การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต
dc.contributor.author | อำนวยพร แดงสีบัว | th_TH |
dc.contributor.author | Amnuayporn Daengsibua | en_US |
dc.contributor.author | อัจฉราวรรณ โตภาคงาม | th_TH |
dc.contributor.author | Acharawan Topark-ngarm | en_US |
dc.contributor.author | สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sajja Tatiyanupanwong | en_US |
dc.contributor.author | จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chulaporn Limwattananon | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-07-24T10:16:09Z | |
dc.date.available | 2015-07-24T10:16:09Z | |
dc.date.issued | 2558-06 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2558) : 181-192 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4288 | |
dc.description.abstract | การรักษาแบบฟอกไตเป็นทางเลือกหลักของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งปฏิเสธการฟอกไตและเลือกการรักษาแบบไม่ฟอกไต ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังขาดข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิกของการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) เพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิต การเข้าโรงพยาบาลนอกเหนือจากการนัดหมาย (unplanned visit) และการเข้านอนโรงพยาบาลของผู้ป่วยที่เลือกการรักษาแบบไม่ฟอกไต โดยติดตามข้อมูลผู้ป่วยจากวันที่มีค่าการทำงานของไตน้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73 ม2 เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี หรือจนกระทั่งเสียชีวิตหรือสิ้นสุดการศึกษา ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษามีจำนวน 72 คน อายุเฉลี่ยคือ 65.4 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคไตเรื้อรังคือเบาหวาน 35 ราย (48.6%) โรคร่วมที่พบมากที่สุดคือความดันโลหิตสูง 54 ราย (38.6%) เหตุผลที่เลือกการรักษาแบบไม่ฟอกไต ส่วนใหญ่คือไม่มีผู้ดูแล ผลการศึกษาพบว่า ค่ากลางการรอดชีวิตของผู้ป่วยคือ 26.1 เดือน(median overall survival) อัตราการรอดชีวิตปีที่ 1 และปีที่ 2 คือ 80.0% และ 59.0% ตามลำดับ มีการเข้าโรงพยาบาลนอกเหนือจากการนัดหมายทั้งหมด 307 ครั้ง โดยสาเหตุจากโรคไตเรื้อรัง 115 ครั้ง (37.5%) มีผู้ป่วยที่เข้านอนโรงพยาบาล 56 คน (77.8%) เข้านอนโรงพยาบาลรวม 179 ครั้ง มีสาเหตุจากโรคไตเรื้อรัง 102 ครั้ง (57.0%) จากการศึกษาสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไตมีค่ากลางการรอดชีวิตประมาณ 2 ปี มีอัตราการเข้าโรงพยาบาลนอกเหนือจากการนัดหมายและอัตราการนอนโรงพยาบาลสูง การรักษาแบบไม่ฟอกไตจึงเหมาะเป็นเพียงทางเลือกสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดในการฟอกไต หรือผู้ป่วยที่อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการฟอกไต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไต | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.title | การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต | th_TH |
dc.title.alternative | Following up of Stage 5 Chronic Kidney Disease Patients Managed with Non-dialytic Treatment | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | The first treatment option for end stage renal disease patients is dialysis. However, some patients select non-dialysis treatment (NDT). Currently, data on clinical outcome of this treatment modality is limited. Therefore, a retrospective cohort study was performed to evaluate clinical outcomes of chronic kidney disease (CKD) stage 5 patients managed with NDT, including survival, factors affecting survival, and hospitalization. The data was reviewed from the first date approaching to stage 5 (glomerular filtra-tion rate < 15 ml/min/ 1.73 m2) for at least 2 years, until death, or until the end of the study. A total of 72 patients who fulfilled the eligibility criteria were included to the study. The mean age was 65.4 years old. The most common cause of CKD was diabetes mellitus (n = 35, 48.6%). The most common co-morbidity was hypertension (n = 54, 38.6%). The most common reason for selecting NDT was lacking of a caregiver. The median overall survival was 26.1 months. One-year and two-year survival rates were 80.0% and 59.0%, respectively. There were 307 occasions of unplanned visit, and 115 of these were related to renal causes (37.5%). A total of 56 (77.8%) patients were hospitalized on 179 occasions. One hundred and two (57.0%) of these were due to renal causes. This study demonstrates that the survival time of NDT patients was approximately 2 years. There were high numbers of unplanned visits and hospitalization among these patients. Therefore, NDT modality should be considered as a choice only for patients who are contraindicated or not eligible for dialysis, or who would not be beneficial from dialysis. | en_US |
dc.subject.keyword | การฟอกไต | th_TH |
.custom.citation | อำนวยพร แดงสีบัว, Amnuayporn Daengsibua, อัจฉราวรรณ โตภาคงาม, Acharawan Topark-ngarm, สัจจะ ตติยานุพันธ์วงศ์, Sajja Tatiyanupanwong, จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ and Chulaporn Limwattananon. "การติดตามผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่เลือกรับการรักษาแบบไม่ฟอกไต." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4288">http://hdl.handle.net/11228/4288</a>. | |
.custom.total_download | 7860 | |
.custom.downloaded_today | 2 | |
.custom.downloaded_this_month | 23 | |
.custom.downloaded_this_year | 971 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 77 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ