Show simple item record

The Association between Duration of Breastfeeding and Atopic Dermatitis and Asthma in Children

dc.contributor.authorรัตน์สีดา สายทองth_TH
dc.contributor.authorRatsida Saithongen_US
dc.contributor.authorจักร์วิดา อมรวิสัยสรเดชth_TH
dc.contributor.authorChakvida Amornvisaisoradejen_US
dc.contributor.authorกนิษฐา บุญธรรมเจริญth_TH
dc.contributor.authorKanitta Bundhamcharoenen_US
dc.date.accessioned2015-10-28T03:45:29Z
dc.date.available2015-10-28T03:45:29Z
dc.date.issued2558-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,3 (ก.ค.-ก.ย. 2558) : 202-212th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4336
dc.description.abstractองค์การอนามัยโลกมีข้อแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว (Exclusive breastfeeding) ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรก เพื่อสุขภาพที่ดีและป้องกันการเจ็บป่วยของบุตร ซึ่งมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างนมแม่และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ให้นมบุตรกับการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืด โดยรวบรวมบทความวิจัยจากการใช้คำสำคัญซึ่งเป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2544-2556 ในฐานข้อมูล PubMed database และ Cochrane library พบงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 42 บทความ โดยพบว่าเด็กที่ไม่ได้รับนมแม่นั้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืดมากกว่าเด็กที่ได้รับนมแม่เป็น 1.15-11.53 เท่า หากได้รับนมแม่น้อยกว่า 3 เดือนเสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็น 1.25-1.45 เท่าของคนที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป และเด็กที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 6 เดือนเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าเด็กที่ได้รับนมแม่ 6 เดือนขึ้นไป 1.15-2.00 เท่า หลายการศึกษาแสดงแนวโน้มว่านมแม่เป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืดในเด็ก อย่างไรก็ตามมีความหลากหลายของคุณภาพของการศึกษาวิจัยซึ่งต้องทำการศึกษาเชิงการวิเคราะห์อภิมานต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่th_TH
dc.subjectน้ำนมมารดาth_TH
dc.subjectภูมิแพ้ในเด็กth_TH
dc.subjectผิวหนังอักเสบเหตุภูมิแพ้th_TH
dc.subjectDermatitis Atopicen_US
dc.subjectAllergyen_US
dc.subjectBreastfeedingen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ได้รับนมแม่กับการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืดในเด็กth_TH
dc.title.alternativeThe Association between Duration of Breastfeeding and Atopic Dermatitis and Asthma in Childrenen_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe World Health Organization recommends exclusive breastfeeding for 6 months for the baby’s health and illnesses protection. Several studies have assessed the effect of breastfeeding on the risk of atopic dermatitis and asthma. This study aimed to systematically review the relationship between duration of breastfeeding and atopic dermatitis and asthma. We used relevant key words to search for studies published during 2001-2013 in PubMed database and Cochrane library. Forty-two studies met the inclusion criteria. The results found that infants not breastfed were at a greater risk of developing atopic dermatitis and asthma (Relative risk (RR) or Odds ratio (OR), 1.15-11.53) than infants who were breastfed. Breastfeeding for less than 3 months increased risk of the diseases (RR, OR =1.25-1.45) than infants who were breastfed for 3 months or more. Breastfeeding for less than 6 months were associated with increased risk of diseases (RR, OR= 1.15-2.00) than 6 months or more. Several studies show that breastfeeding is likely to associate with protection against development of atopic dermatitis and asthma. However, since the literature has a wide range of quality, further studies including meta-analysis study should be undertaken.en_US
.custom.citationรัตน์สีดา สายทอง, Ratsida Saithong, จักร์วิดา อมรวิสัยสรเดช, Chakvida Amornvisaisoradej, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ and Kanitta Bundhamcharoen. "ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ได้รับนมแม่กับการเกิดโรคผื่นผิวหนังอักเสบภูมิแพ้และโรคหืดในเด็ก." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4336">http://hdl.handle.net/11228/4336</a>.
.custom.total_download2087
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month11
.custom.downloaded_this_year46
.custom.downloaded_fiscal_year86

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v9n3 ...
Size: 193.6Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record