Show simple item record

The study of Thai wisdom on health: The local knowledge and health culture in Asian Society.

dc.contributor.authorเทพินทร์ พัชรานุรักษ์th_TH
dc.contributor.authorThapin Phatcharanuruken_US
dc.contributor.authorทวีศักดิ์ เผือกสมth_TH
dc.contributor.authorDavisakd Puaksomen_US
dc.contributor.authorเสถียร ฉันทะth_TH
dc.contributor.authorSatian Chuntaen_US
dc.contributor.authorบุษบงก์ วิเศษพลชัยth_TH
dc.contributor.authorสุรสม กฤษณะจูฑะth_TH
dc.contributor.authorSurasom Krisnachutaen_US
dc.contributor.authorอรัญญา ศิริผลth_TH
dc.contributor.authorAranya Siriphonen_US
dc.contributor.authorฆัสรา มุกดาวิจิตรth_TH
dc.contributor.authorBussabong Wisetpholchaien_US
dc.contributor.authorKhatsara Khamawan Mukdawichiten_US
dc.date.accessioned2014-06-25T03:14:53Z
dc.date.available2014-06-25T03:14:53Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.otherhs2118en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4030
dc.description.abstractโครงการนี้ริเริ่มขึ้นเพื่อจัดทำหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เรียกว่า Introductory Book เป็นหนังสือเล่มแรกๆ ที่จะให้ความรู้ความเข้าใจอย่างที่ไม่สามารถหาอ่านได้จากเล่มอื่น เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ในมิติทางสังคมวัฒนธรรม รวมถึงประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน โดยการศึกษาทบทวนความรู้จากงานเอกสารวิชาการที่มีอยู่แล้ว ประกอบกับการวิเคราะห์ของนักวิจัย ผู้มีพื้นฐานแนวคิดและประสบการณ์งานวิจัยในประเทศนั้นๆ มาก่อน จึงมาร่วมเขียนบทความกับโครงการนี้ โดยรวบรวมข้อมูลความรู้จัดทำเอกสารและรายนามบุคคลสำคัญๆ ของประเทศพม่า ลาว เวียดนาม เขมร อินโดนีเซีย และไทยไว้เป็นแหล่งสืบค้นและสร้างความร่วมมือการทำงานต่อไป คณะนักวิจัยได้เตรียมการและวางโครงร่างของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย 8 บทความด้วยกัน คือ บทนำ ให้ความรู้ภาพรวมของสถานภาพความรู้ของประเทศต่างๆ ในอาเซียน บทความแรก เรื่อง ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์การแพทย์และการแพทย์พื้นบ้านในอินโดนีเซีย โดย ดร. ทวีศักดิ์ เผือกสม นักประวัติศาสตร์ ผู้สนใจเรื่องของอินโดนีเซียและมีพื้นฐานความรู้ที่ดีอยู่แล้ว ดร.ทวีศักดิ์ ได้ review เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์พื้นบ้านของประเทศอินโดนีเซีย และเขียนออกมาอย่างละเอียดโดยใช้เอกสารด้านประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่จำนวนมาก บทความที่สอง เรื่อง วิถีสุขภาพของคนไตดำในเวียดนามบนกระแสความเปลี่ยนแปลง โดยอาจารย์ฆัสรา ขมะวรรณ มุกดาวิจิตร ผู้มีประสบการณ์งานศึกษาวิจัยที่เวียดนาม ศึกษาเรื่อง”ขวัญ”กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มชนชาวไตดำที่ประเทศเวียดนาม สนใจต่อวิกฤตสุขภาพของคนไตดำในเวียดนาม ตอนหลังขยายสู่เรื่องของการแพทย์ระบบอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กันกับการดูแลรักษาสุขภาพของคนที่นั่น บทความที่สาม เรื่อง ชลองโตนเล: การดำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้านในการคลอดและการดูแลหลังคลอดในประเทศกัมพูชา กรณีศึกษา จังหวัดสีหนุวิลล์ ประเทศกัมพูชาโดย นางบุษบงก์ วิเศษพลชัย ศึกษาทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและทำงานภาคสนามทีสีหนุวิลล์ เวลาเกือบ ๑ ปี เรื่องสุขภาพของผู้หญิงชาวกัมพูชา จึงมีความสนใจศึกษาการดำรงอยู่ของการแพทย์พื้นบ้าน กรณีการคลอดและการดูแลหลังคลอดของชาวกัมพูชา ที่สีหนุวิลล์ พบหมอพื้นบ้านที่ยังมีบทบาทอยู่หลายประเภท และยังพบการใช้ประโยชน์ของชาวกัมพูชา ตัวอย่าง เรื่องของ “ชาหมอบโบราณ” “ครูบารเมย” ซึ่งมีสถานการณ์คล้ายคลึงกับหมอตำแยเมืองไทยอยู่ด้วย บทความที่สี่ เรื่อง “บ้าน/เรือน” กับโลกทัศน์ทางสุขภาพของคนอุษาคเนย์ โดย ดร. เสถียร ฉันทะ ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบ้านที่เมืองเว้กับบ้านเรือนชาวไทยที่เมืองเชียงตุงในเชิงวิถีวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกัน ในเชิงความหมายและสัญลักษณ์ทางประเพณีพิธีกรรม บทความที่ห้า เรื่อง การค้าสมุนไพรชายแดนไทย ลาว กัมพูชา : ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านท้องถิ่นชาตินิยมสู่ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านในกระแสโลก โดย ดร.สุรสม กฤษณะจูฑะ โดยการศึกษาผ่านเส้นทางของมะขามป้อม ว่าการพัฒนาสมุนไพรพื้นบ้านไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม และเส้นทางค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ไอหรืออะไรต่าง ๆ ที่ใช้ยาสมุนไพรมะขามป้อมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงภูมิปัญญาอย่างไร หรือแสดงถึงการแพร่กระจายความรู้มากขึ้นหรือเป็นเรื่องของการค้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวแปรไทยลาว และกัมพูชา บทความที่หก เรื่อง คนริมทางสาย R3A: กรณีศึกษาลาวตอนเหนือโดย ดร.อรัญญา ศิริผล ได้ศึกษาเรื่องของโลภาภิวัตน์กับประเทศจีนมามาก จึงทำการศึกษาภาวะสุขภาพของชีวิตผู้คนที่อยู่ริมถนน R3A เป็นชุมชนบนถนนของชาวฮัมบุ ที่แสดงให้เห็นผลกระทบของนโยบายรัฐแบบข้ามชาติ กับการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ ที่ทำให้ประชาชนกลายเป็นผู้ที่เป็นชุมชนชายขอบ ไร้ที่ทำกินของตนเอง สูญเสียอาชีพและวิถีวัฒนธรรมที่จะหล่อเลี้ยงความมีตัวตน บทความที่เจ็ด เรื่อง การพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านพม่า: มาตรฐานการรักษาและโอกาสของคนจน โดย ดร.เทพินทร์ พัชรานุรักษ์เป็นเรื่องการแพทย์พื้นบ้านพม่าในภาวะทันสมัย ซึ่งได้พบอิทธิพลของความทันสมัยกับแนวคิดความเป็นวิทยาศาสตร์ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบการแพทย์ท้องถิ่น โดยการ manipulate ของรัฐth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภูมิปัญญาท้องถิ่นth_TH
dc.subjectการแพทย์พื้นบ้านth_TH
dc.subjectวัฒนธรรมเอเชียth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการศึกษาภูมิปัญญาสุขภาพ เรื่อง ความรู้ท้องถิ่นและวัฒนธรรมสุขภาพกับสังคมอาเซียนth_TH
dc.title.alternativeThe study of Thai wisdom on health: The local knowledge and health culture in Asian Society.en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB925 พ635ก 2557
dc.identifier.contactno54-059en_US
dc.subject.keywordความรู้ท้องถิ่นth_TH
dc.subject.keywordวัฒนธรรมสุขภาพth_TH
.custom.citationเทพินทร์ พัชรานุรักษ์, Thapin Phatcharanuruk, ทวีศักดิ์ เผือกสม, Davisakd Puaksom, เสถียร ฉันทะ, Satian Chunta, บุษบงก์ วิเศษพลชัย, สุรสม กฤษณะจูฑะ, Surasom Krisnachuta, อรัญญา ศิริผล, Aranya Siriphon, ฆัสรา มุกดาวิจิตร, Bussabong Wisetpholchai and Khatsara Khamawan Mukdawichit. "การศึกษาภูมิปัญญาสุขภาพ เรื่อง ความรู้ท้องถิ่นและวัฒนธรรมสุขภาพกับสังคมอาเซียน." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4030">http://hdl.handle.net/11228/4030</a>.
.custom.total_download1060
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year8
.custom.downloaded_fiscal_year19

Fulltext
Icon
Name: hs2118.pdf
Size: 4.966Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record