Distribution and Inequality of Registered Nurse Workforce in Thailand
dc.contributor.author | อัครเดช เกตุฉ่ำ | th_TH |
dc.contributor.author | Akadet Kedcham | en_US |
dc.contributor.author | อรุณรัตน์ คันธา | th_TH |
dc.contributor.author | Arunrat Khanthar | en_US |
dc.contributor.author | ตวงทิพย์ ธีระวิทย์ | th_TH |
dc.contributor.author | Tuangtip Theerawit | en_US |
dc.contributor.author | กฤษดา แสวงดี | th_TH |
dc.contributor.author | Krisada Sawaengdee | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-05-15T10:28:19Z | |
dc.date.available | 2015-05-15T10:28:19Z | |
dc.date.issued | 2558-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,1 (ม.ค.-มี.ค. 2558) : 26-36 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4258 | |
dc.description.abstract | ปัญหาการกระจายและความเหลื่อมล้ำของกำลังคนด้านพยาบาลวิชาชีพนั้นส่งผลเสียต่อการให้บริการสุขภาพทั้งในแง่ของประสิทธิผลและประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพรวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของการให้บริการสุขภาพด้วย การศึกษาเกี่ยวกับกำลังคนด้านพยาบาลวิชาชีพอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการกระจายและความเหลื่อมล้ำของกำลังคนด้านพยาบาลวิชาชีพตามภูมิศาสตร์ และเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จในการติดตามประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มุ่งสร้างความเป็นธรรมในการกระจายกำลังคน โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก 2 แหล่งข้อมูล คือ จากโครงการวิจัย “สุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย” ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนกันยายน 2552 ถึง มีนาคม 2553 และจากข้อมูลรายงานบุคลากรทางการแพทย์จากระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารติดตามผลการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุขระหว่างปีพ.ศ.2548 – 2552 ผลการศึกษา พบว่าการกระจายอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพระหว่างปีพ.ศ.2548 – 2552 นั้น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพต่อประชากรต่ำที่สุด คือประชากรจำนวน 825.30 – 1,009.38 คน ต่อพยาบาลวิชาชีพ 1 คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครมีอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพสูงที่สุด คือประชากร 240.19 – 430.70 คนต่อพยาบาลวิชาชีพ 1 คน ความเหลื่อมล้ำของอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทยในปีพ.ศ.2548 เท่ากับร้อยละ 18.91 และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีพ.ศ.2549 และปีพ.ศ.2550 (ร้อยละ 20.3 และ 20.99 ตามลำดับ) หลังจากนั้นจึงลดลง โดยในปี พ.ศ. 2551 มีความเหลื่อมล้ำร้อยละ 14.50 และลดลงอีกเหลือร้อยละ 11.42 ในปีพ.ศ. 2552 และพบว่าสัมประสิทธิ์จีนี่สามารถเป็นตัวบ่งชี้ในการติดตามความสำเร็จในการพัฒนากำลังคนด้านพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | พยาบาลวิชาชีพ | th_TH |
dc.subject | กำลังคนด้านสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | manpower | en_US |
dc.title | การกระจายและความเหลื่อมล้ำของอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Distribution and Inequality of Registered Nurse Workforce in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The distribution problem and inequality of nurse workforce adversely affect health services in terms of effectiveness and operational efficiency in health system and also affect the quality of health services. Nurse workforce should be investigated for solving these problems. This study aimed to investigate geographical distributions of Thai nurse workforce and to estimate nurse workforce inequality in Thailand. Those data were obtained from two data sources, Thai Nurses Cohort Study: Health and Working Life and surveys and the database of the Ministry of Public Health during the year 2005 - 2009. We analyzed data by frequency and percentage to reflect the distribution of nurse workforce and Gini coefficients were used to estimate the inequality. The study found that the distribution of nurse during the year 2005 - 2009, the north-east region has the highest ratio of population per nurse (825.30 to 1009.38) while Bangkok has the lowest ratio (240.19 to 430.70). The level of nurse workforce inequality ranged between 11.42-18.91% and the trend of Gini coefficients demonstrated that the situation of nurse workforce inequality tends to decrease in the year 2009. | en_US |
dc.subject.keyword | ความเหลื่อมล้ำ | th_TH |
.custom.citation | อัครเดช เกตุฉ่ำ, Akadet Kedcham, อรุณรัตน์ คันธา, Arunrat Khanthar, ตวงทิพย์ ธีระวิทย์, Tuangtip Theerawit, กฤษดา แสวงดี and Krisada Sawaengdee. "การกระจายและความเหลื่อมล้ำของอัตรากำลังพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4258">http://hdl.handle.net/11228/4258</a>. | |
.custom.total_download | 2214 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 15 | |
.custom.downloaded_this_year | 166 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 31 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ