Show simple item record

Northeastern Migrant Labor : Situation and Health Issues

dc.contributor.authorดุษฎี อายุวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorDusadee Ayuwaten_US
dc.contributor.authorภัทระ แสนไชยสุริยาth_TH
dc.contributor.authorPattara Sanchaisuriyaen_US
dc.coverage.spatialไทยth_TH
dc.date.accessioned2008-10-03T08:28:23Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-16T15:56:30Z
dc.date.available2008-10-03T08:28:23Zen_US
dc.date.available2557-04-16T15:56:30Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 1,2 (ก.ค.-ก.ย. 2550) : 193-200en_US
dc.identifier.issn0858-9437en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/425en_US
dc.description.abstractภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการย้ายถิ่นแรงงานมาก จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ สังคม ตลอดจนมีผลกระทบต่อสุขภาวะทั้งปัจเจกบุคคล ครัวเรือน และชุมชน บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอสถานการณ์ ประเด็นวิจัยและยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพอันสืบเนื่องจากการย้ายถิ่นแรงงาน ในปัจจุบันมีแรงงานในระบบ และนอกระบบ แรงงานนอกระบบไม่ได้รับการคุ้มครองและมีรูปแบบการจ้างเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์เช่นกันกล่าวคือ แรงงานบางส่วนที่ทำงานในภาคอุตสาหกรรม ถูกกีดกันมิให้เข้าสู่ระบบการคุ้มครอง (ประกันสังคม) โดยจัดจ้างระยะสั้นอย่างที่ไม่เกินเวลาทดลองงาน ซึ่งนำไปสู่ประเด็นวิจัย ที่ควรพิจารณา ได้แก่ สถานการณ์และรูปแบบแรงงานที่หลากหลาย การจำแนกประเภทแรงงานที่สอดคล้องกับระบบการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพเพื่อนำมาสู่การสร้างมาตรการการสร้างเสริมสุขภาพในกลุ่มแรงงาน สถานประกอบการ ไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยจากการทำงาน โดยเฉพาะแหล่งขนาดกลางและขนาดเล็กที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ยากแก่การติดตามตรวจสอบจากภาครัฐ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากชุมชนและหน่วยบริการสุขภาพในระดับพื้นที่ ซึ่งนำมาสู่ประเด็นวิจัยการพัฒนาระบบติดตามเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพแรงงานและความปลอดภัยจากการทำงานที่เป็นไตรภาคี การพัฒนาการคุ้มครองแรงงาน โดยชุมชนและแรงงานในอุตสาหกรรมชุมชนหรือรัฐวิสาหกิจชุมชน การศึกษาวิจัยแนวทางการคุ้มครองแรงงานจากการทำงานเสี่ยงภัย แนวทางการฟื้นฟูภาวะสุขภาพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทำงานโดยมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน และการศึกษาวิจัยภาวะสุขภาพและความปลอดภัยแรงงานในภาคบริการ เพื่อกำหนดทิศทางและมาตรการดูแลด้านสุขภาพ ด้วยรูปแบบการย้ายถิ่นฐานในภูมิภาค นอกภูมิภาคและต่างประเทศที่เป็นการย้ายถิ่นชั่วคราวและถาวร แต่ไม่แจ้งย้ายที่อยู่ ทำให้ระบบบริการสุขภาพและระบบอื่นที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถครอบคลุมและตอบสนองความต้องการ จำเป็นต้องพัฒนาหรือจัดระบบบริการที่เหมาะสม โดยเฉพาะการเข้าถึงระบบบริการ ตลอดจนการรับรู้ข่าวสารทั้งสิทธิด้านสุขภาพและข้อมูลการดูแลสุขภาพ จึงควรศึกษาวิจัยรูปแบบการให้ความรู้เรื่องสิทธิแรงงานในระดับชุมชน การพัฒนาศักยภาพด้านทักษะการดำรงชีวิตในบริบทสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง การพัฒนาบทบาทชุมชนและหน่วยงานในการเฝ้าระวังด้านสุขภาพและการสร้างเสริมศักยภาพแรงงานในการดูแลสุขภาพ ยุทธศาสตรท์ที่ควรกำหนดคือ การสร้างเสริมสุขภาวะให้แรงงานในชุมชน และการเสริมสร้างสุขภาวะให้แรงงานในชุมชน และการเพิ่มศักยภาพแรงงานย้ายถิ่น โดยยุทธศาสตร์การเสริมสร้างสุขภาวะ ประกอบด้วยประเด็นวิจัยสถานการณ์แรงงานด้านสุขภาพ และการจำแนกกลุ่มแรงงานที่สอดคล้องกับระบบการดูแลสุขภาพ ผลกระทบของนโยบายการค้าเสรีและรูปแบบการผลิตแบบใหม่ต่อภาวะสุขภาพ ระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาด้านสุขภาพแรงงานและความปลอดภัยจากการทำงานในสถานประกอบการ การคุ้มครองสุขภาพแรงงานในอุตสาหกรรมระดับชุมชนและวิสาหกิจชุมชนโดยชุมชน การคุ้มครองและฟื้นฟูแรงงานที่ทำงานเสี่ยงภัย การสร้างการรับรู้เรื่องสิทธิแรงงานด้านสุขภาพในระดับชุมชนth_TH
dc.format.extent148269 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.titleสถานการณ์และประเด็นสุขภาพแรงงานอีสานth_TH
dc.title.alternativeNortheastern Migrant Labor : Situation and Health Issuesen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeOutstanding labour migration has been reported in the northern region of Thailand leading to changes in physical and social aspects. Subsequently effects on health status at individual, household and eventually community level shall be witnessed. This article was aimed at presenting situation, recommended research issues and strategies in order to develop preventive measures and reassurance of adequate health services accordingly. Presently, labour is classified as formal and informal. Whereas, the latter is not yet entitled to legal protection and benefits of the social security scheme. These discriminations exist among some industrial labors undergoing unfairly a series of probation periods. As such, the phenomena calls for research related to situation and pattern of employment; classificaiton of labor and required health care/insurance; their health behaviors and proper health promotion measures. Safety regulations and guidelines in working place, particularly in small, and medium enterprises have often been neglected and the premises can avoid monitoring of the public sector. It may critically call for strong participation of community and local health facility. Research effort should, then, be made on; development on tripartite monitoring and surveillance on safety work place, labor protection system by community, and labor in home industries, guideline for labor protection from occupational health risk, guideline on rehabilitation of vulnerable labor with participation of family and community, an of health status and safety of labor in service sector. Haphazard movements of labor on provincial, regional and national levels do not accommodate registration, provision and coverage of health care and insurance with respect to their health needs. Further development of health care system, hence, should focus on accessibility. Health and safety regulation information should also be disseminated. The research issues should cover on an effective model for disseminating health and safety regulation information at community level, life skill for adapting in cross cultural environment, community and health facilities roles and functions on surveillance on health, and self-care empowerment of labor Based on information synthesis and brain storm of experts and stakeholders, research strategies and issues were formulated as follows: strategic I promotion health of labor at community and strategic II self-care empowerment of migrant labor. The research issues of strategic I include situation of labor health, classification of labor based on health care system, effect and impact of Free Trade Act (FTA) and new production pattern on health, monitoring and surveillance on safety work place and labor health problem, labor protection at community industries, health protection and rehabilitation of labor with high risk, and perception on labor’s right at community.en_US
dc.subject.keywordแรงงานth_TH
dc.subject.keywordสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordยุทธศาสตร์th_TH
dc.subject.keywordผังพิสัยการวิจัยth_TH
dc.subject.keywordLabouren_US
dc.subject.keywordHealthen_US
dc.subject.keywordStrategyen_US
dc.subject.keywordResearch Mappingen_US
.custom.citationดุษฎี อายุวัฒน์, Dusadee Ayuwat, ภัทระ แสนไชยสุริยา and Pattara Sanchaisuriya. "สถานการณ์และประเด็นสุขภาพแรงงานอีสาน." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/425">http://hdl.handle.net/11228/425</a>.
.custom.total_download884
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month5
.custom.downloaded_this_year115
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v1n2 ...
Size: 144.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record