• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย; ชมพูนุท ไทยจินดา; จิราพร ขีดดี; ดารินทร์ อารีย์โชคชัย; วลัยพร พัชรนฤมล; ทักษพล ธรรมรังสี;
วันที่: 2556-05-14
บทคัดย่อ
การทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2552 หมวดที่ 5 ฉบับนี้ได้ทำการรวบรวมสถานการณ์โรคและระบบควบคุมป้องกันโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ มีข้อค้นพบ ดังนี้ ข้อค้นพบจาการศึกษาในประเด็นเรื่องสถานการณ์โรคและระบบควบคุมป้องกันโรคและปัจจัยคุกคามสุขภาพ คือ โครงสร้างอายุประชากรไทยกำลังจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ กลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เสียชีวิตมากที่สุดต่อปี โดยสาเหตุการตายและการเกิดภาระโรคที่พบมากที่สุดคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต โรคติดต่อซึ่งเคยเป็นปัญหาสำคัญในอดีตมีบทบาทลดลงเมื่อเทียบกับโรคไม่ติดต่อ แต่ความซับซ้อนและความรุนแรงกลับเพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มคนเฉพาะหรือตามพื้นที่ เช่น โรคเอดส์ รวมทั้งการกลับมาระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่เป็นระยะ การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในปัจจุบัน แม้ภาครัฐจะมีประสบการณ์และมีโครงสร้างรองรับอย่างเป็นระบบ แต่ยังพบข้อจำกัดเรืองของการให้ความรู้ประชาชน ความไม่ชัดเจนในนโยบายและแนวทางของผู้บริหาร ข้อค้นพบในประเด็นเรื่องความท้าทาย โอกาส ภัยคุกคามในระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ โดยอ้างอิงจากสาระในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 พบว่าประเทศไทยมีโอกาสหลายด้านในการรับมือกับปัญหาที่มากขึ้น เริ่มจากการมีแผนยุทธศาสตร์ระดับชาติทั้งแบบบูรณาการและแบบเฉพาะประเด็นรองรับการขับเคลื่อนเรื่องการควบคุมและปัองกันโรค ซึ่งมีความสอดคล้องกับเอกสารนโยบายที่สำคัญของประเทศฉบับต่างๆ โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 การทำงานแบบบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ มีมากขึ้น การกระจายอำนาจจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสามารถในการดูแลประชาชนในภาพรวมดีขึ้น ประชาชนมีความตระหนักในเรื่องของสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและเริ่มมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อส่วนรวม นอกจากโอกาสจากปัจจัยภายในประเทศแล้ว การขับเคลื่อนเรื่องสุขภาพจากภายนอกประเทศ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ ยังเป็นแรงกดดันเชิงบวกต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภายในประเทศด้วย ส่วนภัยคุกคามที่ควรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ กระแสสังคมแบบทุนนิยมและพฤติกรรมของคนในยุคโลกาภิวัฒน์ การพึ่งพิงเทคโนโลยีในชีวิตความเป็นอยู่ รวมไปถึงการผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเปิดเขตการค้าเสรีที่มากขึ้น ทั้งประชาคมเสรีอาเซียนและ FTA ส่งผลให้เกิดความไม่มีเอกภาพในเรื่องนโยบายสุขภาพของรัฐบาล เพราะได้รับความสนใจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ทั้งที่ระบบราชการเป็นโครงสร้างหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสุขภาพ ปัญหากลุ่มแรงงานข้ามชาติที่เข้าสู่ประเทศได้ง่ายขึ้นในอนาคต นำมาซึ่งการพึ่งพิงด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2067.pdf
ขนาด: 646.7Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 0
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 273
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV