• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Research Reports
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การพัฒนาแนวปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สถาบันวิจัยระบบการดูแลผู้สูงอายุไทย คณะพยาบาลศาสตร์;
วันที่: 2558
บทคัดย่อ
เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ที่อาศัยในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ โดยมีกระบวนการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติ และระยะประเมินผล ผู้เข้าร่วมการวิจัยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบความตรงในเนื้อหาของแนวปฏิบัติ กลุ่มบุคลากรสาธารณสุข (อาสาสมัครสาธารณสุข และพยาบาล) ผู้ใช้แนวปฏิบัติ และกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ดูแล ซึ่งได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลประกอบด้วนแบบตรวจความตรงในเนื้อหาและนำมาคำนวณค่าดัชนีความตรง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแล ใช้การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นจำแนกเป็น 3 กลุ่ม ตามระดับการพึ่งพอของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง องค์ประกอบของแนวปฏิบัติประกอบด้วยแผนการสนับสนุนการดูแลพร้อมคู่มือเจ้าหน้าที่ และคู่มือผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง คู่มือผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม ที่พัฒนาจากแนวคิดการจัดการรายกรณี บูรณาการร่วมกับการสนับสนุนการจัดการตนเองและหลักฐานเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการดูแลเพื่อป้องกันความเสื่อมถอยในการทำหน้าที่ของผู้สูงอายุ ผลการตรวจความตรงในเนื้อหาของแนวปฏิบัติได้ค่าดัชนีความตรงเท่ากับ 1 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแลภายหลังได้รับแนวปฏิบัติการดูแล (ในระยะทดลองใช้) มีค่าเฉลี่ยในระดับสูง สรุปผลการวิจัย แนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านจำแนกตามระดับการพึ่งพา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ และดูแลผู้สูงอายุได้สอดคล้องกับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานของผู้สูงอายุ และแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านที่พัฒนาขึ้นสามารถเป็นต้นแบบในการนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยในบริบทเมืองใหญ่ อย่างไรก็ตามยังคงมีความจำเป็นในการจัดระบบกลไกเพื่อให้มีการใช้แนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนในชุมชน
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hs2186.pdf
ขนาด: 7.224Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 0
เดือนนี้: 0
ปีงบประมาณนี้: 11
ปีพุทธศักราชนี้: 9
รวมทั้งหมด: 1,356
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Research Reports [2487]

    งานวิจัย


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [621]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [100]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [126]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [160]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1292]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [234]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [21]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV