การอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย
dc.contributor.author | บวรศม ลีระพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Borwornsom Leerapan | en_US |
dc.contributor.author | ภัททา เกิดเรือง | th_TH |
dc.contributor.author | Phatta Kirdruang | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-07-24T09:52:11Z | |
dc.date.available | 2015-07-24T09:52:11Z | |
dc.date.issued | 2558-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2558) : 109-124 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4285 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาหลักฐานเชิงประจักษ์ในการตอบสนองของผู้บริหารโรงพยาบาลรัฐของประเทศไทยต่อความแตกต่างของนโยบายการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของแต่ละกองทุนสุขภาพ และเพื่อทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพของโรงพยาบาลในบริบทของประเทศไทย ระเบียบวิธีศึกษา : การศึกษาชิ้นนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสมผสานโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพเป็นกระบวนการหลักในการสังเคราะห์แนวคิด เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจาก ผู้ให้ข้อมูลหลักซึ่งเป็นผู้บริหารโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของรัฐจำนวน 3 แห่ง รวม 30 คน โดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มและใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นกระบวนการเสริม ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่ใช้ในการบริหารโรงพยาบาล ได้แก่ ต้นทุนหน่วยบริการ ราคาเรียกเก็บ และราคาที่ได้รับจากการเบิกจ่ายของแต่ละกองทุนสุขภาพ ผลการศึกษา: การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทำให้ค้นพบ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการรับรู้แนวคิดการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพที่แตกต่างกัน 2) อุปสรรคในการบริหารการเงินของโรงพยาบาลส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการจ่ายเงินของกองทุนสุขภาพ 3) อุปสรรคในการบริหารการเงินของโรงพยาบาลส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากข้อจำกัดภายในขององค์กร และ 4) ผู้บริหารโรงพยาบาลตอบสนองต่อนโยบายการจ่ายเงินของกองทุนสุขภาพด้วยมาตรการในหลายระดับ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแสดงความแตกต่างของต้นทุนในการจัดบริการให้แก่ผู้ป่วยของกองทุนสุขภาพต่างๆ และพบความแตกต่างอย่างมีแบบแผนของกำไรหรือขาดทุนจากการจัดบริการให้ผู้ป่วยของแต่ละกองทุน แต่ไม่พบหลักฐานว่า โรงพยาบาลโยกย้ายต้นทุนโดยการตั้งราคาค่ารักษาพยาบาลสำหรับกลุ่มผู้ป่วยจ่ายเงินเองให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยการขาดทุน การอภิปราย: แม้ว่าผู้วิจัยไม่พบหลักฐานเชิงปริมาณของการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาลที่ชัดเจน แต่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารโรงพยาบาลมีการตัดสินใจซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวคิดการอุดหนุนข้ามอย่างน้อย 3 รูปแบบ ได้แก่ ไม่มีการจัดทำนโยบายหรือการจัดการเพื่อทำให้เกิดการอุดหนุนข้ามกองทุนภายในโรงพยาบาล มีการบริหารจัดการภายในเพื่อลดผลกระทบทางการเงินขององค์กร และมีการเจรจาต่อรองกับกองทุนสุขภาพเพื่อให้ได้อัตราการเบิกจ่ายที่เป็นธรรม ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายควรปรับนโยบายการเบิกจ่ายให้เพียงพอต่อต้นทุนการจัดบริการ และประเมินนโยบายการคลังสุขภาพโดยพิจารณาผลกระทบทั้งต่อผู้ป่วยของกองทุนสุขภาพนั้นๆ และผลกระทบต่อผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆในโรงพยาบาลด้วย รวมทั้งการศึกษาเรื่องการอุดหนุนข้ามกองทุนในอนาคตควรใช้ข้อมูลแบบอนุกรมเวลา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับเปลี่ยนนโยบายการเบิกจ่ายและการอุดหนุนข้ามกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาลต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | กองทุนสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | โรงพยาบาลของรัฐ | th_TH |
dc.subject | การคลังสาธารณสุข | th_TH |
dc.title | การอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Cross-subsidization of Healthcare Financing at the Hospital Level: Case Studies of Selected Public Hospitals in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Objective: This empirical study investigates hospital’s incentives in responding to the difference in reimbursement policies. Specifically, it seeks to identify and analyze possible cross-subsidization across health schemes within the public hospitals in Thailand. Methods: This observational study employed a mixed-methods research design. Qualitative contents were collected from focus-group interviews of 30 hospital administrators in three selected public hospitals, and content analysis was primarily used to synthesize a mental model of how hospital administrators making decisions related to the concept of cross-subsidization. Quantitative data analysis was used to compliment the qualitative contents on the issues of unit-cost difference, difference between charge and cost, and difference between reimbursement and cost across health schemes. Results: Content analysis reveals four emerging themes. First, the concept of cross-subsidization is perceived differently among hospital administrators. Second, payment policies create obstacles to hospitals’ financial management. Third, organizational factors also create obstacles to hospitals’ financial management. Lastly, hospitals respond to payment policies of health schemes by various measures. These findings are supported by quantitative results, which suggest the unit costs and the differences between reimbursement and cost vary across health schemes after controlled for other patient characteristics. Nonetheless, no evidence suggests that hospitals cost-shift by increasing prices charged to out-of-pocket payment patients to compensate for the loss. Discussions: Despite no strong evidence of cross-subsidization, we found three patterns of decision-making of hospital administrators related to cross-subsidization, including implementing no management practices for cross-subsidy, initiating organizational practices to reduce negative financial impacts, and attempting to negotiate with health schemes on a fair reimbursement rate. Hence, policymakers should adjust financing policies to adequately pay for health services provided. When evaluating the impact of any payment policies, policymakers should consider not only an impact to patients of any particular health scheme, but also an impact to other patients groups within the hospitals. Future studies should utilize time-series data to determine a causational relationship between payment policies and cross-subsidization at the hospital level. | en_US |
dc.subject.keyword | การคลังสุขภาพ | th_TH |
.custom.citation | บวรศม ลีระพันธ์, Borwornsom Leerapan, ภัททา เกิดเรือง and Phatta Kirdruang. "การอุดหนุนข้ามระหว่างกองทุนสุขภาพในระดับโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐในประเทศไทย." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4285">http://hdl.handle.net/11228/4285</a>. | |
.custom.total_download | 1804 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 22 | |
.custom.downloaded_this_year | 335 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 48 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ