แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorสุรัตน์ โคมินทร์th_TH
dc.contributor.authorSurat Komindren_EN
dc.contributor.authorรุ่งชัย ชวนไชยะกูลth_TH
dc.contributor.authorRungchai Chaunchaiyakulen_EN
dc.contributor.authorสุรัสวดี สมนึกth_TH
dc.contributor.authorนฤมล รัตนากรพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorAnantachai Inthirajen_EN
dc.contributor.authorอนันตชัย อินทร์ธิราชth_TH
dc.date.accessioned2015-11-10T08:31:23Z
dc.date.available2015-11-10T08:31:23Z
dc.date.issued2557-12
dc.identifier.otherhs2213
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4347
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาระบบบริการของกรุงเทพหานครในการควบคุมโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อน เพื่อศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยต่างๆ ในการควบคุมภาวะโรคอ้วนและโรคเรื้อรังในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อหาแนวทางการขยายผลการจัดการภาวะโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อนแบบบูรณาการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยอาศัยการวิจัยเอกสารเพื่อรวบรวมนโยบายและระบบการบริหารของกรุงเทพมหานครในการป้องกันโรคอ้วนและภาวะอ้วนลงพุง รวมทั้งระบบบริการของกรุงเทพมหานครในการ ควบคุมโรคอ้วนและภาวะแทรกซ้อน และอาศัยการวิจัยภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ทั้งผู้บริหารส่วนกลางของกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารหน่วยงานที่กำกับดูแลพื้นที่ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก เป็นจำนวน 11 คน นอกจากนี้ยังได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหา อ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนอย่างยั่งยืนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 399 คน และดำเนินการวิเคราะห์และพรรณนาข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสำคัญชี้ให้เห็นว่า นโยบายและระบบการให้บริการสุขภาพส่วนใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ไม่ได้เอื้อต่อการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุง อีกทั้งนโยบายดังกล่าวไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จึงทำให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดศักยภาพในการดำเนินงานและการวางแผนนโยบายในระดับปฏิบัติการอย่างชัดเจน นอกจากนี้วิธีการดำเนินงานในการลดปัญหาโรคอ้วนลงพุงครอบคลุมเพียงกลุ่มประชากรที่ใช้บริการของโรงพยาบาลเท่านั้น มากไปกว่านั้นบุคลากรที่ดำเนินงานในการดูแลผู้ที่มีปัญหาอ้วนลงพุงยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากขาดความรู้ และทักษะเฉพาะในการแนะนำด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย ในขณะที่ผลจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีน้ำหนักอยู่ในระดับปกติ คิดเป็นร้อยละ 41.9 รองลงมาได้แก่ ระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน และต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 38.2 และ 19.9 ตามลำดับ และค่าดัชนีวัดความอ้วนโดยประเมินจากรอบเอวและรอบสะโพก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานครมีความเสี่ยงภาวะเป็นโรคอ้วนลงพุง คิดเป็นร้อยละ 44.1 รองลงมามีภาวะโรคอ้วน 33.7 และมีเกณฑ์ปกติ 24.1 และประชาชนเริ่มมีความเสี่ยงการเป็นโรคอ้วนลงพุงเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง การเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันอุดตัน โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ดังนั้นการเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารประเภทต่างๆ ได้แก่ อาหารที่ให้น้ำตาลสูง อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ อาหารที่มีไขมันสูง อาหารเครื่องดื่มที่ให้พลังงาน อาหารจานด่วน เป็นต้น และพฤติกรรมการกินที่หลากหลายและกินแบบจุกจิก มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ไม่รับประทานอาหารมื้อเช้าหรือมื้อกลางวัน แต่ไปเน้นในการรับประมาณมื้อเย็นตลอดจนมื้อดึก มีพฤติกรรมการสังสรรค์กับเพื่อนฝูงบ่อยครั้งหรือรับประทานอาหารมากๆ ในช่วงวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ มีการบริโภคอาหารโดยที่ไม่รู้สึกหิวโดนบังคับเพราะอาหารมีสีสันและอยากกิน บวกกับการมีพฤติกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายน้อยลง ไม่มีการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายแต่ไม่เพียงพอ มีสมดุลพลังงานรับเข้ามากกว่าพลังงานที่ใช้ไป จึงเป็นผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนและทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คณะผู้วิจัยจะได้นำผลการศึกษาเพื่อเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อภาวะอ้วนลงพุงไปใช้ในการแก้ปัญหาภาวะอ้วนลงพุงในประชากรเขตกรุงเทพมหานคร โดยมุ่งเน้นการฝึกการอบรมบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชนโดยวิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสู่ประชาชน และชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครในงานโครงการฯ ปีที่ 2 ต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคอ้วนth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.typeTechnical Reporten_EN
dc.identifier.callnoWD210 ส857ก 2557
dc.identifier.contactno57-032th_TH
.custom.citationสุรัตน์ โคมินทร์, Surat Komindr, รุ่งชัย ชวนไชยะกูล, Rungchai Chaunchaiyakul, สุรัสวดี สมนึก, นฤมล รัตนากรพันธุ์, Anantachai Inthiraj and อนันตชัย อินทร์ธิราช. "การพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4347">http://hdl.handle.net/11228/4347</a>.
.custom.total_download645
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year23
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2213.pdf
ขนาด: 12.09Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย