ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21 แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี
dc.contributor.author | รุ่งทิวา พานิชสุโข | th_TH |
dc.contributor.author | Rungthiwa Panichsuko | en_US |
dc.coverage.spatial | ชลบุรี | th_TH |
dc.date.accessioned | 2015-08-19T08:13:15Z | |
dc.date.available | 2015-08-19T08:13:15Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.other | hs2175 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4296 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative method) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการ ปัจจัยและปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอก และการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21 แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลโดย สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 20 คน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำรายงานข้อมูลสุขภาพ 21 แฟ้มมาตรฐาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ใน 10 อำเภอโดยคัดเลือกอำเภอละ 2 คนที่มีการจัดทำรายงานข้อมูล 21 แฟ้มได้คะแนนคุณภาพสูงสุดและต่ำสุดของแต่ละอำเภอ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1.) ด้านกระบวนการจัดทำข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มที่มีคะแนนสูง มีการบันทึกข้อมูลแบบ real time และบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลครบถ้วนโดยเจ้าหน้าที่และสำรองข้อมูลทุกวัน มีการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนทุกแฟ้มตามช่วงเวลาที่กำหนด หากพบ error มีการ feedback เพื่อปรับแก้ การส่งออกรายงานภายในเวลาที่กำหนด มีผู้ส่งแทนกันได้ กรณีผู้รับผิดชอบติดภารกิจ ส่วนกลุ่มที่มีคะแนนต่ำ บางแห่งไม่ได้บันทึกข้อมูลทุกวันและบันทึกข้อมูลโดยลูกจ้าง และผู้รับผิดชอบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูล 2. ) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูล ได้แก่ ด้านบุคลากร มีทัศนคติที่ดีต่อการจัดทำข้อมูล มีความรู้เรื่องโครงสร้างแฟ้ม ได้รับการอบรม มีความรับผิดชอบ และละเอียดรอบคอบ มีจำนวนบุคลากรและภาระงานที่เหมาะสม ด้านงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์มีเพียงพอ มีคุณภาพและทันสมัย ด้านการบริหารจัดการ ผู้บริหารเป็นปัจจัยสำคัญที่มีการติดตามกำกับ สนับสนุน ให้มีการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้อง มีการตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 3.) ด้านปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ผู้บันทึกข้อมูลบางคนขาดความรู้ในการบันทึกข้อมูลเนื่องจากไม่ได้รับการอบรม ไม่มีคนส่งข้อมูลแทนกัน คอมพิวเตอร์เสีย และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | สารสนเทศทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | การป้องกันโรค | th_TH |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21 แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Factors related to data quality of outpatient services, health promotion and disease prevention (21 standard folders) of Tambol Health Promoting Hospital Officers in Chon Buri. | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study is a descriptive study (descriptive research) where qualitative data is collected (qualitative method). The objectives are to study processes, factors and obstacles related to the data quality of services provided for outpatients, health promotion and disease prevention (21 standard folders) of Tambol Health Promoting Hospital personnel in Chon Buri. Data were collected using in-depth interviews from of 20 participants who served on the preparation of health information of Tambol Health Promoting Hospital in 10 districts. By selecting 2 personnel who prepared 21 standard folders reports with the highest and lowest data quality in each district then the data were analyzed (content analysis). The study found that: 1) the preparation of the information; the group with high scores, recorded data in real time, recorded the required personal information, backed up data daily, checked for accuracy and completeness of the reports and gave feedback if error(s) found. If the responsible personnel were unavailable, other personnel could interchangeably export the reports within specified time. Those with low scores, some did not record data daily and recorded by temporary employee and could not take advantage of the data. 2) Factors related to data quality including; the personnel have a positive attitude towards the preparation of the information, understand the structure of the folders, received training, responsible and circumspect, a number of staff and workload were reasonable. Budgeting and up-to-date equipment were adequate. Management executives are key factors to monitor and encourage to record accurate data and check the completeness of the data. 3) The obstacles including; some data recording personnel lack of knowledge because they have not been trained, no personnel to interchangeably export data, computer break down and unable to connect to the internet. | en_US |
dc.identifier.contactno | 57-090 | en_US |
.custom.citation | รุ่งทิวา พานิชสุโข and Rungthiwa Panichsuko. "ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพข้อมูลการให้บริการผู้ป่วยนอกและการให้บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (21 แฟ้มมาตรฐาน) ของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชลบุรี." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4296">http://hdl.handle.net/11228/4296</a>. | |
.custom.total_download | 1280 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 9 | |
.custom.downloaded_this_year | 137 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 22 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ