การประเมินความความเที่ยงตรงของเครื่องมือบ่งชี้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด
dc.contributor.author | สถาพร มณี | th_TH |
dc.contributor.author | Sathaporn Manee | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-03-04T04:48:29Z | |
dc.date.available | 2016-03-04T04:48:29Z | |
dc.date.issued | 2559-03 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) : 55-64 | th_TH |
dc.identifier.issn | 0858-9437 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4404 | |
dc.description.abstract | ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง และมีความสัมพันธ์กับอัตราตายสูง การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดต้องอาศัยการเพาะเชื้อจากเลือด ในปัจจุบัน แนวทางการรักษามาตรฐานยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยรายใดมีความจำเป็นในการส่งตรวจเพาะเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสองเครื่องมือบ่งชี้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ได้แก่ เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ Systemic Inflammatory Response Syndrome (SIRS) และ Clinical Prediction Rule จากการศึกษาของ Shapiro และคณะ วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินซึ่งสงสัยว่าจะมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดที่โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษาทั้งหมด 457 ราย มีผู้ป่วยที่มีผลการเพาะเชื้อจากเลือดเป็นบวกจากเชื้อก่อโรคจริงจำนวน 65 ราย (ร้อยละ 14.2) พบว่า การใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ SIRS ในการทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด มีความไวและความจำเพาะ ร้อยละ 83 และ ร้อยละ 31 ตามลำดับ ในขณะที่ค่า positive likelihood ratio และ negative likelihood ratio 1.21 (95% confidence interval 1.06-1.38) และ 0.54 (95% confidence interval 0.31-0.93) ตามลำดับ ในขณะที่ Clinical Prediction Rule จากการศึกษาของ Shapiro และคณะ มีความไวและความจำเพาะ ร้อยละ 91 และ ร้อยละ 40 ตามลำดับ ในขณะที่ค่า positive likelihood ratio และ negative likelihood ratio 1.52 (95% confidence interval 1.36-1.70) และ 0.23 (95% confidence interval 0.10-0.49) ตามลำดับ สรุปได้ว่า Clinical Prediction Rule จากการศึกษาของ Shapiro และคณะ มีความเที่ยงตรงมากกว่าเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ SIRS ในการทำนายการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ดังนั้น การนำไปประยุกต์ใช้ในทางคลินิกอาจสามารถลดค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจเพาะเชื้อในเลือดและทำให้คุณภาพการรักษาดีขึ้นได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | เลือดติดเชื้อ | th_TH |
dc.subject | Bacteremia | en_US |
dc.title | การประเมินความความเที่ยงตรงของเครื่องมือบ่งชี้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด | th_TH |
dc.title.alternative | Validity of Clinical Predictors for Patients Suspicious of Bacteremia | en_US |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Bacteremia is a serious infection associated with high mortality rate. The diagnosis of bacteremia depended on blood cultures. Published guidelines do not clearly state when blood cultures should be obtained. The objectives of this study are to validate two clinical predictor rules: systematic inflammatory response syndrome (SIRS) criteria and clinical prediction rule of Shapiro et al. for patients who were suspicious of bacteremia. This study was retrospective cohort study, collected data from patients who were suspicious of bacteremia in emergency department of Warinchamrab Hospital, Ubon Ratchathani. There were 457 patients met inclusion criteria, 65 patients (14%) whose blood cultures results were positive for true pathogens. When applied SIRS criteria, the sensitivity and specificity were 83% and 31% respectively. Positive likelihood ratio and negative likelihood ratio were 1.21 (95% confidence interval 1.06-1.38) and 0.54 (95% CI 0.31-0.93) respectively while applying clinical prediction rule of Shapiro et al., the sensitivity and specificity were 91% and 40%, respectively. Positive likelihood ratio and negative likelihood ratio were 1.52 (95% CI 1.36-1.70) and 0.23 (95% CI 0.10-0.49), respectively. In conclusion clinical prediction rule of Shapiro et al. is more accurate in predicting patients suspicious of bacteremia. Application of this tool in clinical practice may reduce costs and improve quality of treatment. | en_US |
.custom.citation | สถาพร มณี and Sathaporn Manee. "การประเมินความความเที่ยงตรงของเครื่องมือบ่งชี้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4404">http://hdl.handle.net/11228/4404</a>. | |
.custom.total_download | 1026 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 4 | |
.custom.downloaded_this_year | 91 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 11 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ