Show simple item record

Potential Factors Affecting Utilization of Thai Traditional and Alternative Medicine Services under Service Health Area Among Public Hospitals

dc.contributor.authorมณฑกา ธีรชัยสกุลth_TH
dc.contributor.authorMonthaka Teerachaisakulen_US
dc.date.accessioned2015-07-08T05:01:00Z
dc.date.available2015-07-08T05:01:00Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.otherhs2160
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4272
dc.description.abstractการส่งเสริมและบูรณาการบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพของประเทศโดยมุ่งเน้นการจัดบริการที่ได้มาตรฐานและยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการการแพทย์แผนไทยจัดเป็นบริการพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ประชาชนไทยพึงได้รับ นอกจากนั้นยังเป็นการนำภูมิปัญญาของชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนเพิ่มศักยภาพให้ประเทศไทยพึ่งตนเองได้ทางด้านสุขภาพ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขโดยกำหนดการจัดบริการด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกสะท้อนผ่านจำนวนครั้งของบริการผู้ป่วยนอกด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ซึ่งเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 6 เดือนคือ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึง มีนาคม 2557 จากแบบเก็บข้อมูลที่สร้างขึ้นตามกรอบแนวคิด โครงสร้าง-กระบวนการ-ผลลัพธ์ โดยอาศัยการกระจายและรวบรวมแบบเก็บข้อมูลจากผู้แทนงานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกประจำจังหวัด ขนาดตัวอย่างของการศึกษาใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับความคลาดเคลื่อนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ใช้ Pearson’s Correlation และ Indepentdent t-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบเส้นตรง (Multiple linear regressions) ด้วย enter method ผลจากการศึกษา พบว่า มีอัตราการตอบแบบเก็บข้อมูลกลับทั้งสิ้นร้อยละ 58.33 (266 ฉบับ จาก 456 ฉบับ) ซึ่งมีแบบข้อมูลตอบกลับที่สามารถนำมาประมวลผลได้ทั้งสิ้น 231 ชุด หรือคิดเป็นร้อยละ 86.84 ในจำนวนแบบเก็บข้อมูลที่ตอบกลับพบว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดบริการแพทย์แผนไทยเพียงอย่างเดียวร้อยละ 80.52 (186 แห่งจาก 231 แห่ง) และจัดบริการทั้งแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกร้อยละ 19.48 (45 แห่งจาก 231 แห่ง) ซึ่งพบว่าจุดเริ่มต้นของการบริการการแพทย์แผนไทยมาจากโรงพยาบาลชุมชน ขณะที่จุดเริ่มต้นของบริการแพทย์ทางเลือกเริ่มจากโรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป นอกจากนี้บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดบริการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลคือ ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมไม่น้อยกว่า 330 ชั่วโมง ขณะที่ผู้บุคลากรส่วนใหญ่ที่จัดบริการแพทย์ทางเลือกในโรงพยาบาลคือ แพทย์แผนปัจจุบันที่ได้รับการอบรมฝังเข็ม โดยงบประมาณที่สนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกเข้ารับการอบรมนั้นพบว่า งบประมาณที่สนับสนุนเพื่อเข้ารับการอบรมแพทย์ทางเลือกมีมูลค่าสูงกว่าการอบรมด้านการแพทย์แผนไทย นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนครั้งของผู้ป่วยนอกที่ได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ จำนวนบุคลากรทั้งหมดของหน่วยงาน(p-value<0.001) ศักยภาพในการจัดบริการผู้ป่วยใน (p-value=0.002) จำนวนบุคลากรที่ได้รับเงินเดือนอย่างน้อย 15,000 บาทต่อเดือน (p-value=0.017) การได้รับการยอมรับให้เป็นแหล่งศึกษาดูงาน/ฝึกงานของสถาบันการศึกษา (p-value=0.011) จำนวนปีที่เปิดให้บริการ (pvalue=0.004) ตลอดจนมูลค่าการสั่งจ่ายยาสมุนไพร (p-value <0.001) สรุปและวิจารณ์: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า จำนวนสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการด้านการแพทย์แผนไทย ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบ ผลการวิจัยสนับสนุนให้หน่วยงานเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องควรกำหนดกรอบอัตรากำลังในหน่วยบริการการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจนโดยครอบคลุมถึงการจ้างในตำแหน่งที่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม การให้ความสำคัญแก่การพัฒนาศักยภาพทางคลินิกของแพทย์แผนไทยอย่างน้อยเพื่อการจัดบริการผู้ป่วยใน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรจากสถาบันการศึกษา นอกจากนี้ การสนับสนุนให้เกิดการจัดบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานบริการของรัฐเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องเน้นย้ำถึงการให้บริการที่ต่อเนื่องด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectการแพทย์แผนไทยth_TH
dc.subjectการแพทย์ทางเลือกth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativePotential Factors Affecting Utilization of Thai Traditional and Alternative Medicine Services under Service Health Area Among Public Hospitalsen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWB50.JT3 ม119ป 2558
dc.identifier.contactno57-076en_US
dc.subject.keywordเขตบริการสุขภาพth_TH
.custom.citationมณฑกา ธีรชัยสกุล and Monthaka Teerachaisakul. "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดบริการเขตบริการสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4272">http://hdl.handle.net/11228/4272</a>.
.custom.total_download687
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year24

Fulltext
Icon
Name: hs2160.pdf
Size: 608.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record