แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การตอบสนองของโรงพยาบาลต่อนโยบายห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

dc.contributor.authorนิลวรรณ อยู่ภักดีth_TH
dc.contributor.authorNilawan Upakdeeen_US
dc.contributor.authorสิริมาส ปานแสงth_TH
dc.contributor.authorSirimas Pansangen_US
dc.date.accessioned2014-10-30T09:31:11Z
dc.date.available2014-10-30T09:31:11Z
dc.date.issued2557-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,3 (ก.ค.-ก.ย. 2557) : 230-237th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4216
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการตอบสนองของโรงพยาบาลต่อนโยบายห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีน ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ โดยส่งแบบสำรวจมูลค่าและปริมาณการสั่งใช้ยาก่อนและหลังนโยบายฯ 6 เดือน ไปยังโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ จำนวน 107 แห่ง และประชุมกลุ่มหัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อเภสัชกรที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฯ ในโรงพยาบาล 11 แห่ง และรวบรวมเอกสารข้อร้องเรียนของผู้ป่วยจากกรมบัญชีกลาง นำข้อมูลจากโรงพยาบาล 58 แห่ง (ร้อยละ 54) มาวิเคราะห์ พบมูลค่าสั่งใช้ยารวม 185 ล้านบาทในช่วงก่อนเริ่มนโยบายฯ 6 เดือน และภายหลังเริ่มนโยบายฯไปได้ 6 เดือนพบมูลค่าการสั่งใช้รวม 27 ล้านบาท ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 158 ล้านบาท (ร้อยละ 85 ของมูลค่าก่อนเริ่มนโยบายฯ) และสามารถลดค่าใช้จ่ายของยาต้นแบบได้มากกว่ายาสามัญ ในด้านข้อมูลจากการประชุมกลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่ากลุ่มโรงพยาบาลที่ตัดกลูโคซามีนออกจากบัญชียา ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาลและผู้บริหารโรงพยาบาลหรือแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ขณะที่กลุ่มโรงพยาบาลที่ยังคงกลูโคซามีนอยู่ในบัญชียา เนื่องจากไม่เข้าใจถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ของกลูโคซามีนที่ระบุว่าไม่คุ้มค่าทางการแพทย์ สำหรับในด้านข้อร้องเรียนนั้น ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งเห็นว่า นโยบายนี้เป็นการผลักภาระให้ประชาชนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เป็นการลิดรอนสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล และไม่เข้าใจว่าทำไมกลูโคซามีนที่มีข้อบ่งใช้ในโรคข้อเสื่อมแต่กลับเบิกไม่ได้ การศึกษานี้ทำให้ทราบถึงผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ป่วย รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินนโยบายฯth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกลูโคซามีนth_TH
dc.subjectGlucosamineen_US
dc.subjectข้อเสื่อมth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectสวัสดิการในโรงพยาบาลth_TH
dc.titleการตอบสนองของโรงพยาบาลต่อนโยบายห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการth_TH
dc.title.alternativeResponsiveness to glucosamine negative list policy of civil servant medical benefit schemeen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to assess the hospital response to policy implementation of the Glucosamine (GS) negative list. This study comprised both quantitative and qualitative approaches. A survey form of quantity and expenditure of GS 6 months before and after policy implementation was sent out to provincial hospitals, general hospitals and teaching hospitals (107 hospitals). A qualitative approach included focus group discussion with head pharmacists of 11 teaching hospitals, in-depth interview with pharmacists who deal with this policy, and an evaluation of patient’s written complaints sent to Comptroller General’s Department (CGP). Completed data from 58 hospitals (54%) were analyzed. The total drug expenditure 6 months before policy implementation was 185 million Baht, and total drug expenditure 6 months after policy implementation was 27 million Baht. Total drug expenditure saving was 158 million Baht, or 85% of total drug expenditure before policy implementation. It appeared that this policy reduced the expenditure of original drug than generic/local drug. Results from focus group discussion and in-depth interviews showed that hospitals which succeeded in excluding GS from their list because of the decision of the pharmacy and therapeutic committee and hospital boards or authorized physicians. On the other hand, hospitals that still retained GS in their list because they did not understand the evidence which indicated that this drug was not cost-effective. An evaluation of patients’ complaints revealed their perceptions as follows: GS are not reimbursable even this drug was indicated for joint disorders, the policy seems to force patients to responsible for their drug expenditure and policy seems to be cut off the subsidy for CSMBS beneficiaries. The results of this study showed the impact of this policy on both health care providers and patients, and unveiled the problems and burden associated with the policy.en_US
.custom.citationนิลวรรณ อยู่ภักดี, Nilawan Upakdee, สิริมาส ปานแสง and Sirimas Pansang. "การตอบสนองของโรงพยาบาลต่อนโยบายห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนในระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4216">http://hdl.handle.net/11228/4216</a>.
.custom.total_download830
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year94
.custom.downloaded_fiscal_year15

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v8n3 ...
ขนาด: 163.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย