แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย

dc.contributor.authorอนุชา เศรษฐเสถียรth_TH
dc.contributor.authorAnuchar Sethasathienen_US
dc.contributor.authorธีระ ศิริสมุดth_TH
dc.contributor.authorTeera Sirisamutren_US
dc.contributor.authorพรทิพย์ วชิรดิลกth_TH
dc.contributor.authorPorntip Wachiradiloken_US
dc.contributor.authorสุชาติ ได้รูปth_TH
dc.contributor.authorSuchart Dairooben_US
dc.contributor.authorศิริชัย นิ่มมาth_TH
dc.contributor.authorSirichai Nimmaen_US
dc.date.accessioned2015-10-28T04:48:02Z
dc.date.available2015-10-28T04:48:02Z
dc.date.issued2558-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,3 (ก.ค.-ก.ย. 2558) : 279-293th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4341
dc.description.abstractผู้ปฏิบัติงานบนรถพยาบาลนอกจากจะปฏิบัติงานอย่างยากลำบากแล้ว ยังเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจราจร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลจากฐานข้อมูลการเฝ้าระวังอุบัติเหตุรถพยาบาล วิเคราะห์สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุจากรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุรถพยาบาลปี พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ จาก ๑) ข้อมูลจากฐานข้อมูล ITEMS ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ๒) ข้อมูลการเฝ้าระวังอุบัติเหตุรถพยาบาล ของ สพฉ. ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๗ และ ๓) รายงานผลการสอบสวนอุบัติเหตุรถพยาบาลที่สามารถรวบรวมได้จากเครือข่าย/พื้นที่ ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ซึ่งวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุตามแนวทางของ Haddon’s matrix ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอผลการศึกษา สถานการณ์จากข้อมูลการเฝ้าระวังอุบัติเหตุรถพยาบาล พบว่าในปี พ.ศ.๒๕๕๗ มีอุบัติเหตุรถพยาบาลรวมทั้งสิ้น ๖๑ ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ ๑๓๐ ราย เสียชีวิต ๑๙ ราย พบมากในช่วง มิ.ย-ส.ค. (๒๕ ครั้ง) ในภาพรวมทั้งประเทศมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ๐.๐๕ ครั้ง อัตราตาย ๐.๐๒ คนต่อการปฏิบัติการ ๑,๐๐๐ ครั้ง จากการวิเคราะห์รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ ๙ เหตุการณ์ สรุปสาเหตุที่อาจมีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยในรถพยาบาล เช่น ด้านบุคคล พขร.ไม่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรขับรถพยาบาล ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับรถด้วยความเร็วมากกว่า ๙๐ กม./ชม. ด้านรถพยาบาล รถและอุปกรณ์ภายในรถไม่ได้รับการตรวจสภาพและขึ้นทะเบียนในระบบ อุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ติดตั้ง GPS ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นถนนนอกชุมชนที่ใช้ความเร็วได้ค่อนข้างมาก มีลักษณะเป็นทางโค้ง ถนนเลนคู่ ด้านสังคม ที่เกิดเหตุอยู่ใกล้ตลาดนัด ใกล้โรงงาน เป็นแหล่งคนพลุกพล่าน เป็นฤดูขนผลผลิตทางการเกษตร มีการปิดช่องจราจรแต่ไม่มีป้ายบอกที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งพนักงานขับรถไม่คุ้นเคยลักษณะเหล่านี้ จากการศึกษาพบอุบัติเหตุรถพยาบาลเพิ่มขึ้น ซึ่งพบการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตของผู้ปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและความไม่ปลอดภัยดังกล่าว อาจเกิดจากทั้งด้านพนักงานขับรถ ด้านรถพยาบาล ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ๔ ด้าน ต้องมีมาตรการส่งเสริมป้องกันปัญหาอุบัติเหตุรถพยาบาลอย่างจริงจังth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุth_TH
dc.subjectรถพยาบาลth_TH
dc.subjectอุบัติเหตุทางถนนth_TH
dc.titleสถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeSituation and Causes of Ambulance Crash in Thailanden_US
dc.typeArticleen_US
dc.description.abstractalternativeThe emergency medical personnel in Thailand are always challenged by the task difficulty in working with limited resources and spaces, as well as the high risk of encountering traffic accidents. This study aims to elaborate situation and analyze the causes and factors of the ambulance crash in Thailand. This was a retrospective analysis of all fatal ambulance crash on Thailand public roadways in 2014, from the secondary data in three main sources, including the database of Information Technology for Emergency Medical System (ITEMS), the records of surveillance ambulance accident of EMS from January to December 2014, and the report of ambulance accident investigation collected from the local network in 2014, using the Haddon’s matrix approach. The study was conducted from January to March 2015. The results are presented using descriptive statistics According to the ambulance accident surveillance data, 61 ambulance accidents occurred in 2014, resulting in 130 injured victims and 19 deaths. The accidents happended more frequently during June to August (25 times). The accident rate was 0.05 with the mortality rate of 0.02 per 1,000 operations. From the nine accident investigation reports, factors related to accident and safeness of the ambulance could be concluded into human factors, vehicle and equipment factors, and road environment factors. Human factors included lack of ambulance driving training, unfastened seat belts, and high speed driving exceeding 90 km/hr. Unregistered ambulance and missing GPS installation contributed to the lack of vehicle standard. The disparity in each local road environment such as speed curve, crowded site, and missing directive signs led to higher risk of accident. This study found that ambulance accidents was increased, resulting in an increasing of injury and death in emergency medical personnel. The causes of ambulance accidents and risk from the above three factors were still prevalent. Therefore, it is necessary for the related organizations to implement new policies and take actions towards preventing future ambulance accidents.en_US
.custom.citationอนุชา เศรษฐเสถียร, Anuchar Sethasathien, ธีระ ศิริสมุด, Teera Sirisamutr, พรทิพย์ วชิรดิลก, Porntip Wachiradilok, สุชาติ ได้รูป, Suchart Dairoob, ศิริชัย นิ่มมา and Sirichai Nimma. "สถานการณ์และสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถพยาบาลในประเทศไทย." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4341">http://hdl.handle.net/11228/4341</a>.
.custom.total_download1806
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month14
.custom.downloaded_this_year234
.custom.downloaded_fiscal_year47

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri_journal_v9n3 ...
ขนาด: 902.2Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย