Show simple item record

Health Insurance Schemes and Dental Health Care Utilization in Thai Working-Age Population

dc.contributor.authorวรารัตน์ ใจชื่นth_TH
dc.contributor.authorWararat Jaichuenen_US
dc.date.accessioned2016-03-04T07:31:16Z
dc.date.available2016-03-04T07:31:16Z
dc.date.issued2559-03
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 10,1 (ม.ค.-มี.ค. 2559) : 3-16th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4408
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพรรณนานี้ต้องการศึกษาสถานการณ์และรูปแบบการใช้บริการสุขภาพช่องปากของวัยทำงาน (15-59 ปี) ตามกลุ่มสิทธิประกันสุขภาพภาครัฐต่างๆ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพตามความจำเป็น ใช้ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2552-2556 ด้านการใช้บริการทันตกรรม เฉพาะกลุ่มอายุ 15-59 ปี โดยไม่รวมผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาและผู้ไม่ทราบว่ามีงานทำหรือไม่ ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติถ่วงน้ำหนักเป็นภาพประชากรประเทศจำนวน 34.86, 35.65 และ 35.67 ล้านคน ในปี 2552, 2554 และ 2556 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา พบว่าในปี 2556 ร้อยละ 98.9 ของกลุ่มวัยนี้มีความคุ้มครองด้านสุขภาพ ในภาพรวมอัตราการใช้บริการในปี 2554 เพิ่มขึ้นจากปี 2552 แต่ลดลงในปี 2556 เป็น 9.0 คนต่อร้อยประชากร ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีอัตราการใช้บริการต่ำที่สุดมาโดยตลอด เพศหญิง ผู้ที่อยู่เขตเมือง และผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราการใช้บริการมากกว่า ขณะที่ผู้มีภูมิลำเนาในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ทำงานธุรกิจส่วนตัว ธุรกิจครัวเรือน และลูกจ้างเอกชน มีอัตราการใช้บริการต่ำในทุกปีสำรวจ การใช้บริการส่วนใหญ่เป็นงานทันตกรรมชนิดพื้นฐาน ซึ่งเกิดที่หน่วยบริการภาครัฐและเอกชนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง คลินิกเอกชนเป็นหน่วยบริการที่มีการใช้บริการมากที่สุดทั้งงานทันตกรรมพื้นฐานและซับซ้อน การใช้สิทธิเมื่อใช้บริการอยู่ในช่วงร้อยละ 57.1 - 70.0 โดยสิทธิสวัสดิการข้าราชการมีอัตราการใช้สิทธิมากที่สุด สาเหตุหลักของการไม่ใช้สิทธิ คือ รอคอยนาน เวลาเปิดบริการมีจำกัด และสิทธิประโยชน์มีจำกัด อัตราการไม่ใช้บริการในยามจำเป็นในปี 2554 และปี 2556 คือ 1.0 และ 1.1 คนต่อร้อยประชากรตามลำดับ ด้วยสาเหตุหลัก คือ ไม่มีเวลาไปรับการรักษา ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล คิวยาว/รอนาน และสาเหตุอื่นๆ เช่น กลัวเจ็บ หน่วยบริการจึงควรพัฒนารูปแบบการจัดบริการที่เอื้อต่อผู้ใช้บริการ สำหรับส่วนกลางควรพัฒนาระบบควบคุมมาตรฐานหน่วยบริการทันตกรรมภาคเอกชน พัฒนานโยบายการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในวัยทำงาน รวมทั้งพิจารณาปรับสมรรถนะของทันตบุคลากรแต่ละระดับให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาในแง่มุมอื่นเพื่อให้มีข้อมูลเชิงประจักษ์เพิ่มเติมด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectหลักประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Insuranceen_US
dc.subjectการใช้บริการรักษาพยาบาลth_TH
dc.subjectการเข้าถึงบริการสุขภาพth_TH
dc.subjectสุขภาพช่องปากth_TH
dc.subjectDentalen_US
dc.subjectoral health careen_US
dc.titleหลักประกันสุขภาพกับการใช้บริการสุขภาพช่องปากในวัยทำงานth_TH
dc.title.alternativeHealth Insurance Schemes and Dental Health Care Utilization in Thai Working-Age Populationen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis descriptive study aimed to know the situation and pattern of dental health care utilization in Thai working-age population related to health insurance coverage. Data of population aged 15-59 years were selected from the Health and Welfare Surveys 2009-2013. Descriptive statistics were used in terms of percentage and rate. Results showed that in 2013 dental health care utilization rate was very low despite all of population had health insurance coverage. Population in Universal Coverage Scheme always had lowest utilization rate. Female, urbanites and graduated adults were high utilization rate groups while people in the central and north-eastern regions were low utilization rate groups. Self-employed, family business and private employees always had low utilization rates too. Most utilization was for basic dental care in the one to one ratio of public and private health care services. Private dental clinics were the most popular. The utilization with insurance cover ranged between 57.1%-70.0% of each health insurance scheme. Main reasons of service utilization without using their insurance cover were “long waiting”, “limited service time” and “limited insurance benefit”. Unmet rates were 1.0% in 2011 and 1.1% in 2013. Main unmet reasons were “time constraint”, “unable to pay for service”, “long waiting” and “others such as fear”. The results from this study suggest that the dental health care service be developed to match needs of the working-age populations. The regulation system for private dental clinic should be standardized. Competency of dental staff on each service level should be reviewed and updated. Other dental health aspects should be researched as well.en_US
.custom.citationวรารัตน์ ใจชื่น and Wararat Jaichuen. "หลักประกันสุขภาพกับการใช้บริการสุขภาพช่องปากในวัยทำงาน." 2559. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4408">http://hdl.handle.net/11228/4408</a>.
.custom.total_download2919
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month4
.custom.downloaded_this_year112
.custom.downloaded_fiscal_year15

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v10n ...
Size: 1.120Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1352]
    บทความวิชาการ

Show simple item record