แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ต้นทุน-ประสิทธิผลของการให้บริการยาละลายลิ่มเลือดในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ในโรงพยาบาลชุมชน

dc.contributor.authorสุรศักดิ์ เสาแก้วth_TH
dc.contributor.authorSurasak Saokaewen_US
dc.contributor.authorปิยะ หาญวรวงศ์ชัยth_TH
dc.contributor.authorPiya Hanvoravongchaien_US
dc.date.accessioned2016-03-04T04:00:52Z
dc.date.available2016-03-04T04:00:52Z
dc.date.issued2559-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) : 43-54th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4402
dc.description.abstractโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียก (ST segment elevation myocardial infarction: STEMI) เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ การเปิดหลอดเลือดหัวใจให้เร็วที่สุด โดยการขยายหลอดเลือดหัวใจจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ แต่ในบริบทที่ไม่สามารถทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ การให้ยาละลายลิ่มเลือดก่อนส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่สูงขึ้นจึงมีความจำเป็น อย่างไรก็ตาม การให้บริการดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากภาวะเลือดออกและมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการเพิ่มขึ้น ดังนั้นข้อมูลต้นทุน-ประสิทธิผลของการให้บริการยาละลายลิ่มเลือด จึงมีความสำคัญในการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย การศึกษานี้เป็นการประเมินต้นทุน-ประสิทธิผล เปรียบเทียบระหว่าง การให้บริการยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลชุมชนแล้วส่งต่อไปยังสถานยาบาล ที่สามารถทำการขยายหลอดเลือดหัวใจได้ (facilitated percutaneous coronary intervention: FPCI) กับการส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล เพื่อทำการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยตรง (primary percutaneous coronary intervention: PPCI) โดยใช้แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ (Markov model) วิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel จากมุมมองทางสังคม (societal perspective) และมุมมองระบบสุขภาพ (health system perspective) ภายใต้กรอบเวลาตลอดชีวิต (life long time horizon) โดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรม และจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษา พบว่าการให้บริการยาละลายลิ่มเลือด (FPCI) ในโรงพยาบาลชุมชนนั้น มีต้นทุนลดลง ในขณะที่ประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ถือว่าเป็นทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ดังนั้น หากโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยสามารถให้บริการยาละลายลิ่มเลือดได้อย่างแพร่หลาย ก็จะมีผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากคุณภาพชีวิตโดยรวมที่ดีขึ้น ภายใต้ภาระรายจ่ายในภาพรวมของระบบที่ลดลง ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ ควรพิจารณาสนับสนุนให้มีบริการยาละลายลิ่มเลือดในโรงพยาบาลชุมชนที่มีความพร้อม และพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ โดยเฉพาะกำลังคนและงบประมาณให้กับพื้นที่ที่มีความต้องการบริการดังกล่าวth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectกล้ามเนื้อหัวใจตายth_TH
dc.subjectยาละลายลิ่มเลือดth_TH
dc.subjectCost Effectivenessen_US
dc.subjectต้นทุน, ประสิทธิผลth_TH
dc.titleต้นทุน-ประสิทธิผลของการให้บริการยาละลายลิ่มเลือดในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ในโรงพยาบาลชุมชนth_TH
dc.title.alternativeCost-effectiveness of Thrombolysis Service for Patient with ST Segment Elevation Myocardial Infarction in Community Hospitalen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeST segment elevation myocardial infarction (STEMI) is a major cause of death. Recent evidences showed that primary percutaneous coronary intervention (PPCI) can reduce mortality rate. However, in a situation where PPCI is unavailable, a facilitated percutaneous coronary intervention (FPCI) using fibrinolytic drug before patient referral could be an important life-saving solution. Since FPCI may increase the risk of major bleeding and incur more expenditure, the information on cost-effectiveness of FPCI is useful for policy makers. A Markov model was used to compare the lifetime cost and quality-adjusted life years (QALYs) accrued to patients receiving FPCI before referral and PPCI at referral center from societal and health system perspectives. All analyses were performed using Microsoft Excel. Input data were retrieved from literatures and electronic databases. We found that FPCI program at community hospital is a dominant alternative given its lower cost and higher effectiveness than PPCI at referral center. This means it is a cost-effective policy option. Therefore, community hospitals with the capacity to provide FPCI service for STEMI patients should be supported to offer such service for better access to the patients with higher overall quality of life and lower costs to the systems. We suggest that policy makers in the Ministry of Public Health and the hospital administrators should consider these findings and provide support to make FPCI available in community hospitals with existing capacity. Capacity strengthening particularly in terms of manpower, and budget should be provided especially in the areas where there is still shortage of supply.en_US
.custom.citationสุรศักดิ์ เสาแก้ว, Surasak Saokaew, ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย and Piya Hanvoravongchai. "ต้นทุน-ประสิทธิผลของการให้บริการยาละลายลิ่มเลือดในการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดเอสทียก ในโรงพยาบาลชุมชน." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4402">http://hdl.handle.net/11228/4402</a>.
.custom.total_download1451
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month9
.custom.downloaded_this_year102
.custom.downloaded_fiscal_year17

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hsri-journal-v10n ...
ขนาด: 571.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย