• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การสำรวจสถานภาพความรู้ เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา

ศิริวรรณ ลาภสมบูรนานนท์; Siriwan lapsomburananon;
วันที่: 2557-01-31
บทคัดย่อ
หากคิดรวบยอดว่า กระบวนการรักษาคือการแปลความหมายของอาการเจ็บป่วยให้เข้าใจได้ ดังนี้แล้ว“เรื่องเล่า” จึงเกี่ยวข้องกับการแพทย์อย่างแยกจากกันไม่ได้ เพราะ “เรื่องเล่า” เป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจสาเหตุและอาการของความเจ็บป่วยระหว่างผู้ป่วยที่รับการรักษากับแพทย์ผู้ให้การรักษา การแพทย์ตั้งแต่ครั้งอดีตกาล ตั้งแต่ในสังคมชนเผ่า ก็ใช้ “เรื่องเล่า” ซึ่งอาจจะเป็นตำนาน เทพนิยาย หรือสร้างตัวแทนสมมติให้เป็นรูปธรรม มาเป็นคำอธิบายอาการเจ็บไข้ได้ป่วย จวบจนกระทั่งการแพทย์สมัยใหม่ ก็ยังต้องใช้“เรื่องเล่า” ซึ่งเปลี่ยนโฉมไปเป็นคำอธิบายทางการแพทย์ที่รับรองได้ด้วยผลการตรวจทางวิทยาศาสตร์แทน หากแต่ด้วยความคิดในเชิงปฏิฐานนิยมและการวัดผลที่ต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนที่ครอบงำการแพทย์สมัยใหม่นี้เอง กลับทำให้ลดทอนคุณภาพของกระบวนการรักษา เพราะทุกอย่างต้องสามารถแสดงผลได้ผ่านตัวเลขและการประเมินคุณค่าที่ตรวจสอบได้ด้วยหลักฐาน จนลืมการใส่ใจให้กับมิติของความเป็นมนุษย์ ทั้งที่กระบวนการรักษาเป็นกระบวนการที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ที่ใกล้ชิดกันมากที่สุดอย่างหนึ่ง ในต่างประเทศ โดยเฉพาะฝั่งอังกฤษและอเมริกา ได้มีความพยายามรื้อฟื้นการนำฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการของเรื่องเล่าเข้ามาปรับใช้กับกระบวนการรักษา ซึ่งอาจเรียกโดยรวมได้ว่า narrative medicine หรือ “เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา” โดยมีจุดสำคัญในการศึกษา เผยแพร่ ตลอดจนผลักดันให้เกิดการเรียนการสอน ก็เพื่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจและความใส่ใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการในกระบวนการรักษา เนื่องจากการบรรลุเป้าหมายในการรักษาไม่ใช่การเอาชนะโรคภัยได้อย่างเด็ดขาด เพราะหากยึดถือเช่นนั้นแล้ว การรักษาผู้ป่วยจะเป็นเพียงแค่การประลองกำลังความสามารถระหว่างแพทย์กับปริศนาโรคร้าย บ่อยครั้งที่การต่อสู้นั้นกลับกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้รักษาและผู้รับการรักษา เนื่องจากความตึงเครียดในการหวังผลสำเร็จเท่านั้น การศึกษา “เรื่องเล่า” เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความเจ็บป่วยและการรักษาร่วมกัน ถือได้ว่าเป็นการ “สงบศึก” เป็นการทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสันติและเป็นสุขที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้รักษาเองก็ได้เรียนรู้ชีวิตของมนุษย์ที่ไม่ใช่แค่ตัวโรคที่รักษาอยู่ สังคมรอบข้างก็ได้รับรู้ถึงความอาทรต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การศึกษา narrative medicine จึงไม่ใช่แค่ “เครื่องมือหรือวิธีการ” ในการรับรู้หรือเข้าถึงความเจ็บป่วยเท่านั้น แต่กระบวนการของเรื่องเล่านั้นเองที่จะเป็น “เป้าหมาย” ในการเยียวยารักษาโดยตัวเองอีกด้วย ในสังคมไทย ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ พยายามนำเสนอ Narrative Medicine เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขหวนกลับไปสู่ “การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์” อีกครั้ง โดยนำเสนอแนวคิดเรื่องนี้ผ่านปาฐกถาและบทความ ต่อมาได้ร่วมกับสถานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน (สรพ.) และสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ จัดการอบรมปฏิบัติการเวชปฏิบัติเรื่องเล่ากับการเรียนรู้(Narrative Medicine Workshop: Learning Through Stories) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีผู้เข้าร่วมอบรมและกลับไปดำเนินงานสานต่อแนวคิดนี้อีกจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นความรู้ในภาคปฏิบัติเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่อาจนำเสนอตัวบททฤษฎีที่สำคัญๆ อันจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการศึกษาทางวิชาการได้ โครงการวิจัย เรื่อง การสำรวจสถานภาพความรู้ “เรื่องเล่าเพื่อการเยียวยา” (narrative medicine) จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมความรู้และความเข้าใจในแนวความคิดเรื่อง narrative medicine ให้แข็งแกร่งในเชิงวิชาการมากขึ้น ทั้งยังเป็นฐานการศึกษาที่สำคัญซึ่งจะทำให้เกิดการต่อยอดและขยายผลของการศึกษานี้ให้งอกงามขึ้นในสังคมไทยต่อไป
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2117.pdf
ขนาด: 733.5Kb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 2
ปีพุทธศักราชนี้: 0
รวมทั้งหมด: 128
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2469]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV