Show simple item record

การคาดการณ์ความต้องการและการวางแผนกำลังคนสำหรับระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน

dc.contributor.authorนงลักษณ์ พะไกยะth_TH
dc.contributor.authorพุดตาน พันธุเณรth_TH
dc.contributor.authorเสกสรรค์ มานวิโรจน์th_TH
dc.contributor.authorอติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์th_TH
dc.contributor.authorอุ่นใจ เครือสถิตย์th_TH
dc.contributor.authorประวีณ นราเมธกุลth_TH
dc.contributor.authorวัลภา ภาวะดีth_TH
dc.date.accessioned2014-10-02T03:30:56Z
dc.date.available2014-10-02T03:30:56Z
dc.date.issued2557
dc.identifier.otherhs2140
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4207
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงบริบทของประเทศและนโยบายต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อกำลังคนของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและระบาดวิทยา ส่งผลให้การเจ็บป่วยด้านอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ นโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน" นโยบายประชาคมอาเซียน นโยบายการเป็นศูนย์กลางการแพทย์นานาชาติ ซึ่งเหล่านี้เป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความต้องการกำลังคนของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นและมีการกระจายอย่างเป็นธรรม นอกจากนั้น พรบ.การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการมีภาคีด้านท้องถิ่นเข้ามาร่วมในการจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ในขณะที่สถานการณ์กำลังคนของระบบการแพทย์ฉุกเฉินในปัจจุบันพบว่ามีปัญหาหลัก ๆ ดังนี้ (1) การขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (EP) ในขณะที่การผลิต EP ในแต่ละปีมีจำนวนน้อยไม่สอดรับกับความต้องการของระบบ (2) การกระจายกำลังคนที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะ EP ซึ่งประมาณเกือบครึ่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเพียงส่วนน้อยที่กระจายอยู่ในต่างจังหวัดซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ นอกจากนั้นสำหรับโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์ของกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนแพทย์ EP น้อย (3) ปัญหาด้านคุณภาพและทักษะการให้บริการในด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (4) การขาดมาตรการที่เหมาะสมทั้งด้านการเงิน และมาตรการนอกเหนือจากตัวเงินในการธำรงกำลังคนในระบบ ข้อเสนอแนะต่อการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ดังนี้ 1) เพิ่มการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอ โดยเฉพาะ EP และกระจายการผลิตไปสู่มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค 2) ให้มีการจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินและกระจายกำลังคนของระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างเป็นธรรม โดยจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในเครือข่ายบริการ และจัดกำลังคนโดยเฉพาะ EP รวมไว้ในศูนย์บริการหลัก พร้อมจัดระบบสนับสนุนโรงพยาบาลในเครือข่าย และจัดระบบคัดแยกผู้ป่วยเพื่อลดภาระงานของแผนกฉุกเฉิน 3) ดำเนินการมาตรการต่าง ๆ ในการธำรงกำลังคนระบบการแพทย์ฉุกเฉินไว้ในระบบ ทั้งแรงจูงใจที่เป็นตัวเงิน และนอกเหนือจากตัวเงินth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการพยาบาลฉุกเฉินth_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleการคาดการณ์ความต้องการและการวางแผนกำลังคนสำหรับระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoWX215 น148ก 2557
.custom.citationนงลักษณ์ พะไกยะ, พุดตาน พันธุเณร, เสกสรรค์ มานวิโรจน์, อติพันธ์ สุวัฒน์เมฆินทร์, อุ่นใจ เครือสถิตย์, ประวีณ นราเมธกุล and วัลภา ภาวะดี. "การคาดการณ์ความต้องการและการวางแผนกำลังคนสำหรับระบบบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4207">http://hdl.handle.net/11228/4207</a>.
.custom.total_download388
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year32
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs2140.pdf
Size: 1.724Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record