dc.contributor.author | ประชาธิป กะทา | th_TH |
dc.contributor.author | Prachatip Kata | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-06-24T02:34:37Z | |
dc.date.available | 2014-06-24T02:34:37Z | |
dc.date.issued | 2557-06-01 | |
dc.identifier.isbn | 9786169055563 | |
dc.identifier.other | hs2114 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4026 | |
dc.description.abstract | หนังสือเล่มนี้ จะเปิดเผยความไม่คงเส้นคงวาและการเปลี่ยนรูป (transformation) ของนโยบายของรัฐไทยที่มีต่อคนพิการภายใต้บริบทการเมืองและเศรษฐกิจในแต่ละยุค อิทธิพลอำนาจวาทกรรมขององค์กรระดับนานาชาติ และหลักการศีลธรรมเชิงสถาบัน (moral institution) ของพุทธเถรวาทที่ร่วมกันสร้างระบอบศีลธรรมและจริยธรรมเกี่ยวกับคนพิการในสังคมไทย ภายใต้ระบอบศีลธรรมและจริยธรรมดังกล่าวนี้ คนพิการกลายมาเป็น“องค์ประธานทางการเมือง” (political subjects) ถูกทำให้เป็นปัญหา (problematized) ทั้งในฐานะประเด็นปัญหาทางการเมืองและศีลธรรม รัฐไทยจำแนกแยกแยะคนพิการผ่านอำนาจองค์อธิปัตย์ (sovereign) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ไม่เพียงคนพิการถูกดึงเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุมสอดส่องของอำนาจรัฐไทยเพื่อเบียดขับออกไปจากสังคม (inclusion-exclusion) (Agamben ๑๙๘๘) กล่าวคือ ชีวการเมือง (biopolitics) จากอำนาจรัฐไทยได้จำแนกแยกแยะคนพิการให้อยู่ในกลุ่มประชากรกลุ่มเดียวกันกับคนขอทาน คนเร่ร่อนจรจัดในเมือง ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ในสายตาของรัฐเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อปัญหาสังคมเมือง ดังนั้น ควรต้องได้รับการกักเก็บไว้ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ ชีวอำนาจ (biopower) ของรัฐไทยยังได้สร้าง “ความเป็นพลเมืองเชิงชีวะ” (biological citizenship) ให้กับคนพิการ (Petryna ๒๐๐๒) กล่าวคือ รัฐอาศัยแง่มุมเชิงชีววิทยา ในกรณีนี้ได้แก่ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายในการเป็นเกณฑ์มาตรฐานกำหนดความเป็นพลเมืองของรัฐที่ควรจะได้รับการช่วยเหลือสงเคราะห์สวัสดิการจากรัฐหรือไม่ นอกจากนั้น จะแสดงให้เห็นว่าชีวการเมืองของรัฐไทยข้างต้นซึ่งมีมุมมองต่อคนพิการในฐานะ “พลเมืองที่ไร้สมรรถภาพ”สอดคล้องกลมกลืนกับความเชื่อเรื่องกรรมและวาทศิลป์ความเมตตากรุณา (rhetoric of compassion) จากหลักการศีลธรรมของพุทธเถรวาทซึ่งเผยแพร่ความเชื่อให้คนพิการต้องยอมรับความพิการของตนเองในฐานะผลกรรมจากชาติปางก่อน ผลลัพธ์ที่ตามมาจากการผสมกลมกลืนของอุดมการณ์ทางการเมืองของรัฐไทยและหลักการศีลธรรมของพุทธเถรวาทข้างต้นคือ คนพิการในฐานะผู้มีบาปและกรรมติดตัวมาแต่กำเนิดควรต้องยอมรับผลกรรมของความพิการของตัวเองในชาตินี้และรอคอยแค่การช่วยเหลือสงเคราะห์จากรัฐในฐานะ “วัตถุแห่งการสงเคราะห์” ในนามมนุษยธรรมเท่านั้น | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | ประวัติศาสตร์ | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | ชีวการเมืองและเรือนร่างพิการ : ประวัติศาสตร์การสร้างพลเมืองที่กํ้ากึ่ง | th_TH |
dc.title.alternative | The biopower and impaired body: The history of ambiguous citizen | en_US |
dc.type | Document | en_US |
dc.identifier.callno | HV1568 ป235ช 2557 | |
dc.identifier.contactno | 54-059 | en_US |
dc.subject.keyword | Biopolitics | en_US |
dc.subject.keyword | ชีวการเมือง | th_TH |
.custom.citation | ประชาธิป กะทา and Prachatip Kata. "ชีวการเมืองและเรือนร่างพิการ : ประวัติศาสตร์การสร้างพลเมืองที่กํ้ากึ่ง." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4026">http://hdl.handle.net/11228/4026</a>. | |
.custom.total_download | 601 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 2 | |
.custom.downloaded_this_year | 8 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |