แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม

dc.contributor.authorเกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพลth_TH
dc.contributor.authorกุศล สุนทรธาดาth_TH
dc.contributor.authorเสาวภา พรสิริพงษ์th_TH
dc.contributor.authorวิราพรรณ วิโรจน์รัตน์th_TH
dc.contributor.authorพัตธนี วินิจจะกูลth_TH
dc.contributor.authorวราพร ศรีสุพรรณth_TH
dc.contributor.authorสุพัตรา ศรีวณิชชากรth_TH
dc.contributor.authorKriengsak Thamma-Aphipholen_US
dc.contributor.authorKusol Soonthorndhadaen_US
dc.contributor.authorSaowapa Pornsiripongseen_US
dc.contributor.authorVirapun Wirojratanaen_US
dc.contributor.authorPattanee Winichagoonen_US
dc.contributor.authorWaraporn Srisupanen_US
dc.contributor.authorSupattra Srivanichakornen_US
dc.date.accessioned2014-07-17T07:47:48Z
dc.date.available2014-07-17T07:47:48Z
dc.date.issued2557-06
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557) : 120-131th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4066
dc.description.abstractการวิจัยนี้ ใช้เทคนิคการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมของกลไกต่างๆ ในชุมชน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จิตอาสา ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน พระ ครู ผู้ดูแลในครอบครัว และคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล จากหลายคณะ/สถาบันฯ ที่มีความเชียวชาญในสหวิทยาการ ทั้งทางด้านสาธารณสุขมูลฐาน โภชนาการ การพยาบาล-การดูแลผู้สูงอายุ ด้านประชากร สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งทีมวิจัยพื้นที่ 8 ตำบล ใน 4 อำเภอ ของจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี กระบวนการวิจัย แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การเตรียมชุมชน เตรียมคน และเตรียมเครือข่ายการทำงาน ทั้งผู้สูงอายุและกลไกต่างๆ ในชุมชนเพื่อให้ได้แกนนำชุมชนอย่างแท้จริง 2) การประเมินสถานการณ์ปัญหาความต้องการของผู้สูงอายุ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามกับผู้สูงอายุโดยทีมวิจัย 3) การประเมินบทบาทหน้าที่และศักยภาพของกลไกต่างๆ ในการดูแลผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและสนทนากลุ่มตามแนวคำถามที่กำหนดไว้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานบริการสุขภาพ องค์กรชุมชน องค์กรอื่นๆ ครอบครัวและคนในชุมชน 4) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสะท้อนกลับให้ชุมชน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และออกแบบโครงการ/กิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 5) การพัฒนาต่อยอดโครงการ/กิจกรรมให้ตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง 6) การเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ วิพากษ์ข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหลากหลายจากบุคคลภายในและภายนอกโครงการ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาต่อยอดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยแบบบูรณาการครั้งนี้ คือ การดูแลผู้สูงอายุในลักษณะองค์รวม ควรให้ครอบคลุมการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ โภชนาการที่เหมาะสม และการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า การพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุที่มีความต้องการรายได้เพิ่มเติม และการรักษา/ส่งเสริมคุณค่าผู้สูงอายุที่สอดคล้อง ครอบคลุมผู้สูงอายุทุกกลุ่ม/วัย โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่เมือง-ชนบท และสังคมวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดูแลผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน ภายใต้การจัดการเครือข่ายความร่วมมือของกลไกต่างๆ ทั้งจากในและนอกชุมชนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.titleการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมth_TH
dc.title.alternativeParticipatory Action Research on the Holistic Care Model for the Elderlyen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThis is a participatory action research on the Holistic Care Model Development for the Elderly of mechanisms involving Local Administrative Organizations, sub-district health promoting hospital, volunteer, elderly, community leader, monks, teachers, caregivers and community people to share their knowledge with the Mahidol University research team and the local research team in eight sub-districts of Nakhon Pathom and Kanchanaburi provinces. The process was divided into 6 steps: 1) community preparation 2) the elderly-need assessment 3) Assessment of potential mechanisms 4) Community feedback 5) Additional activity development 6) Public data dissemination.We found that the holistic care model for the elderly should cover health surveillance and care for the depressed, continuous development of occupation for the elderly, distinguishing selection in urban and rural areas, coverage of every elderly group, and the networking mechanism in the communityen_US
.custom.citationเกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล, กุศล สุนทรธาดา, เสาวภา พรสิริพงษ์, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, พัตธนี วินิจจะกูล, วราพร ศรีสุพรรณ, สุพัตรา ศรีวณิชชากร, Kriengsak Thamma-Aphiphol, Kusol Soonthorndhada, Saowapa Pornsiripongse, Virapun Wirojratana, Pattanee Winichagoon, Waraporn Srisupan and Supattra Srivanichakorn. "การวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4066">http://hdl.handle.net/11228/4066</a>.
.custom.total_download8016
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month17
.custom.downloaded_this_year373
.custom.downloaded_fiscal_year49

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v8n2 ...
ขนาด: 398.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย