Show simple item record

Thailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Program

dc.contributor.authorวิษณุ ธรรมลิขิตกุลth_TH
dc.contributor.authorVisanu Thamlikitkulth_TH
dc.date.accessioned2015-10-14T07:11:57Z
dc.date.available2015-10-14T07:11:57Z
dc.date.issued2558-10-05
dc.identifier.otherhs2201
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4327
dc.description.abstractโครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ วิจัยและพัฒนาประเด็น วิชาการ เศรษฐกิจ และสังคมเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ และพัฒนาชุมชนต้นแบบ ที่นำระบบการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างครอบคลุมไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีการ ดำเนินการร่วมกันระหว่างบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศตามแนวทางที่องค์การ อนามัยโลกเสนอแนะ ตามนโยบายของประเทศไทยที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้เกี่ยวข้อง โครงการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยดำเนินงาน 10 กิจกรรม (action) ได้แก่ 1) คาดประมาณขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 2) ระบุวงจรและพลวัตของการเกิด และการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 3) พัฒนาโครงสร้างระดับชาติของการควบคุม และป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย 4) พัฒนาห้องปฏิบัติการและระบบเฝ้าระวังการดื้อยาต้าน จุลชีพ เฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล 5) ประสานงานการควบคุมการ กระจายยาต้านจุลชีพในมนุษย์ สัตว์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม 6) สร้างความตระหนักและรณรงค์ เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพและการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ 7) สร้างหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อสนับสนุนมาตรการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในบริบทของประเทศไทย 8) พัฒนา “ชุด ควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” 9) นำ “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” ซึ่งไปใช้ใน พื้นที่นำร่อง 10) วิจัยและพัฒนาวิธีใหม่ในการวินิจฉัย รักษา และป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ โครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยมีผลงานสำคัญ ได้แก่ ทราบขนาดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ทราบวงจรและพลวัตของการเกิดและการ แพร่กระจายของเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย มีโครงสร้างระดับชาติของการควบคุมและป้องกันการ ดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยแล้วส่วนหนึ่ง มีห้องปฏิบัติการและแผนการเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ การเฝ้าระวังการใช้ต้านจุลชีพ และการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล มีระบบการควบคุมการกระจายยา ต้านจุลชีพในมนุษย์และสัตว์แล้วส่วนหนึ่ง มี “ชุดควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพ” สำหรับสร้าง ความตระหนักและรณรงค์เกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพและการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพโดย อาศัยข้อมูลและหลักฐานในประเทศไทยและนานาชาติ ซึ่งได้นำไปใช้ในกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่ม แล้ว และมีโครงการและผลงานวิจัยและพัฒนาการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ต้านจุลชีพ แผนงานและผลงานของโครงการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพใน ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ โดยประเทศไทยจะได้รับมอบหมายจากองค์การ อนามัยโลกให้เป็นศูนย์ประสานงานการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพขององค์การอนามัยโลก (WHO Collaborating Centre for Antimicrobial Resistance Prevention and Containment) ภายใน พ.ศ. 2558th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectDrug Resistanceen_US
dc.subjectการดื้อยาth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThailand Antimicrobial Resistance Containment and Prevention Programen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoQV350 ว768ค 2558th_TH
dc.identifier.contactno56-003th_TH
dc.subject.keywordยาต้านจุลชีพth_TH
.custom.citationวิษณุ ธรรมลิขิตกุล and Visanu Thamlikitkul. "การวิจัยและพัฒนาการควบคุมและป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4327">http://hdl.handle.net/11228/4327</a>.
.custom.total_download712
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year13

Fulltext
Icon
Name: hs2201.pdf
Size: 644.1Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record