การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ: ข้อเสนอแนะสำหรับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ
dc.contributor.author | ศิรินาถ ตงศิริ | th_TH |
dc.contributor.author | Sirinart Tongsiri | en_EN |
dc.contributor.author | ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง | th_TH |
dc.contributor.author | Chanuttha Ploylearmsang | en_EN |
dc.contributor.author | กตัญญู หอสูติสิมา | th_TH |
dc.contributor.author | Katanyu Hawsuthisima | en_EN |
dc.date.accessioned | 2015-12-22T01:59:41Z | |
dc.date.available | 2015-12-22T01:59:41Z | |
dc.date.issued | 2558-10 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 9,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2558) : 382-395 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4369 | |
dc.description.abstract | การปรับสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรเพื่อการจัดบริการ พัฒนาแนวทางการให้บริการ และเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อสนับสนุนบริการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยของคนพิการที่ได้รับการคัดเลือก ตามเงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้จำนวน 60 หลัง จากนั้นได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับสถาปนิก วิศวกร ช่าง พยาบาล นักกายภาพบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ แล้วออกแบบที่อยู่อาศัยและจัดสร้างตามแบบ ผู้วิจัยได้บันทึกสมรรถนะของคนพิการโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น ตามหลักการของบัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการและสุขภาพ (ICF) ในการบันทึกก่อนและหลังการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่เปลี่ยนแปลงไปของคนพิการ หลังเสร็จสิ้นงานวิจัย มีบ้านคนพิการที่ได้รับการปรับสภาพฯ จำนวน 49 หลัง ข้อสรุปสำคัญของงานวิจัยนี้คือ การให้บริการปรับสภาพบ้านฯ มีความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร บุคลากรทั้งในภาคสาธารณสุขและนอกภาคสาธารณสุขทุกระดับควรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกและออกแบบ การอยู่ในสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทำให้สมรรถนะของคนพิการดีขึ้น คนพิการและครอบครัวควรมีส่วนร่วมในการปรับสภาพฯ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบ การสมทบทุนการก่อสร้าง การเลือกวัสดุและการควบคุมงานก่อสร้างด้วย การปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยเป็นเพียง “เครื่องมือ” หนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต ผู้วิจัยเสนอว่าการให้บริการควรประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. เชื่อมโยงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ 2. รวบรวมงบประมาณ 3. จัดทำขั้นตอนการบริหารงบประมาณ 4. ตัดสินใจเลือกบ้านคนพิการที่มีความเหมาะสมกับการปรับสภาพฯ ตามเงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้ และ 5. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ให้บริการ เมื่อสิ้นสุดการให้บริการแล้ว ควรมีการประชุมเพื่อถอดบทเรียน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ ในการปรับปรุงการให้บริการปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | disability | en_EN |
dc.subject | คุณภาพชีวิตของคนพิการ | th_TH |
dc.subject | International Classification of Functioning, Disability and Health | en_EN |
dc.title | การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ: ข้อเสนอแนะสำหรับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ | th_TH |
dc.title.alternative | Home Modifications for People with Disabilities and the Elderly: Recommendations from Policy to Practice | en_EN |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Home and environment modifications are essential to improve quality of life (QoL) of persons with disabilities (PWDs). Our research aimed to conduct economic evaluation of home and environment modification service to develop the service guideline and address policy recommendations to improve the services and to suggest how the resources should be mobilized. Sixty houses of PWDs were recruited based on designated criteria. Capacity building sessions for architects, engineers, local builders, nurses, physiotherapists and social workers were also conducted. Functions of PWDs before and after modifications were recorded using the questionnaire based on the International Classification of Functioning, Disability and Health (ICF). Forty-nine houses were successfully modified. The important findings from this study were that (1) the home and environment modification service was cost-effective (2) health personnel and non-health personnel should be involved in the selection process of PWDs who are suitable to receive the service and (3) PWDs and family members should also be invited to participate in all construction process. Those with the same impairments may not end up with the same design of the home and environment modifications because the design depended upon PWDs functions. If the ultimate goal of services for PWDs is to improve QoL, the home and environment modification is merely one among other tools to enhance QoL. We recommend that to provide the service, the following procedures should be considered: stakeholder linkage, resource integration and allocation, decision making based on functioning data and capacity building. Knowledge management should be conducted to add more knowledge and understandings. | en_EN |
.custom.citation | ศิรินาถ ตงศิริ, Sirinart Tongsiri, ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, Chanuttha Ploylearmsang, กตัญญู หอสูติสิมา and Katanyu Hawsuthisima. "การปรับสภาพบ้านเพื่อคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ: ข้อเสนอแนะสำหรับการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4369">http://hdl.handle.net/11228/4369</a>. | |
.custom.total_download | 3157 | |
.custom.downloaded_today | 3 | |
.custom.downloaded_this_month | 59 | |
.custom.downloaded_this_year | 608 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 120 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ