสารนโยบายที่สำคัญของประเทศฉบับต่างๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 การทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ มีมากขึ้น การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถในการดูแลประชาชนในภาพรวมดีขึ้น ประชาชนมีความตระหนักในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเริ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อส่วนรวม นอกจากโอกาสจากปัจจัยภายในประเทศแล้ว การขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพจากภายนอกประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ ยังเป็นแรงกดดันเชิงบวกต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภายในประเทศด้วย ส่วนภัยคุกคามที่ควรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ กระแสสังคมแบบทุนนิยมและพฤติกรรมของคนในยุคโลกาภิวัฒน์ การพึ่งพิงเทคโนโลยีในชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงการผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเปิดเขตการค้าเสรีที่มากขึ้น ทั้งประชาคมเสรีอาเซียนและ FTA ส่งผลให้เกิดความไม่มีเอกภาพในเรื่องนโยบายสุขภาพของรัฐบาล เพราะได้รับความสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ระบบราชการเป็นโครงสร้างหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพ ปัญหากลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ประเทศได้ง่ายขึ้นในอนาคต นำมาซึ่งการพึ่งพิงด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรคth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคth_TH
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552th_TH
dc.title.alternativeSituation analysis of health-threatening factor, disease control and prevention system according to the state of national health system B.E. 2552 (2009)th_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ฐ332ก 2556
dc.identifier.contactno55-033en_US
dc.subject.keywordระบบสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordธรรมนูญth_TH
dc.subject.keywordปัจจัยคุกคามสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordระบบบริการสุขภาพth_TH
.custom.citationฐิติกร โตโพธิ์ไทย, ชมพูนุท ไทยจินดา, จิราพร ขีดดี, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, วลัยพร พัชรนฤมล and ทักษพล ธรรมรังสี. "การทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552." 2556. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4020">http://hdl.handle.net/11228/4020</a>.
.custom.total_download272
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year6

Fulltext
Icon
Name: hs2067.pdf
Size: 646.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record