Show simple item record

The knowledge management of Thai wisdom on health in primary care service system and community health care.

dc.contributor.authorอารีวรรณ ทับทองth_TH
dc.contributor.authorAreewan Tubtongen_US
dc.contributor.authorปารณัฐ สุขสุทธิ์th_TH
dc.contributor.authorParanat Suksuten_US
dc.contributor.authorสุมนมาลย์ สิงหะth_TH
dc.contributor.authorSumonmarn Singhaen_US
dc.coverage.spatialสุราษฎร์ธานี, ศรีษะเกษ, ฉะเชิงเทรา, กำแพงเพชรth_TH
dc.date.accessioned2014-06-24T03:28:09Z
dc.date.available2014-06-24T03:28:09Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.otherhs2115en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4027
dc.description.abstractการจัดการความรู้ภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนมุ่งเน้นการถอดบทเรียนการดำเนินงานแพทย์แผนไทยเป็นรายกรณีศึกษาใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฏร์ธานี จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดลำปาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมประสบการณ์การทำงานด้านภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทตามโจทย์ของแต่ละพื้นที่ และค้นหาปฏิบัติการที่เกิดขึ้นเป็นรายกรณีศึกษาจากระบบงานต่างๆ อาทิ ระบบยาสมุนไพร การจัดบริการ การทำงานกับชุมชน การบริหารจัดการ การส่งต่อ เครื่องมือการทำงาน แนวคิดและนวัตกรรมที่เกิดขึ้น เป็นต้น ๒) เพื่อวิเคราะห์บทเรียนชุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการคิดและดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ และสังเคราะห์บทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามนโยบาย และ ๓) เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และแนวทางพัฒนางานด้านภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทในด้านต่างๆ และนำไปสู่การขยายผลต่อปฏิบัติการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไปได้ ผลการจัดกระบวนการถอดบทเรียนได้ ๓๒ กรณีศึกษา และนำกรณีศึกษาทั้งหมดมาจำแนกตามกรอบของการถอดบทเรียนเป็นกรณีศึกษานั้น มุ่งไปที่การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการแพทย์แผนไทย อันได้แก่ รูปแบบบริการและการรักษา การใช้องค์ความรู้ต่างๆ โดยเน้นงานเชิงระบบ คือ ๑) งานด้านสุขภาพชุมชน 11 กรณีศึกษา ซึ่งมีทั้งการทำงานร่วมกับภาคีภาคส่วนต่างๆ ในชุมชนเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และพัฒนาระบบบริการผสมผสานร่วมกับหมอพื้นบ้าน ๒) ด้านการรักษา และการส่งเสริมสุขภาพ 19 กรณีศึกษา ที่มีการใช้ยาสมุนไพร และการใช้องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยในการรักษาและส่งเสริมสุขภาพ เช่น การนวดแผนไทย การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลหญิงก่อนคลอด-หลังคลอด ๓) การพัฒนาระบบการทำงาน 2 กรณีศึกษา โดยมีการวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อผลักดันงานแพทย์แผนไทย ไปถึงการพัฒนาระบบงานที่เอื้อประโยชน์และมีความคล่องตัวต่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยในชุมชน จากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้พบว่า นโยบายมีผลต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ เช่น กลไกทางการเงินจากระบบหลักประกันสุขภาพที่ทำให้การดำเนินงานแพทย์แผนไทยที่เคยมีมาก่อน เกิดการขยายตัวในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนอย่างรวดเร็ว หรือการผลักดันให้แพทย์แผนไทยปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งนโยบายเหล่านี้ยังมุ่งเน้นให้การดำเนินงานแพทย์แผนไทยมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆในชุมชน ถือว่าเป็นจุดเด่นของงานระบบบริการปฐมภูมิที่สามารถสร้างระบบสุขภาพชุมชน อย่างไรก็ตามการแพทย์แผนไทยที่ถูกพัฒนาระบบมาตรฐานในระบบบริการปฐมภูมิ ยังมีข้อจำกัดหลายด้าน อาทิเช่น การใช้ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยที่ถูกลดทอนไปหลายส่วน ประสบการณ์การทำงานของแพทย์แผนไทยที่ยังมีน้อยและไม่คุ้นเคยกับระบบการทำงานในหน่วยบริการสาธารณสุข การทำงานร่วมกับสหวิชาชีพที่ต้องอาศัยการยอมรับและความเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งมีหลายกรณีศึกษาที่สามารถปรับเปลี่ยนระบบการทำงานให้เหมาะสมตามแต่ละบริบทพื้นที่ ดังนั้น การพัฒนาการแพทย์แผนไทยในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชน จึงควรพัฒนาบทบาทการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานระหว่างสหวิชาชีพ และการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์แผนไทยกับหมอพื้นบ้านที่สามารถหนุนเสริมความรู้ต่อกันได้ โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถมีบทบาทสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานและกิจกรรมดังกล่าว ในด้านระบบบริการและการใช้องค์ความรู้ในการรักษาและการส่งเสริมสุขภาพยังถูกจำกัดแค่เพียง การนวด การใช้สมุนไพร แต่ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกหน่วยบริการสามารถคีย์ข้อมูลผ่านระบบเพื่อสามารถเบิกเงินจากระบบหลักประกันสุขภาพได้ ดังนั้นควรหนุนเสริมให้แพทย์แผนไทย ได้ใช้ความรู้ที่หลากหลายตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพในการดูแลสุขภาพ โดยที่มีหน่วยงานกลางให้การสนับสนุนให้บุคลากรเหล่านี้ได้พบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อข้อมูลระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน หรือหมอพื้นบ้านเพื่อเกิดประโยชน์กับสุขภาพผู้ป่วย สำหรับด้านการพัฒนาระบบการทำงาน เนื่องจากนโยบายที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้งอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ทำให้เกิดความสับสนต่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ มีกรณีศึกษาบางพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ในระดับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือสำนักงานสาธารณสุขระดับอำเภอที่เกี่ยวข้องกับงานแพทย์แผนไทย คอยติดตามและประสานนโยบายสู่พื้นที่ เปิดโอกาสให้ได้แลกเปลี่ยนการทำงาน ปัญหาและอุปสรรค กับแพทย์แผนไทยรุ่นใหม่ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การทำงานแพทย์แผนไทยมีประสิทธิภาพที่ดี เจ้าหน้าที่ในระดับจังหวัดและในระดับอำเภอ จึงควรมีบทบาทการประสานและจัดเวทีแลกเปลี่ยนการทำงาน จึงจะสามารถพัฒนาระบบงานต่างๆ ต่อไปได้ดียิ่งขึ้นth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการจัดการความรู้th_TH
dc.subjectKnowledge Managementen_US
dc.subjectภูมิปัญญาth_TH
dc.subjectบริการปฐมภูมิth_TH
dc.subjectสุขภาพชุมชนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดการความรู้ภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชนth_TH
dc.title.alternativeThe knowledge management of Thai wisdom on health in primary care service system and community health care.en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB925 อ611ก 2557
dc.identifier.contactno54-059en_US
.custom.citationอารีวรรณ ทับทอง, Areewan Tubtong, ปารณัฐ สุขสุทธิ์, Paranat Suksut, สุมนมาลย์ สิงหะ and Sumonmarn Singha. "การจัดการความรู้ภูมิปัญญาสุขภาพวิถีไทในระบบบริการปฐมภูมิและระบบสุขภาพชุมชน." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4027">http://hdl.handle.net/11228/4027</a>.
.custom.total_download809
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year20
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs2115.pdf
Size: 1.763Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record