Show simple item record

Development Model of the Type 2 Diabetes Mellitus Prevention in High Risk Group

dc.contributor.authorนงลักษณ์ เทศนาth_TH
dc.contributor.authorNongluck Tesanaen_EN
dc.contributor.authorจมาภรณ์ ใจภักดีth_TH
dc.contributor.authorJamabhorn Jaipakdeeen_EN
dc.contributor.authorบุญทนากร พรหมภักดีth_TH
dc.contributor.authorBoontanakorn Prompukdeeen_EN
dc.contributor.authorกนกพร พินิจลึกth_TH
dc.contributor.authorKanokporn Pinijlueken_EN
dc.date.accessioned2015-12-24T05:57:18Z
dc.date.available2015-12-24T05:57:18Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4381
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development; R&D) เพื่อพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ใช้หลักการเพื่อนช่วยเพื่อน (Buddy) กระตุ้นเตือนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ โดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง และประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม โดยใช้การศึกษาแบบกึ่งทดลองมีกลุ่มเปรียบเทียบวัดผลก่อนและหลังจัดโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเลือก ดำเนินการที่ตำบลเมืองเพีย อ.กุดจับ จ.อุดรธานี ตัววัดหลักที่สำคัญได้แก่ พฤติกรรมสุขภาพ (การรับประทานอาหาร และออกกำลังกาย) ระดับน้ำตาลในเลือด ดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอว และความพึงพอใจของกลุ่มเสี่ยงต่อการเข้าร่วมโปรแกรม ผลการศึกษา โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจัดกิจกรรม 7 ครั้ง เวลา 16 สัปดาห์ เนื้อหาประกอบด้วย (1) การให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน (2) การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ (3) การตั้งเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (4) การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับบุคคลและบริบทชุมชน (5) การเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายที่เหมาะสม (6) การควบคุมกายและใจเพื่อสุขอนามัยที่ดี “สกัด สะกด สะกิด” และ (7) กัลยาณมิตร “เพื่อนช่วยเพื่อน” จากการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม ผู้ร่วมศึกษาจำนวน 60 คน (กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน) หลังสิ้นสุดโปรแกรม วิเคราะห์ผลลัพธ์โดยการควบคุม (Adjusted) ด้วยค่าก่อนจัดโปรแกรม (Baseline) ของตัวแปรนั้น พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มทดลอง 90.1 มก./ดล. และกลุ่มเปรียบเทียบ 95.3 มก./ดล.) ดัชนีมวลกาย ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (กลุ่มทดลอง 25.7 กก./ม2 กลุ่มเปรียบเทียบ 29.1 กก./ม2) เส้นรอบเอวของกลุ่มทดลองลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความต่างเฉลี่ย –5.9 ซม.; 95%CI = (–9.4, –2.4; p=0.001) พฤติกรรมสุขภาพ (ความต่างเฉลี่ย 3.6 คะแนน; 95%CI = 0.3, 6.9; p=0.035) และความรู้ (ความต่างเฉลี่ย 2.0 คะแนน; 95%CI = 0.6, 3.4; p=0.006) เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มทดลองร้อยละ 96.7 มีความพึงพอใจต่อโปรแกรมระดับมากและมากที่สุดth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectdiabetesen_EN
dc.subjectการป้องกันและควบคุมโรคth_TH
dc.titleการพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงth_TH
dc.title.alternativeDevelopment Model of the Type 2 Diabetes Mellitus Prevention in High Risk Groupen_EN
dc.typeArticleen_EN
dc.description.abstractalternativeThe research and development study aimed to develop a model of lifestyle intervention to prevent type 2 diabetes mellitus (DM) in high risk group. Methods: The lifestyle program was applied from the diabetes prevention program (DPP). Researcher team and public health nurses in District Health Promoting Hospitals (DHPH) performed seven meetings to deliver education and empowerment consisted of healthy diet, physical activity, stress management and social behaviors. The participants in intervention group were encouraged to match as a “buddy” for coaching each other throughout 16 weeks of the program. Quasi-experimental study was used to evaluate the effectiveness of the model. Participants were selected from high risk group of DM in the local community, Kudjub district, Udonthani province, Thailand. The outcomes were body mass index (BMI), waist circumference (WC), fasting blood sugar (FBS), health behaviors, and satisfaction of the program. Results: Totally, 6o participants (30 persons in intervention and 30 in control group) participated. After 16 weeks, adjusted mean difference of FBS (90.1 mg/dl in intervention vs 95.3 mg/dl in control group) and BMI (25.7 vs 29.1 kg/m2) were not significant between two groups. WC was significantly decreased in intervention group compared to control group (mean difference –5.9 cm; 95%CI = –9.4 to –2.4; p=0.001). Health behavior (mean difference 3.6 score; 95%CI = 0.3, 6.9; p=0.035) and knowledge (mean difference 2.0 score; 95%CI = 0.6, 3.4; p=0.006) were significantly increased in intervention compared to control group. Overall, 96.7% of the intervention group was satisfied and very satisfied with the program. Conclusion: Lifestyle intervention program demonstrated significant improvement in WC and health behaviors. The program could lead to prevent type 2 DM in the local community.en_EN
dc.identifier.contactno57-058en_EN
.custom.citationนงลักษณ์ เทศนา, Nongluck Tesana, จมาภรณ์ ใจภักดี, Jamabhorn Jaipakdee, บุญทนากร พรหมภักดี, Boontanakorn Prompukdee, กนกพร พินิจลึก and Kanokporn Pinijluek. "การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4381">http://hdl.handle.net/11228/4381</a>.
.custom.total_download6352
.custom.downloaded_today4
.custom.downloaded_this_month226
.custom.downloaded_this_year1632
.custom.downloaded_fiscal_year450

Fulltext
Icon
Name: diabetes-nongluck.pdf
Size: 105.8Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record