การโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแล
dc.contributor.author | สรีรโรจน์ สุกมลสันต์ | th_TH |
dc.contributor.author | วรรณา ศรีวิริยานุภาพ | th_TH |
dc.contributor.author | วิทยา กุลสมบูรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sareerarote Sukamolson | en_US |
dc.contributor.author | Wanna Sriviriyanuparp | en_US |
dc.contributor.author | Vithaya Kulsomboon | en_US |
dc.date.accessioned | 2014-07-17T08:54:06Z | |
dc.date.available | 2014-07-17T08:54:06Z | |
dc.date.issued | 2557-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557) : 210-220 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4069 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในประเทศไทยเปรียบเทียบกับเกณฑ์การโฆษณาของกรมประชาสัมพันธ์ ปี พ.ศ. 2551 ด้วยการวิเคราะห์การโฆษณาตรงและโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก (รายการที่มีการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ “ป”, “ด” และ “ท” ที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายเด็ก) ทางสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีช่อง 3, 5, 7 และ 9 ที่ได้จากการบันทึกเทปทุกวันระหว่างวันที่ 18 กันยายน -8 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ในด้านระยะเวลา ความถี่ รูปแบบชนิดสินค้าในการโฆษณา อ้างอิงเปรียบเทียบกับประกาศกรมประชาสัมพันธ์ เรื่อง “หลักเกณฑ์และระยะเวลาสำหรับการโฆษณาและบริการธุรกิจทางวิทยุโทรทัศน์ที่มีผลกระทบต่อเด็ก” วันที่ 18 มกราคม2551 ก่อนที่พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 จะมีผลใช้บังคับ ผลการศึกษาพบว่า จากรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กรวมทั้งสิ้น 39 รายการ พบรายการที่โฆษณาเกินกว่าเวลาที่กำหนด 25 รายการ (ร้อยละ 64 ) และที่มีสัดส่วนเวลาการโฆษณาที่มีผลกระทบต่อเด็กเกินกึ่งหนึ่งของเวลาโฆษณา 15 รายการ (ร้อยละ 38) ทั้งนี้ ไม่มีรายการใดที่จัดให้มีเวลาสำหรับเนื้อหาเพื่อการเรียนรู้การโภชนาการรวมทั้งยังมีการโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อื่นๆที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว ส่วนการโฆษณาขนม 5 ชนิดที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศให้มีการแสดงคำเตือนในการบริโภคแก่เด็ก พบว่า ยังไม่มีการปฏิบัติตามในสินค้าจำนวน 8 รายการ นอกจากนี้ ยังพบการโฆษณาแฝงร้อยละ 82 ซึ่งส่วนใหญ่พบการโฆษณาแฝงมากกว่าหนึ่งวิธี แม้ว่าการโฆษณาขนมในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กยังไม่เป็นไปตามประกาศกรมประชาสัมพันธ์ฯแต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในปีก่อนหน้าการออกประกาศ พบว่า ระยะเวลาและความถี่ในการโฆษณาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูในกิจการโทรทัศน์ ควรดำเนินการพิจารณาให้มีการบังคับใช้ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ดังกล่าวเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นการบรรเทาผลกระทบด้านลบจากสื่อที่กำลังส่งผลอย่างรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในขณะนี้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | รายการโทรทัศน์ | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภค | th_TH |
dc.subject | เยาวชน | th_TH |
dc.subject | การโฆษณา | th_TH |
dc.title | การโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแล | th_TH |
dc.title.alternative | Assessing Food Advertising on Children’s Television Program: Policy Recommendation for Regulation | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | We aim to examine the food advertising in children’s television programs based on Notification of the Public Relations Department Announcement on “Criteria and duration of time for advertising on radio and television that may have an impact on children”, dated 18 January 2008, and to propose policy recommendation in regulating food advertising in children’s television programs in Thailand. The study on advertising during children’s programs in free TV on 18th September- 8th October 2010 was conducted to identify the duration, frequency, technique and strategy used for advertising, and type of products advertised based on the previously mentioned Notification. 25 (64%) of 39 of children’s programs advertised more than 10 minutes per hour. Of the 39 children’s programs, 15 (38%) had half of their advertising time that could have an effect on children. Technique and strategy used for advertising did not follow the criteria in the Notification. Eight products no warning to consumers to children announced by the Food and Drug Administration regulation. 82 percent of children’s television programs had indirect advertorial. Advertising in children’s television still did not follow the Notification of the Public Relations Department Announcement. The duration and frequency that were in violation of the Notification decreased from the year before. The Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBCT) should establish new regulations to protect children and enforce compliance from the media. | en_US |
.custom.citation | สรีรโรจน์ สุกมลสันต์, วรรณา ศรีวิริยานุภาพ, วิทยา กุลสมบูรณ์, Sareerarote Sukamolson, Wanna Sriviriyanuparp and Vithaya Kulsomboon. "การโฆษณาในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการกำกับดูแล." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4069">http://hdl.handle.net/11228/4069</a>. | |
.custom.total_download | 1005 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 158 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 11 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ