• TH
    • EN
    • สมัครสมาชิก
    • เข้าสู่ระบบ
    • ลืมรหัสผ่าน
    • ช่วยเหลือ
    • ติดต่อเรา
  • สมัครสมาชิก
  • เข้าสู่ระบบ
  • ลืมรหัสผ่าน
  • ช่วยเหลือ
  • ติดต่อเรา
  • TH 
    • TH
    • EN
ดูรายการ 
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
  •   หน้าแรก
  • สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) - Health Systems Research Institute (HSRI)
  • Articles
  • ดูรายการ
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

กชพร อินทวงศ์; Kudchaporn Intravong;
วันที่: 2558-09
บทคัดย่อ
จากการที่แนวโน้มของจำนวนผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆและกระบวนการดูแลผู้ป่วยเบาหวานยังไม่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบบูรณาการในเขตเทศบาลตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อศึกษาสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของผู้ป่วยเบาหวาน (2)เพื่อจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการศึกษาแบบสนทนากลุ่ม ประกอบไปด้วย กลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มคือ เทศบาลตำบลเชียงดาว อสม. แกนนำผู้ป่วยเบาหวานและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ คือ การสัมภาษณ์กลุ่มแบบเจาะจงจำนวน 5 ครั้ง ตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล โดยการใช้เกณฑ์ความน่าเชื่อถือ ด้วยการตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลและการตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำมาจัดทำข้อสรุป ผลการวิจัยคือ 1.พบปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการบูรณาการการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้ป่วยเบาหวานของเทศบาลตำบลเชียงดาวซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ด้านคือ (1) การจัดการ (2) คน (3) วัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน (4) การเงิน 2. ได้ร่วมกันจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ด้านการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในเขตเทศบาลตำบลเชียงดาว ที่ประกอบไปด้วยมุมมอง 4 ด้าน คือ (1) การเรียนรู้และการพัฒนา (2) กระบวนการภายใน (3) ประสิทธิผล และ (4) ประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือ (1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีฐานข้อมูลด้านสุขภาพเป็นสิ่งที่จำเป็น และทุกกลุ่มควรเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก (2) พัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประสานความร่วมมือในการทำงานและการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากร (3) พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ในการจัดทำแผนงาน โครงการ รวมถึงการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วยวิธีการที่เหมาะสม

บทคัดย่อ
The increasing trend of diabetes mellitus (DM) cases and weak coordination among groups who take responsibility for taking care of these cases, brought about to the study of holistic care for DM patients in Chiang Dao Subdistrict Municipality, Chiang Mai Province. Objectives: (1) To explore the problems related with coordination among stakeholders who involve with health promotion and disease prevention for DM patients (2) To develop strategic map for the implementation of health promotion and prevention for DM patients. The study design is qualitative research approached by focus groups among stakeholders as a tool for collecting information. The sample consisted of four groups: subdistrict municipal authorities, health volunteers, diabetes patients and health workers. Data were collected from 9 June to 20 November 2014 through focus groups. Data reliability was tested by information contributors and triangulation. The data were analyzed by using content analysis. Results: 1. Problems were identified in four categories: (1) Management (2) Man (3) Materials for work (4) Money, 2. Strategic map for the implementation of health promotion and prevention for DM patient of Chiang Dao Subdistrict Municipality, Chiang Mai Province, was created comprising: (1) Learning and development perspective, (2) Internal process perspective, (3) Efficiency perspective, and (4) Performance perspective. Recommendations from this study are: (1) Development of information system for all groups involved with DM care system is needed and should be easily accessible, (2) Development of network should be continously used as a tool for coordinating, and for knowledge and resources sharing, (3) Provision of knowledge on project planning and management including strategic management to achieve target result with appropriate method should be in place.
Copyright ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
ฉบับเต็ม
Thumbnail
ชื่อ: hsri-journal-v9n3 ...
ขนาด: 1.894Mb
รูปแบบ: PDF
ดาวน์โหลด

คู่มือการใช้งาน
(* หากไม่สามารถดาวน์โหลดได้)

จำนวนดาวน์โหลด:
วันนี้: 1
เดือนนี้: 5
ปีงบประมาณนี้: 228
ปีพุทธศักราชนี้: 114
รวมทั้งหมด: 1,718
 

 
 


 
 
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็ม
คอลเล็คชั่น
  • Articles [1366]

    บทความวิชาการ


DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV
 

 

เลือกตามประเภท (Browse)

ทั้งหมดในคลังข้อมูลDashboardหน่วยงานและประเภทผลงานปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)ประเภททรัพยากรนี้ปีพิมพ์ผู้แต่งชื่อเรื่องคำสำคัญ (หัวเรื่อง)หมวดหมู่การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) [619]กำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce) [99]ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) [286]ผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies) [125]ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) [158]ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) [1281]ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) [228]วิจัยระบบสุขภาพ (Health System Research) [28]ระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System) [20]

DSpace software copyright © 2002-2016  DuraSpace
นโยบายความเป็นส่วนตัว | ติดต่อเรา | ส่งความคิดเห็น
Theme by 
Atmire NV