สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กที่มารับบริการ ณ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
dc.contributor.author | บุญศักดิ์ หาญเทอดสิทธิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Boonsak Hanterdsith | en_US |
dc.contributor.author | จรุงศรี แดนขุนทด | th_TH |
dc.contributor.author | Charungsri Deankhuntod | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-02-02T08:25:42Z | |
dc.date.available | 2015-02-02T08:25:42Z | |
dc.date.issued | 2557-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 8,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2557) : 329-343 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4235 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันมีนโยบายเร่งด่วนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อบูรณาการจัดการปัญหาเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ซึ่งยุทธศาสตร์หนึ่ง คือ พัฒนาระบบรายงานข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ในการจัดการปัญหาต่อไป การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและลักษณะของเด็กถูกกระทำรุนแรงที่เข้ารับบริการ ณ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ผลการศึกษา พบว่าระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๕ มีผู้ป่วยเด็กจำนวน ๔๓๗ ราย เป็น เพศหญิง ๔๑๒ ราย เพศชาย ๒๕ ราย อายุระหว่าง ๔ วัน ถึง ๑๗ ปี ๑๐ เดือน สาเหตุหลักที่เข้ารับบริการ คือ การกระทำทางเพศและทางร่างกาย ซึ่งส่วนมากถูกกระทำรุนแรงครั้งแรก ในกลุ่มเด็กเล็กส่วนมากถูกทำร้ายร่างกายโดยบิดามารดาหรือญาติใกล้ชิด แต่ในกลุ่มวัยรุ่นส่วนมากจะเป็นกรณีมีเพศสัมพันธ์กับแฟน เดือนที่เกิดเหตุมักเป็นเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมและเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคมของทุกปี วันธรรมดามีแนวโน้มเกิดเหตุการณ์การกระทำรุนแรงทางเพศสูงกว่าวันสุดสัปดาห์ เวลาที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศเด่นชัดและสูงสุดในช่วงเวลา ๑๘.๐๑-๒๑.๐๐ น. ผู้ป่วยส่วนมากมาตรวจภายในหนึ่งวันหลังเกิดเหตุ ส่วนมากถูกบุคคลภายนอกครอบครัวเป็นผู้กระทำรุนแรง คนแปลกหน้าเป็นผู้กระทำเพียงร้อยละ ๑๑ ปัจจัยสำคัญภายนอกที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำรุนแรงทางเพศ คือ สภาพแวดล้อมที่มีการใกล้ชิดและโอกาสเอื้ออำนวย สถานที่เกิดเหตุส่วนมากเป็นที่บ้าน ผลของการกระทำรุนแรงและผลการรักษานั้น ส่วนมากคือหายหรือทุเลา ส่วนน้อยเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเฉลี่ยคิดเป็นเงิน ๓,๓๐๖.๐๖ บาท สรุป ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเป็นปัญหาหลักของเด็กที่เข้ารับบริการ ผู้ปกครองควรดูแลป้องกันบุตรหลานของตนอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญมาจากตัวผู้ป่วยเองและปัจจัยภายนอก | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ความรุนแรง | th_TH |
dc.subject | Violence | en_US |
dc.title | สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กที่มารับบริการ ณ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา | th_TH |
dc.title.alternative | Violence Against Children Treated at One Stop Service Center at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | One of the strategic plans for a current policy in an integrated management of the problem involving violence against children and women is to develop the data register and management system. This research aims to study the basic data and characteristics of children treated at the Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. The study found that during the year 2010-2012, 437 children were treated at OSCC, 412 cases were female, and 25 cases were male, aged between 4 days and 17 years and 10 months. The main reason for arrival at the hospital was sexual and physical violence. Nearly all cases were suffered from first time violence. Main problem in teenagers were having sex with their boyfriends. In case of physical abuse, most of those children were abused by their parents or close relatives. Event of violence usually occur from January to March and October to December each year. Sexual violence tends to happens on weekdays over weekends. Time of sexual violence was highest during 06:01 and 09:00 pm. Most of patients came to the hospital within one day after the incident. Nearly all perpetrators were non-family member persons, but the stranger was only 11 percent. The main external factor that encouraged acts of sexual violence was an intimate environment and the opportunity allows. The scene of violence mostly occurred at home. The main result of treatment was cure or palliative, however, some died of violence. The average cost of medical-related care was 3,306.06 THB. In conclusion, sexual problem among teenagers are the primary problem for OSCC. The major risk comes from the patient’s own and external factors. Parents should take care to protect their children closely. | en_US |
.custom.citation | บุญศักดิ์ หาญเทอดสิทธิ์, Boonsak Hanterdsith, จรุงศรี แดนขุนทด and Charungsri Deankhuntod. "สถานการณ์การกระทำความรุนแรงต่อเด็กที่มารับบริการ ณ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4235">http://hdl.handle.net/11228/4235</a>. | |
.custom.total_download | 1676 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 6 | |
.custom.downloaded_this_year | 126 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 16 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ